สื่อมวลชนประจำ ศธ.ร่วมออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนการทำงาน โต้ “สุชาติ” โยนบาปสื่อบิดเบือน
วันนี้ (12 ก.ย.) ที่กระทรวงศึกษาธิการ สื่อมวลชนประจำกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ศธ. โดยระบุว่า สื่อมวลชนสายการศึกษา ขอยืนยันว่า ที่ผ่านมา การทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ยืนอยู่บนความรับผิดชอบ และเสนอข่าวไปตามข้อเท็จจริง ไม่เคยบิดเบือนข่าวอย่างที่กล่าวหา ตลอดเวลาสื่อมวลชนได้ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงทวงถามในประเด็นต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อครู นักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชน ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดของกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะต้องตอบคำถามในประเด็นสาธารณะเหล่านี้ ทั้งนี้ คำชี้แจงดังกล่าวได้สร้างความเข้าใจผิดต่อแวดวงวิชาชีพสื่อมวลชน และลดความน่าเชื่อถือในวิชาชีพสื่อมวลชนสายการศึกษา ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบจริยธรรม และหลักจรรยาบรรณวิชาชีพของสื่อมวลชนที่ดีมาโดยตลอด ดังนั้น จึงขอให้เคารพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนที่ได้นำเสนอข่าวบนข้อเท็จจริงด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การออกแถลงการณ์ดังกล่าว สืบเนื่องมาจากสำนักงานรัฐมนตรีได้จัดทำเอกสารชี้แจงข่าวของ ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ ผ่านทางอีเมลของสื่อมวลชน ทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ รวมทั้งได้เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ www.moe.go.th เมื่อวันที่ 7 ก.ย.55 โดยระบุว่า ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ ขอเรียนชี้แจงว่า การลงข่าวที่ตนสั่งให้มีการสอบเฉพาะการสอบ O-NET เพียงอย่างเดียวนั้น ไม่เป็นความจริง เป็นการรายงานข่าวไม่ถูกต้อง และส่งผลให้ผู้ไปเขียนวิพากษ์วิจารณ์ต่ออย่างไม่ถูกต้อง และไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดการเข้าใจผิดต่อสาธารณชน ทั้งที่ความจริง คือ ได้ขอให้ สทศ.ไปพิจารณาการออกข้อสอบต่างๆ ให้มีจำนวนแบบน้อยลงเท่านั้น ไม่ใช่บอกให้สอบเฉพาะ O-Net อย่างเดียว เหตุที่ต้องชี้แจงในเรื่องนี้ เพราะมีบ่อยครั้งที่ผู้สื่อข่าวอาจจะฟังไม่เข้าใจ หรือจดไปไม่หมด หรือลงข่าวผิด ซึ่งส่งผลเสียต่อความน่าเชื่อถือในการจัดการศึกษาของประเทศ จึงขอให้สื่อมวลชนพิจารณาลงข่าวเฉพาะข้อเท็จจริง ซึ่งจะทำให้ทั้งสื่อมวลชนและกระทรวงศึกษาธิการ สามารถสร้างสรรค์การพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองได้ดี
อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวประจำกระทรวงศึกษาธิการ เห็นว่า คำชี้แจงดังกล่าวเป็นการหมิ่นจรรยาบรรณ และลดความน่าเชื่อถือในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน เพราะการนำเสนอข่าวดังกล่าวมาจากคำให้สัมภาษณ์ของ ศ.ดร.สุชาติ ซึ่งมีเทปบันทึกเสียงเป็นหลักฐาน ไม่ใช่การรายงานข่าวที่ไม่ถูกต้องตามที่มีการกล่าวหา จึงได้ประชุมสื่อทุกสำนัก และมีข้อสรุปในการออกแถลงการณ์เพื่อแสดงจุดยืนในการทำหน้าที่สื่อมวลชนดังกล่าว
สำหรับรายละเอียดของแถลงการณ์
แถลงการณ์ฉบับที่ 1/2555 สื่อมวลชนสายการศึกษา ประจำกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เรื่อง การแสดงจุดยืนการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ศธ.
