วธ.หนุนชาวสกลนคร อนุรักษ์ตำราใบลานหวั่นสูญหาย เตรียมประสานนักวิชาการมหาวิทยาลัยอนุรักษ์ แปล พิมพ์เป็นหนังสือ เก็บข้อมูลลงเว็บ เพื่อเผยแพร่แก่เยาวชน
นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ตนได้เดินทางไปเป็นประธานเปิดโครงการแบ่งปันความรู้สู่สาธารณะจุดประกายความคิด “ร่อยรอยกาลเวลา : แม่น้ำโขง Land Link อุษาคเนย์ ประชาสังคมวัฒนธรรมสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน” ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และได้ตรวจเยี่ยมการทำงานของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด (สวจ.) สกลนคร ได้เน้นย้ำให้ สวจ.สกลนคร นำมิติทางวัฒนธรรมมาสร้างรายได้แก่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง และปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ให้มีชีวิตน่าสนใจเพื่อดึงดูดเด็กและเยาวชน ประชาชนทั่วไป หากชุมชนใดมีศิลปวัตถุ โบราณวัตถุให้ช่วยเข้าไปส่งเสริมจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชน นอกจากนี้ ยังขอความร่วมมือกับครูอาจารย์ที่สอนตามท้องถิ่นต่างๆ ให้จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาของตนเองผ่านกิจกรรม โครงงานที่สามารถให้คะแนน หรือมีผลต่อการเรียนการสอนในห้องเรียน เพื่อเป็นการจูงใจเด็กและเยาวชนให้เรียนรู้และรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นยิ่งขึ้น
หลังจากนั้น ตนเองได้เดินทางไปศึกษาดูงานพิพิธภัณฑ์ภูพาน แอ่งสกลนคร รวบรวมประวัติความเป็นมาของบรรพบุรุษ รวมทั้งศิลปวัฒนธรรม แหล่งประวัติศาสตร์ ตำนานการต่อสู้ ตลอดจนพระอริยสงฆ์ จนกลายเป็นแอ่งธรรมมะของจังหวัดสกลนคร ถือเป็นแหล่งองค์ความรู้ ประวัติศาสตร์ อารยะธรรมเก่าแก่รวมถึงความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติของจังหวัดเอาไว้ได้อย่างดี ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่มีจุดเด่นของจังหวัด นอกจากนี้ ยังได้เดินทางไปศึกษาดูงานอนุรักษ์ภูมิปัญญาของชาวบ้านอ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร ที่กลัวตำราใบลานของชุมชนสูญหาย จึงได้รวมตัวกันอนุรักษ์ตำราใบลานอันเป็นแหล่งรวมความรู้ รวมทั้งยังจดบันทึกเป็นภาษาโบราณ ในขณะนี้ชาวบ้านเตรียมหาผู้เชี่ยวชาญมาแปลเพื่อพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบของหนังสือ หรือเก็บไว้ในเว็บไซต์ โดยประสานกับนักวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏประจำท้องถิ่นช่วยดำเนินงาน อย่างไรตาม นับเป็นชุมชนตัวอย่างที่ช่วยกันอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป
นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ตนได้เดินทางไปเป็นประธานเปิดโครงการแบ่งปันความรู้สู่สาธารณะจุดประกายความคิด “ร่อยรอยกาลเวลา : แม่น้ำโขง Land Link อุษาคเนย์ ประชาสังคมวัฒนธรรมสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน” ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และได้ตรวจเยี่ยมการทำงานของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด (สวจ.) สกลนคร ได้เน้นย้ำให้ สวจ.สกลนคร นำมิติทางวัฒนธรรมมาสร้างรายได้แก่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง และปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ให้มีชีวิตน่าสนใจเพื่อดึงดูดเด็กและเยาวชน ประชาชนทั่วไป หากชุมชนใดมีศิลปวัตถุ โบราณวัตถุให้ช่วยเข้าไปส่งเสริมจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชน นอกจากนี้ ยังขอความร่วมมือกับครูอาจารย์ที่สอนตามท้องถิ่นต่างๆ ให้จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาของตนเองผ่านกิจกรรม โครงงานที่สามารถให้คะแนน หรือมีผลต่อการเรียนการสอนในห้องเรียน เพื่อเป็นการจูงใจเด็กและเยาวชนให้เรียนรู้และรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นยิ่งขึ้น
หลังจากนั้น ตนเองได้เดินทางไปศึกษาดูงานพิพิธภัณฑ์ภูพาน แอ่งสกลนคร รวบรวมประวัติความเป็นมาของบรรพบุรุษ รวมทั้งศิลปวัฒนธรรม แหล่งประวัติศาสตร์ ตำนานการต่อสู้ ตลอดจนพระอริยสงฆ์ จนกลายเป็นแอ่งธรรมมะของจังหวัดสกลนคร ถือเป็นแหล่งองค์ความรู้ ประวัติศาสตร์ อารยะธรรมเก่าแก่รวมถึงความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติของจังหวัดเอาไว้ได้อย่างดี ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่มีจุดเด่นของจังหวัด นอกจากนี้ ยังได้เดินทางไปศึกษาดูงานอนุรักษ์ภูมิปัญญาของชาวบ้านอ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร ที่กลัวตำราใบลานของชุมชนสูญหาย จึงได้รวมตัวกันอนุรักษ์ตำราใบลานอันเป็นแหล่งรวมความรู้ รวมทั้งยังจดบันทึกเป็นภาษาโบราณ ในขณะนี้ชาวบ้านเตรียมหาผู้เชี่ยวชาญมาแปลเพื่อพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบของหนังสือ หรือเก็บไว้ในเว็บไซต์ โดยประสานกับนักวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏประจำท้องถิ่นช่วยดำเนินงาน อย่างไรตาม นับเป็นชุมชนตัวอย่างที่ช่วยกันอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป