วธ.พบสารพัดปัญหาร้านเกม พนัน-ขายตัว-มั่วสุม ผบก.ปคม.เผย พ่อแม่สุดทนร้องศูนย์ประชาบดีวอนช่วยลูกตกเป็นเหยื่อขายบริการบนร้านเกมเมืองชล ด้านผู้ประกอบการ ตจว. แฉ ถูกแก๊งค์ตบทรัพย์อ้างเป็นตำรวจเรียกเก็บส่วย
วันที่ (29 ส.ค.) โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) โดยสำนักภาพยนตร์และวีดิทัศน์ จัดพิธีมอบโล่และเกียรติบัตร โครงการ “ร้านเกมสีขาว เพื่อเยาวชน” ประจำปี 2555 โดย นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ขณะนี้มีร้านเกมสมัครเข้าร่วมโครงการร้านเกมสีขาว เพื่อเยาวชน ซึ่งผ่านการประเมินให้เป็นร้านเกมสีขาว ในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 734 แห่ง เพิ่มขึ้นจากปี 2554 จำนวน 221 แห่ง โดยแบ่งเป็นร้านเกมสีขาวระดับ 3 ดาว จำนวน 139 แห่ง ระดับ 2 ดาว จำนวน 444 แห่ง ระดับ 1 ดาว จำนวน 151 แห่ง ในส่วนภูมิภาค 2,312 แห่ง รวมทั้งสิ้น 3,046 แห่ง
นางสุกุมล กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ ข้อมูลการร้องเรียนจาก สวธ.ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา พบปัญหาที่เกิดขึ้นในร้านเกมทั้งหมด 8 ด้าน ได้แก่ 1.ปล่อยให้เด็กอายุ ต่ำกว่า 18 ปี เข้าใช้บริการก่อนและหลังเวลาที่กฎกระทรวงกำหนด 2.อนุญาตให้เล่นเกมที่มีเนื้อหาและภาษาไม่สุภาพ ทำให้ผู้เล่นแข่งขันกัน จนทำให้ไม่พอใจ ถึงขั้นข่มขู่และทำร้ายร่างกายกันเองด้วย 3.เจ้าหน้าที่เลือกปฏิบัติ ใช้เกณฑ์มาตรฐานในการตรวจสอบร้านเกมต่างกัน 4.ร้านเกมเปิดให้บริการโดยไม่มีใบอนุญาต 5.ร้านเกมเปิดเว็บไซต์ให้เล่นการพนันออนไลน์ 6.ร้านเกมเป็นแหล่งมั่วสุมยาเสพติดของเยาวชน รวมทั้งส่งเสียงดังรบกวนชาวบ้าน 7.มีกลุ่มบุคคล แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจร้านเกม และเรียกรับเงินจากผู้ประกอบการ และ 8.ร้านเกมเป็นแหล่งมั่วสุมทางเพศ
ด้าน พล.ต.ต. ชวลิต แสวงพืชน์ ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ (ผบก.ปคม.) กล่าวว่า บก.ปคม.ได้รับร้องเรียนจากผู้ปกครองผ่านมายังศูนย์ประชาบดี กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมุนษย์ (พม.) เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า ร้านเกมแห่งหนึ่งใน จ.ชลบุรี พบมีการบังคับให้เด็กขายบริการอยู่บริเวณชั้น 2 โดยเบื้องต้น ได้สั่งการให้กองกำกับการ 2 ส่งสายลับตำรวจเข้าไปตรวจสอบยังร้านเกมดังกล่าวแล้ว ซึ่งร้านเกมแห่งนี้เพิ่งเปิดให้บริการ และได้รับใบอนุญาต แต่เพิ่งได้รับการร้องเรียน ตำรวจจึงต้องสืบหาข้อมูลให้แน่ชัด เพื่อไม่ให้ข้อมูลรั่วไหลออกไป จึงยังไม่ได้ออกหมายค้นเข้าไปตรวจสอบอย่างละเอียด แต่เมื่อตรวจสอบพบว่า มีเหยื่อที่ถูกกักขัง ก็จะนำหมายค้นไปค้น และเชิญเหยื่อมาให้ปากคำ เพราะการสอบสวนต้องมีสหวิชาชีพประกอบด้วยอัยการ นักจิตวิทยา พม.และเจ้าหน้าที่ สวธ.ร่วมกับตำรวจสอบสวน ได้ติดต่อกับพ่อแม่ของเหยื่อที่ร้องเรียนแล้ว ส่วนกรณีตำรวจอ้างตัวเรียกเก็บเงินจากผู้ประกอบการนั้น เราไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง เพียงแต่มีหน้าที่เข้าไปจัดระเบียบร้านเกมดังกล่าวเท่านั้น
