คร.เผย โรคปริศนาคล้ายเอดส์ คือ “โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองในวัยผู้ใหญ่” ยันเกิดจากพันธุกรรม ไม่ใช่โรคติดต่อ หรือ โรคระบาดใหม่ ขอประชาชนอย่าตระหนก ชี้ มักเกิดในคน 50 ปีขึ้นไป ทำให้เกิดการติดเชื้อฉวยโอกาสง่าย
นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ และโฆษกกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงการตีพิมพ์ผลการวิจัยในวารสารทางการแพทย์ของนักวิจัยประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ระบุว่า พบโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองชนิดใหม่ในทวีปเอเชีย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการคล้ายโรคเอดส์ มีพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญของโรค โดยนักวิจัยของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) ของสหรัฐฯ ระบุว่า เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองในวัยผู้ใหญ่ (adult-onset immunodeficiency syndrome) ว่า การวิจัยดังกล่าวเริ่มทำตั้งแต่ปี 2548 โดยศึกษาในประเทศไทย และไต้หวัน ซึ่งเป็นการรายงานผลการศึกษาในกลุ่มคนไข้ 200 คน ที่พบว่า มีลักษณะอาการของโรคคล้ายผู้ป่วยด้วยโรคเอดส์ ที่จะมีภูมิต้านทานต่ำ และมีโอกาสป่วยด้วยเชื้อฉวยโอกาสสูง ซึ่งเรียกง่ายๆ ว่า โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองชนิดใหม่ ยืนยันว่า ไม่ใช่โรคติดต่อ และไม่ใช่โรคติดต่ออุบัติใหม่ โดยสันนิษฐานว่าสาเหตุของโรคน่าจะเกิดจากพันธุกรรม โดยจากการศึกษาดังกล่าวพบผู้ป่วยเพียง 12 ราย ยังไม่ใช่สถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงแต่อย่างใด
นพ.รุ่งเรือง กล่าวว่า สำหรับลักษณะของโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง มักพบในผู้ป่วยอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยลักษณะของโรค โปรตีนที่มีหน้าที่ป้องกันเชื้อโรคถูกทำลายไป ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเสียและเกิดติดเชื้อโรคฉวยโอกาสง่าย และจะเป็นโรคติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนปกติ ไม่ว่าจะเป็นไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา หรือ ปรสิต ทำให้เกิดโรคที่ในคนทั่วไปซึ่งมีภูมิคุ้มกันปกติไม่ค่อยเกิดขึ้น เช่น วัณโรค คล้ายๆ ผู้ป่วยโรคเอดส์ แต่ไม่ได้เป็นโรคติดต่อ จึงไม่อยากให้ตื่นตระหนกในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากผลงานวิจัยน่าเชื่อว่าโรคดังกล่าวเป็นโรคที่เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมไม่ใช่โรคติดต่อหรือโรคระบาดแต่อย่างใด ซึ่งการรายงานผลการวิจัยดังกล่าว เป็นเรื่องปกติทางการแพทย์ที่ต้องทำการศึกษาเรื่องโรคใหม่ๆ ตลอดเวลา
นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ และโฆษกกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงการตีพิมพ์ผลการวิจัยในวารสารทางการแพทย์ของนักวิจัยประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ระบุว่า พบโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองชนิดใหม่ในทวีปเอเชีย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการคล้ายโรคเอดส์ มีพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญของโรค โดยนักวิจัยของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) ของสหรัฐฯ ระบุว่า เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองในวัยผู้ใหญ่ (adult-onset immunodeficiency syndrome) ว่า การวิจัยดังกล่าวเริ่มทำตั้งแต่ปี 2548 โดยศึกษาในประเทศไทย และไต้หวัน ซึ่งเป็นการรายงานผลการศึกษาในกลุ่มคนไข้ 200 คน ที่พบว่า มีลักษณะอาการของโรคคล้ายผู้ป่วยด้วยโรคเอดส์ ที่จะมีภูมิต้านทานต่ำ และมีโอกาสป่วยด้วยเชื้อฉวยโอกาสสูง ซึ่งเรียกง่ายๆ ว่า โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองชนิดใหม่ ยืนยันว่า ไม่ใช่โรคติดต่อ และไม่ใช่โรคติดต่ออุบัติใหม่ โดยสันนิษฐานว่าสาเหตุของโรคน่าจะเกิดจากพันธุกรรม โดยจากการศึกษาดังกล่าวพบผู้ป่วยเพียง 12 ราย ยังไม่ใช่สถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงแต่อย่างใด
นพ.รุ่งเรือง กล่าวว่า สำหรับลักษณะของโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง มักพบในผู้ป่วยอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยลักษณะของโรค โปรตีนที่มีหน้าที่ป้องกันเชื้อโรคถูกทำลายไป ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเสียและเกิดติดเชื้อโรคฉวยโอกาสง่าย และจะเป็นโรคติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนปกติ ไม่ว่าจะเป็นไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา หรือ ปรสิต ทำให้เกิดโรคที่ในคนทั่วไปซึ่งมีภูมิคุ้มกันปกติไม่ค่อยเกิดขึ้น เช่น วัณโรค คล้ายๆ ผู้ป่วยโรคเอดส์ แต่ไม่ได้เป็นโรคติดต่อ จึงไม่อยากให้ตื่นตระหนกในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากผลงานวิจัยน่าเชื่อว่าโรคดังกล่าวเป็นโรคที่เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมไม่ใช่โรคติดต่อหรือโรคระบาดแต่อย่างใด ซึ่งการรายงานผลการวิจัยดังกล่าว เป็นเรื่องปกติทางการแพทย์ที่ต้องทำการศึกษาเรื่องโรคใหม่ๆ ตลอดเวลา