โดย..เกศกาญจน์ บุญเพ็ญ
“โรงเรียนขนาดเล็ก” หรือ โรงเรียนที่มีนักเรียนต่ำกว่า 120 คน ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในต่างจังหวัด บนพื้นที่ที่ห่างไกล ภูมิประเทศมีลักษณะเป็นภูเขา เกาะแก่ง ซึ่งต้องยอมรับว่า ในเวลานี้มีจำนวนไม่น้อยและหลายแห่งจำเป็นต้องดำรงไว้เพื่อให้บริการทางการศึกษาแก่เด็กในพื้นที่ ที่สำคัญโรงเรียนขนาดเล็กทั้งหลายเปรียบเสมือนลมหายใจของคนในชุมชน ดังนั้น เมื่อมีนโยบายที่จะพิจารณายุบรวมโรงเรียนขึ้นมาคราใด ก็จะเกิดกระแสต่อต้านจากชุมชนขึ้นเสียทุกที
ข้อมูลล่าสุดปีการศึกษา 2554 พบว่า ขณะนี้จำนวนโรงเรียนขนาดเล็ก ยอดพุ่งสูงขึ้นถึง 14,638 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 46.83 จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทั้งหมด ปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็กที่ผ่านมานั้น เกิดจากติดขัดปัญหาเรื่องการบริหารจัดการ การมีครูผู้สอนไม่ครบชั้นเรียน สื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ผลการจัดการศึกษาไม่ได้คุณภาพและที่สำคัญ คือ ภาระทางด้านงบประมาณ เหตุนี้ทำให้หลายพื้นที่ที่มีโรงเรียนขนาดเล็กจำนวนมากพยายามคิดค้นนวัตกรรมเพื่อจะหาทางรอดให้แก่โรงเรียนขนาดเล็ก
เมื่อเร็วๆ นี้ นายพิษณุ ตุลสุข รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) ได้นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ร่วมติดตามความคืบหน้าของโรงเรียนนำร่องการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ภายใต้รูปแบบ “เครือข่ายแก่งจันทร์โมเดล” (Kangjan model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) เลย เขต 1 ที่ใช้วิธีการนำโรงเรียนขนาดเล็ก 4 โรงในตำบลบ้านหาดคัมภีร์ จ.เลย มารวมเป็นเครือข่ายร่วมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานแบบรวมชั้นเรียนทุกชั้น ตั้งแต่ระดับอนุบาลปีที่ 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดสรรโรงเรียนละ 2 ชั้นเรียน ดังนี้ โรงเรียนบ้านนาโม้เป็นศูนย์การสอนนักเรียนในระดับอนุบาล 1 และประถมศึกษาปีที่ 1 ขณะที่อีก 3 โรง ได้แก่ โรงเรียนบ้านปากมั่งห้วยทับช้าง สอนชั้นอนุบาล 2 และป.2 โรงเรียนบ้านคกเว้า สอนชั้น ป.3-4 และโรงเรียนบ้านหาดคัมภีร์ สอนชั้น ป.5-6 รวมทั้ง 4 โรงเรียนมีนักเรียนทั้งหมด 250 คน ครู 16 คน เริ่มดำเนินการในรูปแบบดังกล่าวนี้มาตั้งแต่ปี 2553 จนขณะนี้ก้าวสู่ปีที่ 3
โดย นายสุเทพ บุญเติม ผอ.สพป.เลยเขต 1 กล่าวว่า เครือข่ายแก่งจันทร์นั้นเป็นความร่วมมือกันเพื่อจะยกระดับคุณภาพการศึกษาของนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก โดย สพป.เลย เขต 1 ได้ร่วมกับผู้บริหารโรงเรียนทั้ง 4 โรง พร้อมด้วยชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับสภาพ ปัญหา และแนวทางการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้น จนได้ข้อสรุปว่าการพัฒนาการจัดการศึกษาในอนาคต โรงเรียนขนาดเล็กควรร่วมมือจัดการปัญหาด้านศึกษา ซึ่งทั้ง 4 โรงเรียนร่วมกันจัดการเรียนการสอน พร้อมทั้งจัดครูเข้าสอนโดยให้ความสำคัญกับความถนัดของครูเป็นหลัก ซึ่งในการเดินทางของนักเรียนและครูไปเรียนตามศูนย์นั้นทาง สพป.