แฉบริษัทเหล้าอัดโฆษณาไม่เว้นเข้าพรรษา ผลวิจัย ชี้ นักดื่มเปลี่ยนพฤติกรรมเห็นด้วยยอมงดเหล้า แนะใช้นโยบายกำหนดราคา ลดปริมาณการดื่ม
นพ.ทักษพล ธรรมรังสี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ซึ่งจะมีการรณรงค์ให้ประชาชนงดเหล้านั้น พบว่า จะมีนักดื่มประมาณร้อยละ 50 ขึ้นไป ที่ใช้เวลาดังกล่าวปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แบ่งเป็นกลุ่มที่งดดื่มเลยประมาณ ร้อยละ 30 กลุ่มที่งดดื่มแต่ไม่ได้ตลอดทั้งเทศกาล ร้อยละ 15 และกลุ่มที่ลดปริมาณการดื่มลง ร้อยละ 12 ส่วนกลุ่มที่ยังดื่มเหมือนเดิมจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 40 ซึ่งอัตราการลดการดื่มจะใกล้เคียงกันเกือบทุกปี ทั้งนี้ จากการวิจัยเพื่อประเมินผลงดเหล้าเข้าพรรษาปี 2554 โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในกลุ่มประชาชนอายุ 15 ปี ขึ้นไป ใน 24 จังหวัด 6,770 ตัวอย่าง โดยทำการสำรวจระหว่าง เดือนตุลาคม 2554- มกราคม 2555 โดยสำรวจพฤติกรรมการดื่มในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ปัจจัยที่ช่วยให้งดดื่มช่วงเข้าพรรษา 3 อันดับแรก ตัวเอง ร้อยละ 29.0 ครอบครัว พ่อแม่ ลูก ภรรยา ร้อยละ 28.5 เพื่อสุขภาพ ร้อยละ 14.6
“ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา พบว่า ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำการตลาดอย่างหนักตลอดทั้งปี จากเดิมที่ในช่วงฤดูฝน หรือช่วงเข้าพรรษา จะเป็นช่วงที่บริษัทเหล่านี้ลดการทำการตลาดลง แต่ในปีที่ผ่านมาและปีนี้ พบว่า ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา บริษัทธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็ยังทำการตลาดอย่างเข้มข้น ประกอบกับในปีนี้มีเทศกาลกีฬาใหญ่ๆ ทั้งฟุตบอลยูโร และ โอลิมปิก ประกอบการยังมีการใช้ช่องว่างทางกฎหมายจากที่ห้ามโฆษณาแบบเห็นตัวสินค้ามาเป็นตราสัญลักษณ์ แต่เมื่อสำรวจก็พบว่าเด็กและเยาวชนทราบว่าเป็นการโฆษณาสินค้าอะไรทั้งสิ้น” นพ.ทักษพล กล่าว
นพ.ทักษพล กล่าวว่า สำหรับการสำรวจพฤติกรรมการดื่มช่วงเข้าพรรษา ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 90 เห็นด้วย-เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อโครงการงดเหล้าเข้าพรรษา และกว่าร้อยละ 80 ยังเห็นด้วย-เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าโครงการนี้ในระยะเวลา 3 เดือน สามารถทำให้ประเทศไทยลดปริมาณการดื่มและจำนวนคนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลงได้ ทั้งนี้ สำหรับการรณรงค์เพื่อลดปริมาณการดื่มเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ จำเป็นต้องมีนโยบายอื่นร่วมด้วย เช่น นโยบายเรื่องราคา ซึ่งการที่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีราคาถูกเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ปริมาณการดื่มยังไม่ลดลงและยังทำให้ปริมาณเยาวชน ที่ดื่มเพิ่มขึ้น และเปลี่ยนพฤติกรรมจากที่ดื่มเป็นครั้งคราวเป็นดื่มเป็นประจำ ซึ่งจำเป็นต้องแก้ไขด้วยการปรับเปลี่ยนโยบายและแก้ปัญหาช่องว่างทางกฎหมายที่ยังมีอยู่