จากกรณีที่มีการกล่าวหาสื่อมวลชนประจำกระทรวงศึกษาธิการ ว่า ทำข่าวบิดเบือนข้อเท็จจริง โดยทางสำนักงานรัฐมนตรี ได้จัดทำเอกสารชี้แจงข่าวของ ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ ผ่านทางอีเมล์ของสื่อมวลชนทุกสำนัก ทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ รวมทั้งได้เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ www.moe.go.th เมื่อวันที่ 7 ก.ย.55 โดยมีหัวเรื่องว่า รมว.ศธ.ไม่เคยบอกให้ สทศ.ออกข้อสอบเฉพาะ O-Net อย่างเดียว และมีรายละเอียด ดังนี้
“7 กันยายน 2555, ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ขอเรียนชี้แจงว่า การลงข่าวที่ตนสั่งให้มีการสอบเฉพาะการสอบ O-NET เพียงอย่างเดียวนั้น ไม่เป็นความจริง เป็นการรายงานข่าวไม่ถูกต้อง และส่งผลให้ผู้ไปเขียนวิพากษ์วิจารณ์ต่ออย่างไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดการเข้าใจผิดต่อสาธารณชนทั้งที่ความจริง คือ ได้ขอให้ สทศ.ไปพิจารณาการออกข้อสอบต่างๆ ให้มีจำนวนแบบน้อยลงเท่านั้น ไม่ใช่บอกให้สอบเฉพาะ O-Net อย่างเดียว เหตุที่ต้องชี้แจงในเรื่องนี้ เพราะมีบ่อยครั้งที่ผู้สื่อข่าวอาจจะฟังไม่เข้าใจ หรือจดไปไม่หมด หรือลงข่าวผิด ซึ่งส่งผลเสียต่อความน่าเชื่อถือในการจัดการศึกษาของประเทศ จึงขอให้สื่อมวลชนพิจารณาลงข่าวเฉพาะข้อเท็จจริง ซึ่งจะทำให้ทั้งสื่อมวลชนและกระทรวงศึกษาธิการ สามารถสร้างสรรค์การพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองได้ดี”
สื่อมวลชนสายการศึกษา ขอยืนยันว่า ที่ผ่านมา การทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ยืนอยู่บนความรับผิดชอบ และเสนอข่าวไปตามข้อเท็จจริง ไม่เคยบิดเบือนข่าวอย่างที่มีการกล่าวหา ตลอดเวลาสื่อมวลชนได้ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงในการทวงถามประเด็นต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อครู นักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชน ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดของกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะต้องตอบคำถามในประเด็นสาธารณะเหล่านี้
ทั้งนี้ คำชี้แจงดังกล่าวได้สร้างความเข้าใจผิดต่อแวดวงวิชาชีพสื่อมวลชน และลดความน่าเชื่อถือในวิชาชีพสื่อมวลชนสายการศึกษา ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบจริยธรรม และหลักจรรยาบรรณวิชาชีพของสื่อมวลชนที่ดีมาโดยตลอด ดังนั้น จึงขอให้เคารพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนที่ได้นำเสนอข่าวบนข้อเท็จจริงด้วย
วันนี้ (12 ก.ย.) ที่กระทรวงศึกษาธิการ สื่อมวลชนประจำกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ศธ. โดยระบุว่า สื่อมวลชนสายการศึกษา ขอยืนยันว่า ที่ผ่านมา การทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ยืนอยู่บนความรับผิดชอบ และเสนอข่าวไปตามข้อเท็จจริง ไม่เคยบิดเบือนข่าวอย่างที่กล่าวหา ตลอดเวลาสื่อมวลชนได้ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงทวงถามในประเด็นต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อครู นักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชน ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดของกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะต้องตอบคำถามในประเด็นสาธารณะเหล่านี้ ทั้งนี้ คำชี้แจงดังกล่าวได้สร้างความเข้าใจผิดต่อแวดวงวิชาชีพสื่อมวลชน และลดความน่าเชื่อถือในวิชาชีพสื่อมวลชนสายการศึกษา ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบจริยธรรม และหลักจรรยาบรรณวิชาชีพของสื่อมวลชนที่ดีมาโดยตลอด ดังนั้น จึงขอให้เคารพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนที่ได้นำเสนอข่าวบนข้อเท็จจริงด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การออกแถลงการณ์ดังกล่าว สืบเนื่องมาจากสำนักงานรัฐมนตรีได้จัดทำเอกสารชี้แจงข่าวของ ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ ผ่านทางอีเมลของสื่อมวลชน ทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ รวมทั้งได้เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ www.moe.go.th เมื่อวันที่ 7 ก.