ผลวิจัย “ผู้หญิง” พบรับบทบาทแบกภาระดูแลคุณภาพชีวิตคนในครอบครัว แต่ละเลยสุขภาพตัวเอง กว่าครึ่งไม่เคยตรวจมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก หมอจิต ชี้ ผู้หญิงชอบโทษตัวเอง ส่งผลเครียด กระทบครอบครัว
วันนี้ (8 ส.ค.) ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในงานเสวนา “ผู้หญิง..หัวใจสุขภาพของสังคม” รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผอ.สำนักรณรงค์และสื่อสารสาธารณะเพื่อสังคม (สสส.) กล่าวว่า จากผลการวิจัย เรื่อง “ผู้หญิง..หัวใจสุขภาพของสังคม” โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในเพศหญิงที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ใน กทม.และปริมณฑล 1,029 คน ระหว่างวันที่ 31 ก.ค.-1 ส.ค.2555 เพื่อสะท้อนบทบาทของสตรี และแม่ ในการจัดการสุขภาพของตนเองและครอบครัว โดยกลุ่มตัวอย่าง สมรสและมีบุตร ร้อยละ 53 โสด ร้อยละ 25.9 พบว่า ผู้หญิงต้องดูแลลูกเป็นหลัก ร้อยละ 42.1 และดูแลคนชรา ร้อยละ 16 ในเรื่องการทำงานนอกบ้าน พบว่า ผู้หญิงต้องทำงาน ร้อยละ 75 แบ่งเป็นนอกบ้านเต็มเวลา ร้อยละ 50.9 และทำงานนอกบ้านบางช่วงเวลา ร้อยละ 14.9
รศ.ดร.วิลาสินี กล่าวอีกว่า บทบาทและภาระในการดูแลสุขภาพของคนในครอบครัว ฝากไว้กับผู้หญิง แต่สังคมมักมองเรื่องนี้ด้วยความเคยชิน ว่า เป็นหน้าที่ที่ติดตัวมากับความเป็นหญิง จึงมักไม่ได้ใส่ใจที่จะหาทางช่วยเหลือและส่งเสริมให้ผู้หญิงมีศักยภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น เมื่อมาดูเรื่องความสนใจในการดูแลสุขภาพตัวเอง กลับพบว่า ผู้หญิงร้อยละ 49.6 ไม่เคยตรวจมะเร็งเต้านม ร้อยละ 42.6 ไม่เคยตรวจมะเร็งปากมดลูกเลย ร้อยละ 67.5 ไม่เคยตรวจสุขภาพเลย ร้อยละ 26.1 ไม่เคยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเลย ร้อยละ 54.8 ในเรื่องการคุมกำเนิด ร้อยละ 54.8 ไม่เคยใส่ใจและไม่เคยขอให้คู่ครองคุมกำเนิดด้วยการใช้ถุงยางอนามัย และร้อยละ 71.4 ไม่เคยปั๊มนมให้ลูกจากที่ทำงานเลย
พญ.พรรณพิมล วิปุลากร ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูลและจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น กล่าวว่า ลักษณะจิตใจของผู้หญิงเมื่อเกิดความกดดันจากงานหรือครอบครัว ก็จะเกิดความรู้สึกโทษตัวเอง ทำให้เกิดความเครียด รู้สึกผิด และไม่สามารถแก้ปัญหาตรงหน้าได้ ซึ่งจะกระทบต่อคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นลูก หรือ สามี ซึ่งปกติผู้ชายเมื่อได้รับความเครียดจากผู้หญิงจะแก้ปัญหาด้วยการถอยห่าง จะยิ่งสร้างความกดดัน และทำให้เกิดปัญหาครอบครัวตามมา ซึ่งต้องแก้ปัญหาด้วยการสร้างสมดุลทั้งเรื่องงานและครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว ในต่างประเทศจะมีนโยบายพิเศษสำหรับบริษัทที่มีพนักงานเป็นครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว เช่น มาตรการจูงใจทางภาษี เพื่อลดแรงกดดันและทำให้ครอบครัวสามารถดูแลตัวเองได้
ด้านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต โครงการปลุกสังคมด้วยหัวใจแม่ หัวใจโพธิสัตว์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า ทุกชีวิตมีค่าอยู่ที่การกระทำ ไม่ว่าจะเกิดเป็นหญิงหรือชาย โดยเฉพาะเพศหญิงควรใช้โอกาสที่ปลุกหัวใจเพศหญิงขึ้นมา ให้เป็นมนุษย์ที่แท้จริง อย่าเป็นเหยื่อทางอารมณ์ แต่ให้เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่มีจิตใจสูง ความเป็นแม่ต้องเริ่มต้นจาก “หัวใจเป็นแม่” และ “หัวใจเป็นโพธิสัตว์” พร้อมที่จะเกื้อกูลสรรพสิ่งทุกชีวิต ที่รายล้อมตัวเรา ซึ่งจะทำให้โลกใบนี้เป็นสุขและน่า อย่างไรก็ตาม การพัฒนาจิตวิญญาณของผู้หญิง ก็คือ การทำให้ดีขึ้น ทำให้เจริญขึ้น ซึ่งหมายความว่า ควรจะต้องมีการพัฒนาจิตใจตนเองให้อยู่ในวิถีชีวิต ให้เป็นกิจวัตร ซึ่งต้องเริ่มฝึกฝนขึ้นจากครอบครัว และควรทำให้บ้านเป็นห้องเรียนห้องแรกของการฝึกให้เด็กเจริญเติบโต สามารถอยู่บนโลกได้อย่างอาจหาญ