เลย เขต 1 จัดรถตู้ 1 คัน สำหรับรับ-ส่ง โดยทั้ง 4 โรงเรียน มีค่าใช้จ่ายร่วมกัน 2 ภาคเรียนๆ ละ 64,000 บาท ซึ่งองค์กรบริหารส่วนตำบล (อบต.)ช่วยสนับสนุนงบประมาณไว้ให้ รวมทั้งยังได้จัดสรรงบประมาณส่วนอื่นๆ ด้วย และได้รับการช่วยเหลือจากชุมชนซึ่งพอใจกับรูปแบบการจัดการศึกษาแบบนี้
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กค่อนข้างต่ำ แต่เมื่อจัดการเรียนการสอนรูปแบบเครือข่ายแก่งจันทร์ช่วยทำให้คุณภาพการศึกษาของเด็กดีขึ้น ดูจากผลการทะสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ป.6 ในปีการศึกษา 2554 สูงกว่าปีการศึกษา2553 ทุกรายวิชา เช่น ภาษาไทย ปี 2554 อยู่ที่ 49.15 ปี 2553 อยู่ที่ 29.76 ,คณิตศาสตร์ ปี 2554 อยู่ที่ 53.29 ปี 2553 อยู่ที่ 26.51 เป็นต้น เพราะฉะนั้น เป้าหมายต่อไปจากนี้ คือ จะมุ่งพัฒนายกระดับคุณภาพของผู้เรียนในด้านวิชาการให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
สอดคล้องกับ นางยุคุณธร วิปัตทุม ครูชั้น ป.1 โรงเรียนบ้านหาดคัมภีร์ ซึ่งต้องเดินทางเพื่อมาร่วมสอนหนังสือที่โรงเรียนบ้านนาโม้ กล่าวว่า หลังจากร่วมเป็นศูนย์การเรียนรู้แล้ว 2 ปี รู้สึกว่าการบริหารจัดการดีขึ้น ครูได้สอนนักเรียนได้เต็มที่ขึ้นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก็ดีขึ้นโดยเฉพาะในปีการศึกษา 2554 นั้นค่อนข้างเห็นผลความเปลี่ยนแปลงชัดเจน ซึ่งก่อนหน้านี้ ครู 1 คน ต้องสอนนักเรียน 2 ชั้นเรียน เด็กก็เรียนรู้ได้ไม่เต็มที่ ครูก็สอนไม่เต็มที่ แต่มาร่วมกลุ่มแล้ว ทำให้ชั้นเรียนมีเด็กมากขึ้น ที่ชั้นเรียนจะมีครู 2 คน โดยเมื่อคนหนึ่งสอนอีกคนจะคอยสังเกตนักเรียน ว่า คนไหนตามที่ครูสอนไม่ทัน ติดขัดก็จะเข้าไปประกบเพื่อช่วยเหลือเด็กแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด เพราะเด็กแต่ละคนที่มาเรียนนั้นพื้นฐานการเรียนรู้แตกต่างกัน ขณะเดียวกันตัวเด็กเองนั้นก็ได้มีโอกาสรู้จักเพื่อนๆ ต่างหมู่บ้านเป็นการสร้างความสัมพันธ์เพราะฉะนั้น การเรียนในรูปแบบเครือข่ายแก่งจันทร์นั้นก็ถือว่าประสบความสำเร็จ
ขณะที่ นายศรีทัด นันทะคู ประธาน อบต.หาดคัมภีร์ กล่าวว่า ความเห็นของผู้ปกครอง ชุมชนนั้นไม่ต้องการให้มีการยุบโรงเรียน เพราะทุกคนต้องการให้มีบ้าน วัด และโรงเรียนอยู่ในพื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่โรงเรียนเกิดมาพร้อมชุมชน ชื่อโรงเรียนก็มีชื่อชุมชนมันเป็นความรู้สึกรักและผูกพัน อย่างตนนั้นก็เรียนที่โรงเรียนเหล่านี้มาแต่เด็ก ๆ เช่นกัน ที่สำคัญการไม่ยุบรวมโรงเรียน แต่มารวมเป็นเครือข่ายแก่งจันทร์โมเดลนั้น เห็นได้ชัดว่าจากเด็กที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ในอดีต ปัจจุบันเด็กระดับ ป.1 ก็เริ่มอ่านได้ อีกทั้งยังทำให้เกิดความรักความสามัคคี ความรักใคร่กลมเกลียว เพราะเด็กทั้ง 4 ชุมชนรู้จักกันก็ไม่มีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกันเช่นในอดีตที่ต่างคนต่างอยู่