นพ.ทักษพล ธรรมรังสี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ซึ่งจะมีการรณรงค์ให้ประชาชนงดเหล้านั้น พบว่า จะมีนักดื่มประมาณร้อยละ 50 ขึ้นไป ที่ใช้เวลาดังกล่าวปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แบ่งเป็นกลุ่มที่งดดื่มเลยประมาณ ร้อยละ 30 กลุ่มที่งดดื่มแต่ไม่ได้ตลอดทั้งเทศกาล ร้อยละ 15 และกลุ่มที่ลดปริมาณการดื่มลง ร้อยละ 12 ส่วนกลุ่มที่ยังดื่มเหมือนเดิมจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 40 ซึ่งอัตราการลดการดื่มจะใกล้เคียงกันเกือบทุกปี ทั้งนี้ จากการวิจัยเพื่อประเมินผลงดเหล้าเข้าพรรษาปี 2554 โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในกลุ่มประชาชนอายุ 15 ปี ขึ้นไป ใน 24 จังหวัด 6,770 ตัวอย่าง โดยทำการสำรวจระหว่าง เดือนตุลาคม 2554- มกราคม 2555 โดยสำรวจพฤติกรรมการดื่มในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ปัจจัยที่ช่วยให้งดดื่มช่วงเข้าพรรษา 3 อันดับแรก ตัวเอง ร้อยละ 29.0 ครอบครัว พ่อแม่ ลูก ภรรยา ร้อยละ 28.5 เพื่อสุขภาพ ร้อยละ 14.6
“ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา พบว่า ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำการตลาดอย่างหนักตลอดทั้งปี จากเดิมที่ในช่วงฤดูฝน หรือช่วงเข้าพรรษา จะเป็นช่วงที่บริษัทเหล่านี้ลดการทำการตลาดลง แต่ในปีที่ผ่านมาและปีนี้ พบว่า ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา บริษัทธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็ยังทำการตลาดอย่างเข้มข้น ประกอบกับในปีนี้มีเทศกาลกีฬาใหญ่ๆ ทั้งฟุตบอลยูโร และ โอลิมปิก ประกอบการยังมีการใช้ช่องว่างทางกฎหมายจากที่ห้ามโฆษณาแบบเห็นตัวสินค้ามาเป็นตราสัญลักษณ์ แต่เมื่อสำรวจก็พบว่าเด็กและเยาวชนทราบว่าเป็นการโฆษณาสินค้าอะไรทั้งสิ้น” นพ.ทักษพล กล่าว
นพ.ทักษพล กล่าวว่า สำหรับการสำรวจพฤติกรรมการดื่มช่วงเข้าพรรษา ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 90 เห็นด้วย-เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อโครงการงดเหล้าเข้าพรรษา และกว่าร้อยละ 80 ยังเห็นด้วย-เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าโครงการนี้ในระยะเวลา 3 เดือน สามารถทำให้ประเทศไทยลดปริมาณการดื่มและจำนวนคนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลงได้ ทั้งนี้ สำหรับการรณรงค์เพื่อลดปริมาณการดื่มเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ จำเป็นต้องมีนโยบายอื่นร่วมด้วย เช่น นโยบายเรื่องราคา ซึ่งการที่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีราคาถูกเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ปริมาณการดื่มยังไม่ลดลงและยังทำให้ปริมาณเยาวชน ที่ดื่มเพิ่มขึ้น และเปลี่ยนพฤติกรรมจากที่ดื่มเป็นครั้งคราวเป็นดื่มเป็นประจำ ซึ่งจำเป็นต้องแก้ไขด้วยการปรับเปลี่ยนโยบายและแก้ปัญหาช่องว่างทางกฎหมายที่ยังมีอยู่