ย.55 โดยระบุว่า ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ ขอเรียนชี้แจงว่า การลงข่าวที่ตนสั่งให้มีการสอบเฉพาะการสอบ O-NET เพียงอย่างเดียวนั้น ไม่เป็นความจริง เป็นการรายงานข่าวไม่ถูกต้อง และส่งผลให้ผู้ไปเขียนวิพากษ์วิจารณ์ต่ออย่างไม่ถูกต้อง และไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดการเข้าใจผิดต่อสาธารณชน ทั้งที่ความจริง คือ ได้ขอให้ สทศ.ไปพิจารณาการออกข้อสอบต่างๆ ให้มีจำนวนแบบน้อยลงเท่านั้น ไม่ใช่บอกให้สอบเฉพาะ O-Net อย่างเดียว เหตุที่ต้องชี้แจงในเรื่องนี้ เพราะมีบ่อยครั้งที่ผู้สื่อข่าวอาจจะฟังไม่เข้าใจ หรือจดไปไม่หมด หรือลงข่าวผิด ซึ่งส่งผลเสียต่อความน่าเชื่อถือในการจัดการศึกษาของประเทศ จึงขอให้สื่อมวลชนพิจารณาลงข่าวเฉพาะข้อเท็จจริง ซึ่งจะทำให้ทั้งสื่อมวลชนและกระทรวงศึกษาธิการ สามารถสร้างสรรค์การพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองได้ดี
อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวประจำกระทรวงศึกษาธิการ เห็นว่า คำชี้แจงดังกล่าวเป็นการหมิ่นจรรยาบรรณ และลดความน่าเชื่อถือในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน เพราะการนำเสนอข่าวดังกล่าวมาจากคำให้สัมภาษณ์ของ ศ.ดร.สุชาติ ซึ่งมีเทปบันทึกเสียงเป็นหลักฐาน ไม่ใช่การรายงานข่าวที่ไม่ถูกต้องตามที่มีการกล่าวหา จึงได้ประชุมสื่อทุกสำนัก และมีข้อสรุปในการออกแถลงการณ์เพื่อแสดงจุดยืนในการทำหน้าที่สื่อมวลชนดังกล่าว
สำหรับรายละเอียดของแถลงการณ์
แถลงการณ์ฉบับที่ 1/2555 สื่อมวลชนสายการศึกษา ประจำกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เรื่อง การแสดงจุดยืนการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ศธ.
จากกรณีที่มีการกล่าวหาสื่อมวลชนประจำกระทรวงศึกษาธิการ ว่า ทำข่าวบิดเบือนข้อเท็จจริง โดยทางสำนักงานรัฐมนตรี ได้จัดทำเอกสารชี้แจงข่าวของ ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ ผ่านทางอีเมล์ของสื่อมวลชนทุกสำนัก ทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ รวมทั้งได้เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ www.moe.go.th เมื่อวันที่ 7 ก.ย.55 โดยมีหัวเรื่องว่า รมว.ศธ.ไม่เคยบอกให้ สทศ.ออกข้อสอบเฉพาะ O-Net อย่างเดียว และมีรายละเอียด ดังนี้
“7 กันยายน 2555, ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ขอเรียนชี้แจงว่า การลงข่าวที่ตนสั่งให้มีการสอบเฉพาะการสอบ O-NET เพียงอย่างเดียวนั้น ไม่เป็นความจริง เป็นการรายงานข่าวไม่ถูกต้อง และส่งผลให้ผู้ไปเขียนวิพากษ์วิจารณ์ต่ออย่างไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดการเข้าใจผิดต่อสาธารณชนทั้งที่ความจริง คือ ได้ขอให้ สทศ.ไปพิจารณาการออกข้อสอบต่างๆ ให้มีจำนวนแบบน้อยลงเท่านั้น ไม่ใช่บอกให้สอบเฉพาะ O-Net อย่างเดียว เหตุที่ต้องชี้แจงในเรื่องนี้ เพราะมีบ่อยครั้งที่ผู้สื่อข่าวอาจจะฟังไม่เข้าใจ หรือจดไปไม่หมด หรือลงข่าวผิด ซึ่งส่งผลเสียต่อความน่าเชื่อถือในการจัดการศึกษาของประเทศ จึงขอให้สื่อมวลชนพิจารณาลงข่าวเฉพาะข้อเท็จจริง ซึ่งจะทำให้ทั้งสื่อมวลชนและกระทรวงศึกษาธิการ สามารถสร้างสรรค์การพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองได้ดี”
สื่อมวลชนสายการศึกษา ขอยืนยันว่า ที่ผ่านมา การทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ยืนอยู่บนความรับผิดชอบ และเสนอข่าวไปตามข้อเท็จจริง ไม่เคยบิดเบือนข่าวอย่างที่มีการกล่าวหา ตลอดเวลาสื่อมวลชนได้ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงในการทวงถามประเด็นต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อครู นักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชน ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดของกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะต้องตอบคำถามในประเด็นสาธารณะเหล่านี้
ทั้งนี้ คำชี้แจงดังกล่าวได้สร้างความเข้าใจผิดต่อแวดวงวิชาชีพสื่อมวลชน และลดความน่าเชื่อถือในวิชาชีพสื่อมวลชนสายการศึกษา ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบจริยธรรม และหลักจรรยาบรรณวิชาชีพของสื่อมวลชนที่ดีมาโดยตลอด ดังนั้น จึงขอให้เคารพในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนที่ได้นำเสนอข่าวบนข้อเท็จจริงด้วย