ด้าน นายพิษณุ ระบุว่า เหตุผลที่โรงเรียนขนาดเล็กแต่ละแห่ง ไม่ยอมยุบรวมกัน เนื่องจากชุนชนไม่ยอมให้ยุบ และต้องการให้โรงเรียนเป็นสัญลักษณ์ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของหมู่บ้าน ของชุมชน ซึ่งคนในชุมชนมักจะบอกว่า ให้หมู่บ้านต้องมีบ้าน วัด และโรงเรียนอยู่ด้วยกัน ดังนั้นจะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ เมื่อมีการจัดการเรียนการสอนแบบแก่งจันทร์โมเดล ชาวบ้านก็ยอมรับได้โรงเรียนไม่เสียหาย อีกทั้งยังมีความร่วมมือกับ อบต.ด้วย แต่ถ้ายุบและปล่อยให้โรงเรียนเป็นโรงเรียนร้างชุมชนจะรู้สึกรับไม่ได้
“โมเดลที่จะพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กนั้นไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว เพราะในแต่ละพื้นที่ก็มีบริบทความจำเป็นแตกต่างกันไป ขณะที่รูปแบบแก่งจันทร์โมเดล นั้น ก็น่าสนใจ ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ยังได้มอบให้ สพฐ.ไปสำรวจโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศที่พร้อมจะต่อยอดโรงเรียนเครือข่ายแก่งจันทร์โมเดลนี้ ซึ่งก็พบว่ามีถึง 6,000 โรงรวมเป็นศูนย์ได้ถึง 2,000 ศูนย์ โดย รมว.ศึกษาธิการ ได้กล่าวว่าจะจัดสรรรถตู้ให้แห่งละ 1 คัน เมื่อคำนวณรวมค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำมัน ฯลฯ จะใช้งบประมาณ 3,200 ล้านบาท ขณะเดียวกัน สพฐ.ก็เตรียมจะหาวิธีที่จะกำหนดอนาคตของโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งจะได้มีการทำการศึกษาวิจัยโดยจะนำข้อมูลที่มีมาศึกษาในหลากหลายแนวทางให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ เพื่อให้การจัดการศึกษาและบริหารจัดการของโรงเรียนขนาดเล็กไม่ต้องปรากฏคำถามตามมาอีกต่อไป” นายพิษณุ กล่าว
ณ เวลานี้ “แก่งจันทร์โมเดล” น่าจะเป็นคำตอบหนึ่งของระบบการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก และเป็นคำตอบที่สะท้อนให้เห็นหลักคำว่า “บวร” บ้าน วัด และโรงเรียน ที่ชุมชนต้องการให้ยืนหยัดเคียงคู่กันตลอดไป
“โรงเรียนขนาดเล็ก” หรือ โรงเรียนที่มีนักเรียนต่ำกว่า 120 คน ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในต่างจังหวัด บนพื้นที่ที่ห่างไกล ภูมิประเทศมีลักษณะเป็นภูเขา เกาะแก่ง ซึ่งต้องยอมรับว่า ในเวลานี้มีจำนวนไม่น้อยและหลายแห่งจำเป็นต้องดำรงไว้เพื่อให้บริการทางการศึกษาแก่เด็กในพื้นที่ ที่สำคัญโรงเรียนขนาดเล็กทั้งหลายเปรียบเสมือนลมหายใจของคนในชุมชน ดังนั้น เมื่อมีนโยบายที่จะพิจารณายุบรวมโรงเรียนขึ้นมาคราใด ก็จะเกิดกระแสต่อต้านจากชุมชนขึ้นเสียทุกที
ข้อมูลล่าสุดปีการศึกษา 2554 พบว่า ขณะนี้จำนวนโรงเรียนขนาดเล็ก ยอดพุ่งสูงขึ้นถึง 14,638 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 46.83 จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทั้งหมด ปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็กที่ผ่านมานั้น เกิดจากติดขัดปัญหาเรื่องการบริหารจัดการ การมีครูผู้สอนไม่ครบชั้นเรียน สื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ผลการจัดการศึกษาไม่ได้คุณภาพและที่สำคัญ คือ ภาระทางด้านงบประมาณ เหตุนี้ทำให้หลายพื้นที่ที่มีโรงเรียนขนาดเล็กจำนวนมากพยายามคิดค้นนวัตกรรมเพื่อจะหาทางรอดให้แก่โรงเรียนขนาดเล็ก
