“สมมาตร” ชนะ “ชวลิต” ด้วยคะแนนเสียงทางลับมากกว่า 10 คะแนน นั่งเก้าอี้ ผอ.องค์การค้า สกสค.อีกครั้ง “ศศิธารา” แจงแม้เจ้าตัวเคยถูกเลิกจ้างสมัย รมว.ศึกษาฯ “ชุมพล ศิลปอาชา” แต่ไม่มีอำนาจ เพราะอำนาจเลิกจ้างเป็นของบอร์ด สกสค.ยันหากอนาคตหากศาลตัดสินว่าผิดต้องออกจากตำแหน่ง
วันนี้ (11 ก.ย.) น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการสงเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) เปิดเผยว่า การประชุมบอร์ด สกสค.วันนี้ มีวาระพิจารณาเลือกผู้อำนวยการองค์การค้า สกสค.ตามที่ นายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ เลขาธิการสภาการศึกษา ในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหา ผอ.องค์การค้า สกสค.ได้เสนอ 2 รายชื่อ คือ นายสมมาตร มีศิลป์ อดีต ผอ.องค์การค้า สกสค.และ นายชวลิต ลีลาศิวพร โดยบอร์ด สกสค.ได้ลงคะแนนในทางลับ ซึ่งผลปรากฏว่า เสียงส่วนใหญ่ของบอร์ด สกสค.เลือก นายสมมาตร เป็น ผอ.องค์การค้า สกสค.ซึ่งคะแนนทิ้งห่างกับ นายชวลิต มากกว่า 10 คะแนน ทั้งนี้ บอร์ด สกสค.มีจำนวน 23 ราย ในจำนวนนี้งดออกเสียง 2 ราย คือ ตน และ นายสุเทพ ริยาพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ สกสค.ปฏิบัติหน้าที่รักษาการเลขาธิการ สกสค.
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้มีการสอบถามถึงประเด็นที่ นายสมมาตร เคยถูกเลิกจ้าง และเป็นคดีความอยู่ แต่ฝ่ายกฎหมาย ชี้แจงว่า ทั้งหมดนี้ไม่ได้ทำให้นายสมมาตร เข้าข่ายขาดคุณสมบัติตามประกาศของ สกสค.แม้ นายสมมาตร จะถูกฟ้องศาลในข้อหายักยอกทรัพย์สินขององค์การค้า สกสค.แต่คดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณายังไม่ตัดสินว่า นายสมมาตร ผิดหรือไม่ ขณะที่ประกาศ สกสค.เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่ง ผอ.องค์การค้า สกสค.ระบุว่า คุณสมบัติของ ผอ.องค์การค้า สกสค.ต้องไม่เคยรับโทษโดยคำพิพากษาให้จำคุก เพราะฉะนั้น เมื่อศาลยังไม่มีคำตัดสินเป็นที่สุดจึงถือว่า นายสมมาตร ไม่ขาดคุณสมบัติ แต่ถ้าในอนาคตศาลตัดสินให้นายสมมาตร มีความผิดจริงก็ต้องออกจากตำแหน่ง ผอ.องค์การค้า สกสค.