นางพรรณสุรางค์ แก่นสาร เจ้าของร้านเกม P.C.Toon ที่ได้รับรางวัลร้านเกมสีขาวระดับ 3 ดาว กล่าวว่า ร้านเกมส่วนใหญ่ ประสบปัญหา 3 เรื่อง ได้แก่ 1. การถูกดำเนินคดี เรื่องลิขสิทธิ์เกมและเพลงที่ผิดกฎหมาย 2. การถูกตกทรัพย์ โดยมีผู้แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจมาขอตรวจสอบร้านเกม และเรียกเก็บเงินเพื่อไม่ดำเนินคดีข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ เจ้าของร้านเกมเจอปัญหานี้จำนวนมาก โดยเฉพาะร้านเกมต่างจังหวัด ที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ 3.ปัญหาร้านเกม ถูกมองในแง่ลบ ว่า เป็นแหล่งมั่วสุมอบายมุขต่างๆ ซึ่งประเด็นนี้ ทางผู้ประกอบการ ได้พยายาม ปรับบทบาท และภาพลักษณ์ ของร้านเกมจากที่ถูกมองว่าเป็นแหล่งมั่วสุม ให้เป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการ เป็นแหล่งความรู้ และเป็นห้องเรียนสำหรับทำการบ้านของเด็กนักเรียน
“นักเรียนที่เข้ามาใช้บริการทางร้านเฉลี่ยวันละ 100 คน ส่วนใหญ่มาใช้เน็ตทำการบ้าน พิมพ์งาน เล่นเกมบ้าง จะบอกน้องๆ เสมอว่าให้ทำงานเสร็จก่อนค่อยเล่นเกม” นางพรรณสุรางค์ กล่าว
ด้านนายสุดใจ อำไพ เจ้าของร้านเกมน้องเดียร์อินเตอร์เน็ต กรุงเทพฯ กล่าวว่า ร้านเกมถูกมองว่าเป็นแหล่งมั่วสุมนั้น ตนมองว่าขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้งของร้านมากกว่า ส่วนปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์นั้น เป็นปัญหาที่แก้ไขยาก เชื่อว่าผู้ประกอบการอยากจะให้ร้านเกมของตนเอง มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ปัจจุบัน มีจำนวนซอฟต์แวร์ เกม และเพลง เพิ่มมากขึ้น จนไม่สามารถควบคุมได้ทั้งหมด ทำให้เกิดปัญหาการตบทรัพย์ตามมา
วันที่ (29 ส.ค.) โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) โดยสำนักภาพยนตร์และวีดิทัศน์ จัดพิธีมอบโล่และเกียรติบัตร โครงการ “ร้านเกมสีขาว เพื่อเยาวชน” ประจำปี 2555 โดย นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ขณะนี้มีร้านเกมสมัครเข้าร่วมโครงการร้านเกมสีขาว เพื่อเยาวชน ซึ่งผ่านการประเมินให้เป็นร้านเกมสีขาว ในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 734 แห่ง เพิ่มขึ้นจากปี 2554 จำนวน 221 แห่ง โดยแบ่งเป็นร้านเกมสีขาวระดับ 3 ดาว จำนวน 139 แห่ง ระดับ 2 ดาว จำนวน 444 แห่ง ระดับ 1 ดาว จำนวน 151 แห่ง ในส่วนภูมิภาค 2,312 แห่ง รวมทั้งสิ้น 3,046 แห่ง
นางสุกุมล กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ ข้อมูลการร้องเรียนจาก สวธ.ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา พบปัญหาที่เกิดขึ้นในร้านเกมทั้งหมด 8 ด้าน ได้แก่ 1.ปล่อยให้เด็กอายุ ต่ำกว่า 18 ปี เข้าใช้บริการก่อนและหลังเวลาที่กฎกระทรวงกำหนด 2.อนุญาตให้เล่นเกมที่มีเนื้อหาและภาษาไม่สุภาพ ทำให้ผู้เล่นแข่งขันกัน จนทำให้ไม่พอใจ ถึงขั้นข่มขู่และทำร้ายร่างกายกันเองด้วย 3.เจ้าหน้าที่เลือกปฏิบัติ ใช้เกณฑ์มาตรฐานในการตรวจสอบร้านเกมต่างกัน 4.ร้านเกมเปิดให้บริการโดยไม่มีใบอนุญาต 5.ร้านเกมเปิดเว็บไซต์ให้เล่นการพนันออนไลน์ 6.ร้านเกมเป็นแหล่งมั่วสุมยาเสพติดของเยาวชน รวมทั้งส่งเสียงดังรบกวนชาวบ้าน 7.มีกลุ่มบุคคล แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจร้านเกม และเรียกรับเงินจากผู้ประกอบการ และ 8.ร้านเกมเป็นแหล่งมั่วสุมทางเพศ
