“อังคาร กัลยาณพงศ์” ศิลปินแห่งชาติ เสียชีวิตแล้วด้วยโรคชราในวัย 86 ปี ครอบครัวตั้งศพสวดที่วัดธาตุทอง
นางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า สวธ.ได้รับแจ้งจากทายาทอาจารย์อังคาร กัลยาณพงศ์ ว่า อาจารย์อังคาร ได้เสียชีวิตลงแล้ว ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ เมื่อเวลาประมาณ 24.30 น.ของเช้าวันใหม่ 25 ส.ค.ด้วยโรคชรา ในวัย 86 ปี 6 เดือน โดยทายาทได้แจ้งว่าจะมีพิธีสวดพระอภิธรรมที่วัดตรีทศเทพ ศาลา 2 ตั้งแต่วันที่ 25-31 ส.ค.นี้ จากนั้นจะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพต่อไป สำหรับในส่วนของ สวธ.ในฐานะหน่วยงานที่ดูแลสวัสดิการของศิลปินแห่งชาติ ได้จัดสวัสดิการช่วยเหลือศิลปินแห่งชาติที่ถึงแก่กรรม เป็นจำนวนเงิน 170,000 บาท โดยเป็นการร่วมบำเพ็ญกุศลศพ 20,000 บาท และเงินช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเผยแพร่ผลงานและเกียรติคุณเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 150,000บาท
สำหรับประวัติ อาจารย์อังคาร กัลยาณพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2469 ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของกำนันเข็ม และ นางขุ้ม กัลยาณพงศ์ เรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดใหญ่ และโรงเรียนวัดจันทาราม เรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนพระพุทธเจ้าหลวงอุปถัมภ์และโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช จากนั้นเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนเพาะช่างแล้วไปเรียนที่คณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นศิษย์ของศิลปินใหญ่ เช่น ศ.ศิลป พีระศรี อ.เฟื้อ หริพิทักษ์ จึงได้ติดตามและร่วมมือกับอาจารย์ในด้านศิลปกรรม โบราณคดี และประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่อง
ความเป็นกวีนั้นเป็นพรสวรรค์ที่อาจารย์อังคารเชื่อมั่นและฝึกฝนมาตั้งแต่อยู่ชั้นมัธยม เมื่อออกจากมหาวิทยาลัยศิลปากรแล้ว ได้ร่อนเร่เรียนรู้ และสร้างสรรค์การวาดภาพและเขียนบทกวี ได้มีโอกาสคุ้นเคยกับศิลปินและกวีร่วมยุคสมัยหลายคน มีผลงานบทกวีปรากฏในหนังสือ “อนุสรณ์น้องใหม่” มหาวิทยาลัยศิลปากร กระทั่งได้พบกับสุลักษณ์ ศิวรักษ์ผู้ก่อตั้งและเป็นบรรณาธิการคนแรกของ “สังคมศาสตร์ปริทัศน์” บทกวีของอาจารย์อังคาร กัลยาณพงศ์ จึงได้พิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวาง มีผลงานที่จัดพิมพ์สร้างความตื่นตัวตื่นใจให้วรรณกรรมไทยมาเนิ่นนาน เช่น กวีนิพนธ์ ปี 2507, ลำนำภูกระดึง ปี 2512, สวนแก้ว ปี 2515, บางกอกแก้วกำสรวล หรือนิราศนครศรีธรรมราช ปี2512 จนได้รับการยกย่องว่าเป็น กวีนิพนธ์สมัยใหม่
อาจารย์อังคาร เป็นผู้ที่สร้างสรรค์ผลงาน และได้ถ่ายทอดความรู้สู่คนรุ่นต่อมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในปี 2532 ได้รับคัดเลือกและประกาศยกย่อง จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ หรือกรมส่งเสริมวัฒนธรรมในปัจจุบัน ให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์)
นางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า สวธ.ได้รับแจ้งจากทายาทอาจารย์อังคาร กัลยาณพงศ์ ว่า อาจารย์อังคาร ได้เสียชีวิตลงแล้ว ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ เมื่อเวลาประมาณ 24.30 น.ของเช้าวันใหม่ 25 ส.ค.ด้วยโรคชรา ในวัย 86 ปี 6 เดือน โดยทายาทได้แจ้งว่าจะมีพิธีสวดพระอภิธรรมที่วัดตรีทศเทพ ศาลา 2 ตั้งแต่วันที่ 25-31 ส.ค.นี้ จากนั้นจะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพต่อไป สำหรับในส่วนของ สวธ.ในฐานะหน่วยงานที่ดูแลสวัสดิการของศิลปินแห่งชาติ ได้จัดสวัสดิการช่วยเหลือศิลปินแห่งชาติที่ถึงแก่กรรม เป็นจำนวนเงิน 170,000 บาท โดยเป็นการร่วมบำเพ็ญกุศลศพ 20,000 บาท และเงินช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเผยแพร่ผลงานและเกียรติคุณเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 150,000บาท
สำหรับประวัติ อาจารย์อังคาร กัลยาณพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2469 ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของกำนันเข็ม และ นางขุ้ม กัลยาณพงศ์ เรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดใหญ่ และโรงเรียนวัดจันทาราม เรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียนพระพุทธเจ้าหลวงอุปถัมภ์และโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช จากนั้นเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนเพาะช่างแล้วไปเรียนที่คณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นศิษย์ของศิลปินใหญ่ เช่น ศ.ศิลป พีระศรี อ.เฟื้อ หริพิทักษ์ จึงได้ติดตามและร่วมมือกับอาจารย์ในด้านศิลปกรรม โบราณคดี และประวัติศาสตร์อย่างต่อเนื่อง
ความเป็นกวีนั้นเป็นพรสวรรค์ที่อาจารย์อังคารเชื่อมั่นและฝึกฝนมาตั้งแต่อยู่ชั้นมัธยม เมื่อออกจากมหาวิทยาลัยศิลปากรแล้ว ได้ร่อนเร่เรียนรู้ และสร้างสรรค์การวาดภาพและเขียนบทกวี ได้มีโอกาสคุ้นเคยกับศิลปินและกวีร่วมยุคสมัยหลายคน มีผลงานบทกวีปรากฏในหนังสือ “อนุสรณ์น้องใหม่” มหาวิทยาลัยศิลปากร กระทั่งได้พบกับสุลักษณ์ ศิวรักษ์ผู้ก่อตั้งและเป็นบรรณาธิการคนแรกของ “สังคมศาสตร์ปริทัศน์” บทกวีของอาจารย์อังคาร กัลยาณพงศ์ จึงได้พิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวาง มีผลงานที่จัดพิมพ์สร้างความตื่นตัวตื่นใจให้วรรณกรรมไทยมาเนิ่นนาน เช่น กวีนิพนธ์ ปี 2507, ลำนำภูกระดึง ปี 2512, สวนแก้ว ปี 2515, บางกอกแก้วกำสรวล หรือนิราศนครศรีธรรมราช ปี2512 จนได้รับการยกย่องว่าเป็น กวีนิพนธ์สมัยใหม่
อาจารย์อังคาร เป็นผู้ที่สร้างสรรค์ผลงาน และได้ถ่ายทอดความรู้สู่คนรุ่นต่อมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในปี 2532 ได้รับคัดเลือกและประกาศยกย่อง จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ หรือกรมส่งเสริมวัฒนธรรมในปัจจุบัน ให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์)