วันนี้ (8 ส.ค.) ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในงานเสวนา “ผู้หญิง..หัวใจสุขภาพของสังคม” รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผอ.สำนักรณรงค์และสื่อสารสาธารณะเพื่อสังคม (สสส.) กล่าวว่า จากผลการวิจัย เรื่อง “ผู้หญิง..หัวใจสุขภาพของสังคม” โดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในเพศหญิงที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ใน กทม.และปริมณฑล 1,029 คน ระหว่างวันที่ 31 ก.ค.-1 ส.ค.2555 เพื่อสะท้อนบทบาทของสตรี และแม่ ในการจัดการสุขภาพของตนเองและครอบครัว โดยกลุ่มตัวอย่าง สมรสและมีบุตร ร้อยละ 53 โสด ร้อยละ 25.9 พบว่า ผู้หญิงต้องดูแลลูกเป็นหลัก ร้อยละ 42.1 และดูแลคนชรา ร้อยละ 16 ในเรื่องการทำงานนอกบ้าน พบว่า ผู้หญิงต้องทำงาน ร้อยละ 75 แบ่งเป็นนอกบ้านเต็มเวลา ร้อยละ 50.9 และทำงานนอกบ้านบางช่วงเวลา ร้อยละ 14.9
รศ.ดร.วิลาสินี กล่าวอีกว่า บทบาทและภาระในการดูแลสุขภาพของคนในครอบครัว ฝากไว้กับผู้หญิง แต่สังคมมักมองเรื่องนี้ด้วยความเคยชิน ว่า เป็นหน้าที่ที่ติดตัวมากับความเป็นหญิง จึงมักไม่ได้ใส่ใจที่จะหาทางช่วยเหลือและส่งเสริมให้ผู้หญิงมีศักยภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น เมื่อมาดูเรื่องความสนใจในการดูแลสุขภาพตัวเอง กลับพบว่า ผู้หญิงร้อยละ 49.6 ไม่เคยตรวจมะเร็งเต้านม ร้อยละ 42.6 ไม่เคยตรวจมะเร็งปากมดลูกเลย ร้อยละ 67.5 ไม่เคยตรวจสุขภาพเลย ร้อยละ 26.1 ไม่เคยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเลย ร้อยละ 54.8 ในเรื่องการคุมกำเนิด ร้อยละ 54.8 ไม่เคยใส่ใจและไม่เคยขอให้คู่ครองคุมกำเนิดด้วยการใช้ถุงยางอนามัย และร้อยละ 71.4 ไม่เคยปั๊มนมให้ลูกจากที่ทำงานเลย
พญ.พรรณพิมล วิปุลากร ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูลและจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น กล่าวว่า ลักษณะจิตใจของผู้หญิงเมื่อเกิดความกดดันจากงานหรือครอบครัว ก็จะเกิดความรู้สึกโทษตัวเอง ทำให้เกิดความเครียด รู้สึกผิด และไม่สามารถแก้ปัญหาตรงหน้าได้ ซึ่งจะกระทบต่อคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นลูก หรือ สามี ซึ่งปกติผู้ชายเมื่อได้รับความเครียดจากผู้หญิงจะแก้ปัญหาด้วยการถอยห่าง จะยิ่งสร้างความกดดัน และทำให้เกิดปัญหาครอบครัวตามมา ซึ่งต้องแก้ปัญหาด้วยการสร้างสมดุลทั้งเรื่องงานและครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว ในต่างประเทศจะมีนโยบายพิเศษสำหรับบริษัทที่มีพนักงานเป็นครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว เช่น มาตรการจูงใจทางภาษี เพื่อลดแรงกดดันและทำให้ครอบครัวสามารถดูแลตัวเองได้
ด้านแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต โครงการปลุกสังคมด้วยหัวใจแม่ หัวใจโพธิสัตว์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า ทุกชีวิตมีค่าอยู่ที่การกระทำ ไม่ว่าจะเกิดเป็นหญิงหรือชาย โดยเฉพาะเพศหญิงควรใช้โอกาสที่ปลุกหัวใจเพศหญิงขึ้นมา ให้เป็นมนุษย์ที่แท้จริง อย่าเป็นเหยื่อทางอารมณ์ แต่ให้เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่มีจิตใจสูง ความเป็นแม่ต้องเริ่มต้นจาก “หัวใจเป็นแม่” และ “หัวใจเป็นโพธิสัตว์” พร้อมที่จะเกื้อกูลสรรพสิ่งทุกชีวิต ที่รายล้อมตัวเรา ซึ่งจะทำให้โลกใบนี้เป็นสุขและน่า อย่างไรก็ตาม การพัฒนาจิตวิญญาณของผู้หญิง ก็คือ การทำให้ดีขึ้น ทำให้เจริญขึ้น ซึ่งหมายความว่า ควรจะต้องมีการพัฒนาจิตใจตนเองให้อยู่ในวิถีชีวิต ให้เป็นกิจวัตร ซึ่งต้องเริ่มฝึกฝนขึ้นจากครอบครัว และควรทำให้บ้านเป็นห้องเรียนห้องแรกของการฝึกให้เด็กเจริญเติบโต สามารถอยู่บนโลกได้อย่างอาจหาญ