ด้าน พล.ต.ต. ชวลิต แสวงพืชน์ ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ (ผบก.ปคม.) กล่าวว่า บก.ปคม.ได้รับร้องเรียนจากผู้ปกครองผ่านมายังศูนย์ประชาบดี กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมุนษย์ (พม.) เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า ร้านเกมแห่งหนึ่งใน จ.ชลบุรี พบมีการบังคับให้เด็กขายบริการอยู่บริเวณชั้น 2 โดยเบื้องต้น ได้สั่งการให้กองกำกับการ 2 ส่งสายลับตำรวจเข้าไปตรวจสอบยังร้านเกมดังกล่าวแล้ว ซึ่งร้านเกมแห่งนี้เพิ่งเปิดให้บริการ และได้รับใบอนุญาต แต่เพิ่งได้รับการร้องเรียน ตำรวจจึงต้องสืบหาข้อมูลให้แน่ชัด เพื่อไม่ให้ข้อมูลรั่วไหลออกไป จึงยังไม่ได้ออกหมายค้นเข้าไปตรวจสอบอย่างละเอียด แต่เมื่อตรวจสอบพบว่า มีเหยื่อที่ถูกกักขัง ก็จะนำหมายค้นไปค้น และเชิญเหยื่อมาให้ปากคำ เพราะการสอบสวนต้องมีสหวิชาชีพประกอบด้วยอัยการ นักจิตวิทยา พม.และเจ้าหน้าที่ สวธ.ร่วมกับตำรวจสอบสวน ได้ติดต่อกับพ่อแม่ของเหยื่อที่ร้องเรียนแล้ว ส่วนกรณีตำรวจอ้างตัวเรียกเก็บเงินจากผู้ประกอบการนั้น เราไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง เพียงแต่มีหน้าที่เข้าไปจัดระเบียบร้านเกมดังกล่าวเท่านั้น
นางพรรณสุรางค์ แก่นสาร เจ้าของร้านเกม P.C.Toon ที่ได้รับรางวัลร้านเกมสีขาวระดับ 3 ดาว กล่าวว่า ร้านเกมส่วนใหญ่ ประสบปัญหา 3 เรื่อง ได้แก่ 1. การถูกดำเนินคดี เรื่องลิขสิทธิ์เกมและเพลงที่ผิดกฎหมาย 2. การถูกตกทรัพย์ โดยมีผู้แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจมาขอตรวจสอบร้านเกม และเรียกเก็บเงินเพื่อไม่ดำเนินคดีข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ เจ้าของร้านเกมเจอปัญหานี้จำนวนมาก โดยเฉพาะร้านเกมต่างจังหวัด ที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายภาพยนตร์และวีดิทัศน์ 3.ปัญหาร้านเกม ถูกมองในแง่ลบ ว่า เป็นแหล่งมั่วสุมอบายมุขต่างๆ ซึ่งประเด็นนี้ ทางผู้ประกอบการ ได้พยายาม ปรับบทบาท และภาพลักษณ์ ของร้านเกมจากที่ถูกมองว่าเป็นแหล่งมั่วสุม ให้เป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการ เป็นแหล่งความรู้ และเป็นห้องเรียนสำหรับทำการบ้านของเด็กนักเรียน
“นักเรียนที่เข้ามาใช้บริการทางร้านเฉลี่ยวันละ 100 คน ส่วนใหญ่มาใช้เน็ตทำการบ้าน พิมพ์งาน เล่นเกมบ้าง จะบอกน้องๆ เสมอว่าให้ทำงานเสร็จก่อนค่อยเล่นเกม” นางพรรณสุรางค์ กล่าว
ด้านนายสุดใจ อำไพ เจ้าของร้านเกมน้องเดียร์อินเตอร์เน็ต กรุงเทพฯ กล่าวว่า ร้านเกมถูกมองว่าเป็นแหล่งมั่วสุมนั้น ตนมองว่าขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้งของร้านมากกว่า ส่วนปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์นั้น เป็นปัญหาที่แก้ไขยาก เชื่อว่าผู้ประกอบการอยากจะให้ร้านเกมของตนเอง มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ปัจจุบัน มีจำนวนซอฟต์แวร์ เกม และเพลง เพิ่มมากขึ้น จนไม่สามารถควบคุมได้ทั้งหมด ทำให้เกิดปัญหาการตบทรัพย์ตามมา