น.ส.ศศิธารา กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่ นายสมมาตร เคยถูกเลิกจ้างนั้น เนื่องจากเป็นการเลิกจ้างโดย นายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในขณะนั้น ไม่ใช่ถูกเลิกจ้างโดยบอร์ด สกสค.ซึ่ง รมว.ศึกษาธิการ ไม่มีอำนาจในการเลิกจ้าง อำนาจดังกล่าวเป็นของบอร์ด สกสค.จึงไม่ถือว่าการเลิกจ้างของนายสมมาตร จะเข้าข่ายขาดคุณสมบัติ อย่างไรก็ตาม ส่วนการทำสัญญาจ้าง นายสมมาตร นั้น ได้มอบให้ฝ่ายกฎหมายไปทำรายละเอียดในสัญญาการจ้าง โดยให้กำหนดให้ชัดเจนถึงขอบเขตการทำงาน อำนาจหน้าที่ของ ผอ.องค์การค้า สกสค.รวมทั้งวิธีการประเมินการทำงานของผอ.องค์การค้า สกสค.ซึ่งคาดว่า ภายใน 7 วัน หรืออย่างน้อย 10 วันก็จะเซ็นสัญญาจ้างได้โดยตนเป็นผู้ลงนามในสัญญาจ้าง
วันนี้ (11 ก.ย.) น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการสงเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) เปิดเผยว่า การประชุมบอร์ด สกสค.วันนี้ มีวาระพิจารณาเลือกผู้อำนวยการองค์การค้า สกสค.ตามที่ นายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ เลขาธิการสภาการศึกษา ในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหา ผอ.องค์การค้า สกสค.ได้เสนอ 2 รายชื่อ คือ นายสมมาตร มีศิลป์ อดีต ผอ.องค์การค้า สกสค.และ นายชวลิต ลีลาศิวพร โดยบอร์ด สกสค.ได้ลงคะแนนในทางลับ ซึ่งผลปรากฏว่า เสียงส่วนใหญ่ของบอร์ด สกสค.เลือก นายสมมาตร เป็น ผอ.องค์การค้า สกสค.ซึ่งคะแนนทิ้งห่างกับ นายชวลิต มากกว่า 10 คะแนน ทั้งนี้ บอร์ด สกสค.มีจำนวน 23 ราย ในจำนวนนี้งดออกเสียง 2 ราย คือ ตน และ นายสุเทพ ริยาพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ สกสค.ปฏิบัติหน้าที่รักษาการเลขาธิการ สกสค.
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้มีการสอบถามถึงประเด็นที่ นายสมมาตร เคยถูกเลิกจ้าง และเป็นคดีความอยู่ แต่ฝ่ายกฎหมาย ชี้แจงว่า ทั้งหมดนี้ไม่ได้ทำให้นายสมมาตร เข้าข่ายขาดคุณสมบัติตามประกาศของ สกสค.แม้ นายสมมาตร จะถูกฟ้องศาลในข้อหายักยอกทรัพย์สินขององค์การค้า สกสค.แต่คดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณายังไม่ตัดสินว่า นายสมมาตร ผิดหรือไม่ ขณะที่ประกาศ สกสค.เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่ง ผอ.องค์การค้า สกสค.ระบุว่า คุณสมบัติของ ผอ.องค์การค้า สกสค.ต้องไม่เคยรับโทษโดยคำพิพากษาให้จำคุก เพราะฉะนั้น เมื่อศาลยังไม่มีคำตัดสินเป็นที่สุดจึงถือว่า นายสมมาตร ไม่ขาดคุณสมบัติ แต่ถ้าในอนาคตศาลตัดสินให้นายสมมาตร มีความผิดจริงก็ต้องออกจากตำแหน่ง ผอ.องค์การค้า สกสค.
น.ส.ศศิธารา กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่ นายสมมาตร เคยถูกเลิกจ้างนั้น เนื่องจากเป็นการเลิกจ้างโดย นายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในขณะนั้น ไม่ใช่ถูกเลิกจ้างโดยบอร์ด สกสค.ซึ่ง รมว.ศึกษาธิการ ไม่มีอำนาจในการเลิกจ้าง อำนาจดังกล่าวเป็นของบอร์ด สกสค.จึงไม่ถือว่าการเลิกจ้างของนายสมมาตร จะเข้าข่ายขาดคุณสมบัติ อย่างไรก็ตาม ส่วนการทำสัญญาจ้าง นายสมมาตร นั้น ได้มอบให้ฝ่ายกฎหมายไปทำรายละเอียดในสัญญาการจ้าง โดยให้กำหนดให้ชัดเจนถึงขอบเขตการทำงาน อำนาจหน้าที่ของ ผอ.องค์การค้า สกสค.รวมทั้งวิธีการประเมินการทำงานของผอ.องค์การค้า สกสค.ซึ่งคาดว่า ภายใน 7 วัน หรืออย่างน้อย 10 วันก็จะเซ็นสัญญาจ้างได้โดยตนเป็นผู้ลงนามในสัญญาจ้าง