สพฐ.เล็งทบทวนทิศทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต โฟกัสที่การปรับหลักสูตร และโครงสร้างเวลาเรียน ชงเข้าถกในบอร์ด กพฐ.วันที่ 15 ส.ค.นี้
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยว่า จะมีการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในวันที่ 15 ส.ค.นี้ และ สพฐ.เตรียมเสนอให้บอร์ดหารือเกี่ยวกับทิศทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต ทั้งนี้ เพราะ สพฐ.เล็งเห็นว่า การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน นั้น จะเป็นต้องปรับตัวเพื่อตอบโจทย์ต่างๆ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และเพื่อสร้างบุคลากรที่ลักษณะอันพึงประสงค์ โดยเฉพาะการสร้างคนเก่งให้คิดวิเคราะห์เป็น มีคุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบวินัย ซึ่งยังเป็นจุดอ่อนของระบบการจัดการศึกษาในปัจจุบันอยู่
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการปรับเปลี่ยนแนวทางการจัดการศึกษานั้น จะต้องมีการปรับองค์ประกอบต่างๆ ตามมา โดยเฉพาะการปรับหลักสูตร ซึ่ง สพฐ.จะได้รวบรวมโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในปัจจุบัน แล้วนำเสนอในบอร์ด กพฐ.เพื่อให้ได้คำตอบที่สำคัญๆ เกี่ยวกับหลักสูตร อาทิเช่น หลักสูตรปัจจุบันมีเนื้อหาสาระให้เด็กเรียนมากเกินไปหรือไม่ จำนวนชั่วโมงเรียนในแต่ละวันมากเกินไปหรือไม่ โดยจะมีการเปรียบเทียบข้อมูลกับประเทศอื่นๆ ในประเด็นต่างๆ ด้วย เช่น จำนวนชั่วโมงเรียนในห้องเรียนกับเวลาทำกิจกรรมเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ หรือระดับความเข้มข้นของการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
“ทั้งหมดนี้ จะนำมาถกใน กพฐ.เพื่อขอให้ กพฐ.กำหนดทิศทางมา สพฐ.จะได้นำข้อเสนอแนะของ กพฐ.มาเป็นพื้นฐานในการปรับหลักสูตร โดยเป้าหมาย คือ หลักสูตรที่ปรับใหม่จะต้องสอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ นอกจากนั้น จะมีการหารือเกี่ยวกับเรื่องการบริหารจัดการด้วย ที่ผ่านมา เป็นช่วงของการกระจายอำนาจให้เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา มีความพยายามทำให้โรงเรียนเป็นนิติบุคคล ก็ต้องมาทบทวนว่า การกระจายอำนาจดังกล่าวมีจุดอ่อนหรือไม่ และในส่วนของ สพฐ.เอง ก็ต้องการเสนอรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนที่เป็นอิสระในรูปแบบใหม่ๆ นอกจากให้ ร.ร.เป็นนิติบุคคล เช่น โรงเรียนในกำกับ” นายชินภัทร กล่าว
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยว่า จะมีการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในวันที่ 15 ส.ค.นี้ และ สพฐ.เตรียมเสนอให้บอร์ดหารือเกี่ยวกับทิศทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต ทั้งนี้ เพราะ สพฐ.เล็งเห็นว่า การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน นั้น จะเป็นต้องปรับตัวเพื่อตอบโจทย์ต่างๆ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และเพื่อสร้างบุคลากรที่ลักษณะอันพึงประสงค์ โดยเฉพาะการสร้างคนเก่งให้คิดวิเคราะห์เป็น มีคุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบวินัย ซึ่งยังเป็นจุดอ่อนของระบบการจัดการศึกษาในปัจจุบันอยู่
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการปรับเปลี่ยนแนวทางการจัดการศึกษานั้น จะต้องมีการปรับองค์ประกอบต่างๆ ตามมา โดยเฉพาะการปรับหลักสูตร ซึ่ง สพฐ.จะได้รวบรวมโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในปัจจุบัน แล้วนำเสนอในบอร์ด กพฐ.เพื่อให้ได้คำตอบที่สำคัญๆ เกี่ยวกับหลักสูตร อาทิเช่น หลักสูตรปัจจุบันมีเนื้อหาสาระให้เด็กเรียนมากเกินไปหรือไม่ จำนวนชั่วโมงเรียนในแต่ละวันมากเกินไปหรือไม่ โดยจะมีการเปรียบเทียบข้อมูลกับประเทศอื่นๆ ในประเด็นต่างๆ ด้วย เช่น จำนวนชั่วโมงเรียนในห้องเรียนกับเวลาทำกิจกรรมเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ หรือระดับความเข้มข้นของการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
“ทั้งหมดนี้ จะนำมาถกใน กพฐ.เพื่อขอให้ กพฐ.กำหนดทิศทางมา สพฐ.จะได้นำข้อเสนอแนะของ กพฐ.มาเป็นพื้นฐานในการปรับหลักสูตร โดยเป้าหมาย คือ หลักสูตรที่ปรับใหม่จะต้องสอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ นอกจากนั้น จะมีการหารือเกี่ยวกับเรื่องการบริหารจัดการด้วย ที่ผ่านมา เป็นช่วงของการกระจายอำนาจให้เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา มีความพยายามทำให้โรงเรียนเป็นนิติบุคคล ก็ต้องมาทบทวนว่า การกระจายอำนาจดังกล่าวมีจุดอ่อนหรือไม่ และในส่วนของ สพฐ.เอง ก็ต้องการเสนอรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนที่เป็นอิสระในรูปแบบใหม่ๆ นอกจากให้ ร.ร.เป็นนิติบุคคล เช่น โรงเรียนในกำกับ” นายชินภัทร กล่าว