อึ้ง! ผลงานวิจัยดีเด่น มจร.พบพุทธศาสนิกชนชาวไทยเชื่อเรื่อง “ตัดกรรม-สแกนกรรม” แถมยังเชื่อว่า ฉ้อโกง ทุจริต คอร์รัปชัน ลดกรรมได้ด้วยการทำบุญบริจาค หนักกว่านั้นยังมีคนเชื่อว่า ใครๆ ก็บรรลุนิพพานได้
วันนี้ (26 ส.ค.) ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ในการจัดงานสัมมนาผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ดีเด่นประจำปี 2555 มีผลงานวิจัยดีเด่นเรื่องหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมประชุมเป็นอย่างมากคือ ผลวิจัย เรื่อง “หลักกรรมทางพระพุทธศาสนาในวิถีชีวิตของสังคมไทย”
นายวุฒินันท์ กันทะเตียน นักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มจร.หนึ่งในคณะนักวิจัย กล่าวว่า ผลงานวิจัยเรื่องดังกล่าวได้ทำการสุ่มสำรวจความเห็นจากพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ 1,110 คน พบว่า ร้อยละ 90.2 ยังมีความเชื่อเรื่องกรรมดีกรรมชั่ว ขณะที่ร้อยละ 66.5 เชื่อว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ส่วนร้อยละ 18.2 เชื่อว่า “ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป” และเมื่อถามถึงความเชื่อและการปฏิบัติเรื่องกรรมในชีวิตประจำวันพบว่า เรื่องที่พุทธศาสนิกชนเชื่อมากที่สุดถึงร้อยละ 79 คือ ผลกรรมจากการรังแกสัตว์ การเบียดเบียนผู้อื่นทำให้มีโรคภัย
นายวุฒินันท์ กล่าวต่อไปว่า เมื่อถามถึงเรื่องการตัดกรรม หรือการทำให้กรรมในอดีตหมดไปนั้น พบว่า ร้อยละ 51.4 ไม่เชื่อว่า เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ แต่ในขณะเดียวกันยังมีพุทธศาสนิกชนถึงร้อยละ 19 ที่มีความเชื่อเรื่องการตัดกรรม นอกจากนี้ จากการสำรวจยังพบด้วยว่า พุทธศาสนิกชนร้อยละ 30.6 เชื่อเรื่องคนที่มีญาณวิเศษ สามารถสแกนกรรม หรือสำรวจกรรมได้ ส่วนร้อยละ 35.7 ไม่เชื่อ ขณะที่ยังมีพุทธศาสนิกชนสูงถึงร้อยละ 31.5 ที่เชื่อว่า ใครๆ ก็สามารถบรรลุนิพพานได้ในชาตินี้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงผลกรรมในอดีตชาติ ส่วนผู้ที่ไม่เชื่อมีร้อยละ 38.8 และที่น่าตกใจ คือ จากผลการสำรวจพบว่ามีพุทธศาสนิกชนถึงร้อยละ 21.1 เชื่อว่าการทำชั่ว เช่น การทุจริต ฉ้อโกง หรือการคอร์รัปชัน สามารถลดทอนกรรมได้ด้วยการทำบุญบริจาค ส่วนกิจกรรมหรือพฤติกรรมที่เลือกปฏิบัติที่เชื่อว่าเพื่อลดกรรม 5 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 สนทนาธรรมกับพระสงฆ์ ร้อยละ 25.5 อันดับ 2 ถวายสังฆทาน ร้อยละ 21.8 อันดับ 3 ให้ทานแก่คนขอทานร้อยละ 21.1 อันดับ 4 ถือศีลในวันพระ ร้อยละ 20.8 และอันดับ 5 บวชชีพราหมณ์ ร้อยละ 12.1
พระสุธีธรรมานุวัตร หัวหน้าโครงการวิจัย เรื่อง หลักกรรมทางพระพุทธศาสนาในวิถีชีวิตของสังคมไทย กล่าวว่า ผลการวิจัยดังกล่าว สะท้อนพฤติกรรมคนไทยในปัจจุบัน ที่แม้จะเชื่อเรื่องกรรม แต่มีมุมมองเปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งไม่ถูกต้อง ทำให้ประเทศไทยได้ชื่อว่ามีการทำนุบำรุงพุทธศาสนามากที่สุดในโลก และมีขอทานจำนวนมาก เนื่องจากคนส่วนใหญ่นิยมทำบุญด้วยการให้ทาน เพราะคิดว่าเป็นการก่อกรรมดีและมีส่วนช่วยทุเลาเบาบางผลของกรรมชั่วที่ได้กระทำทั้งปัจจุบันและชาติก่อน ซึ่งตามหลักพุทธศาสนา สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว หากทุจริต ฉ้อโกง แล้วทำเงินไปบริจาค ก็ถือว่าทรัพย์ที่ได้มาไม่บริสุทธิ์ ย่อมไม่ได้อานิสงส์จากการทำบุญเหมือนกับทรัพย์ที่หามาได้โดยการประกอบอาชีพโดยสุจริตแน่นอน
วันนี้ (26 ส.ค.) ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ในการจัดงานสัมมนาผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ดีเด่นประจำปี 2555 มีผลงานวิจัยดีเด่นเรื่องหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมประชุมเป็นอย่างมากคือ ผลวิจัย เรื่อง “หลักกรรมทางพระพุทธศาสนาในวิถีชีวิตของสังคมไทย”
นายวุฒินันท์ กันทะเตียน นักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มจร.หนึ่งในคณะนักวิจัย กล่าวว่า ผลงานวิจัยเรื่องดังกล่าวได้ทำการสุ่มสำรวจความเห็นจากพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ 1,110 คน พบว่า ร้อยละ 90.2 ยังมีความเชื่อเรื่องกรรมดีกรรมชั่ว ขณะที่ร้อยละ 66.5 เชื่อว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ส่วนร้อยละ 18.2 เชื่อว่า “ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป” และเมื่อถามถึงความเชื่อและการปฏิบัติเรื่องกรรมในชีวิตประจำวันพบว่า เรื่องที่พุทธศาสนิกชนเชื่อมากที่สุดถึงร้อยละ 79 คือ ผลกรรมจากการรังแกสัตว์ การเบียดเบียนผู้อื่นทำให้มีโรคภัย
นายวุฒินันท์ กล่าวต่อไปว่า เมื่อถามถึงเรื่องการตัดกรรม หรือการทำให้กรรมในอดีตหมดไปนั้น พบว่า ร้อยละ 51.4 ไม่เชื่อว่า เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ แต่ในขณะเดียวกันยังมีพุทธศาสนิกชนถึงร้อยละ 19 ที่มีความเชื่อเรื่องการตัดกรรม นอกจากนี้ จากการสำรวจยังพบด้วยว่า พุทธศาสนิกชนร้อยละ 30.6 เชื่อเรื่องคนที่มีญาณวิเศษ สามารถสแกนกรรม หรือสำรวจกรรมได้ ส่วนร้อยละ 35.7 ไม่เชื่อ ขณะที่ยังมีพุทธศาสนิกชนสูงถึงร้อยละ 31.5 ที่เชื่อว่า ใครๆ ก็สามารถบรรลุนิพพานได้ในชาตินี้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงผลกรรมในอดีตชาติ ส่วนผู้ที่ไม่เชื่อมีร้อยละ 38.8 และที่น่าตกใจ คือ จากผลการสำรวจพบว่ามีพุทธศาสนิกชนถึงร้อยละ 21.1 เชื่อว่าการทำชั่ว เช่น การทุจริต ฉ้อโกง หรือการคอร์รัปชัน สามารถลดทอนกรรมได้ด้วยการทำบุญบริจาค ส่วนกิจกรรมหรือพฤติกรรมที่เลือกปฏิบัติที่เชื่อว่าเพื่อลดกรรม 5 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 สนทนาธรรมกับพระสงฆ์ ร้อยละ 25.5 อันดับ 2 ถวายสังฆทาน ร้อยละ 21.8 อันดับ 3 ให้ทานแก่คนขอทานร้อยละ 21.1 อันดับ 4 ถือศีลในวันพระ ร้อยละ 20.8 และอันดับ 5 บวชชีพราหมณ์ ร้อยละ 12.1
พระสุธีธรรมานุวัตร หัวหน้าโครงการวิจัย เรื่อง หลักกรรมทางพระพุทธศาสนาในวิถีชีวิตของสังคมไทย กล่าวว่า ผลการวิจัยดังกล่าว สะท้อนพฤติกรรมคนไทยในปัจจุบัน ที่แม้จะเชื่อเรื่องกรรม แต่มีมุมมองเปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งไม่ถูกต้อง ทำให้ประเทศไทยได้ชื่อว่ามีการทำนุบำรุงพุทธศาสนามากที่สุดในโลก และมีขอทานจำนวนมาก เนื่องจากคนส่วนใหญ่นิยมทำบุญด้วยการให้ทาน เพราะคิดว่าเป็นการก่อกรรมดีและมีส่วนช่วยทุเลาเบาบางผลของกรรมชั่วที่ได้กระทำทั้งปัจจุบันและชาติก่อน ซึ่งตามหลักพุทธศาสนา สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว หากทุจริต ฉ้อโกง แล้วทำเงินไปบริจาค ก็ถือว่าทรัพย์ที่ได้มาไม่บริสุทธิ์ ย่อมไม่ได้อานิสงส์จากการทำบุญเหมือนกับทรัพย์ที่หามาได้โดยการประกอบอาชีพโดยสุจริตแน่นอน