เมื่อเร็วๆ นี้ นายพิษณุ ตุลสุข รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) ได้นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ร่วมติดตามความคืบหน้าของโรงเรียนนำร่องการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ภายใต้รูปแบบ “เครือข่ายแก่งจันทร์โมเดล” (Kangjan model) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) เลย เขต 1 ที่ใช้วิธีการนำโรงเรียนขนาดเล็ก 4 โรงในตำบลบ้านหาดคัมภีร์ จ.เลย มารวมเป็นเครือข่ายร่วมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานแบบรวมชั้นเรียนทุกชั้น ตั้งแต่ระดับอนุบาลปีที่ 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 โดยจัดสรรโรงเรียนละ 2 ชั้นเรียน ดังนี้ โรงเรียนบ้านนาโม้เป็นศูนย์การสอนนักเรียนในระดับอนุบาล 1 และประถมศึกษาปีที่ 1 ขณะที่อีก 3 โรง ได้แก่ โรงเรียนบ้านปากมั่งห้วยทับช้าง สอนชั้นอนุบาล 2 และป.2 โรงเรียนบ้านคกเว้า สอนชั้น ป.3-4 และโรงเรียนบ้านหาดคัมภีร์ สอนชั้น ป.5-6 รวมทั้ง 4 โรงเรียนมีนักเรียนทั้งหมด 250 คน ครู 16 คน เริ่มดำเนินการในรูปแบบดังกล่าวนี้มาตั้งแต่ปี 2553 จนขณะนี้ก้าวสู่ปีที่ 3
โดย นายสุเทพ บุญเติม ผอ.สพป.เลยเขต 1 กล่าวว่า เครือข่ายแก่งจันทร์นั้นเป็นความร่วมมือกันเพื่อจะยกระดับคุณภาพการศึกษาของนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก โดย สพป.เลย เขต 1 ได้ร่วมกับผู้บริหารโรงเรียนทั้ง 4 โรง พร้อมด้วยชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับสภาพ ปัญหา และแนวทางการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้น จนได้ข้อสรุปว่าการพัฒนาการจัดการศึกษาในอนาคต โรงเรียนขนาดเล็กควรร่วมมือจัดการปัญหาด้านศึกษา ซึ่งทั้ง 4 โรงเรียนร่วมกันจัดการเรียนการสอน พร้อมทั้งจัดครูเข้าสอนโดยให้ความสำคัญกับความถนัดของครูเป็นหลัก ซึ่งในการเดินทางของนักเรียนและครูไปเรียนตามศูนย์นั้นทาง สพป.เลย เขต 1 จัดรถตู้ 1 คัน สำหรับรับ-ส่ง โดยทั้ง 4 โรงเรียน มีค่าใช้จ่ายร่วมกัน 2 ภาคเรียนๆ ละ 64,000 บาท ซึ่งองค์กรบริหารส่วนตำบล (อบต.)ช่วยสนับสนุนงบประมาณไว้ให้ รวมทั้งยังได้จัดสรรงบประมาณส่วนอื่นๆ ด้วย และได้รับการช่วยเหลือจากชุมชนซึ่งพอใจกับรูปแบบการจัดการศึกษาแบบนี้
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กค่อนข้างต่ำ แต่เมื่อจัดการเรียนการสอนรูปแบบเครือข่ายแก่งจันทร์ช่วยทำให้คุณภาพการศึกษาของเด็กดีขึ้น ดูจากผลการทะสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ป.6 ในปีการศึกษา 2554 สูงกว่าปีการศึกษา2553 ทุกรายวิชา เช่น ภาษาไทย ปี 2554 อยู่ที่ 49.15 ปี 2553 อยู่ที่ 29.76 ,คณิตศาสตร์ ปี 2554 อยู่ที่ 53.29 ปี 2553 อยู่ที่ 26.51 เป็นต้น เพราะฉะนั้น เป้าหมายต่อไปจากนี้ คือ จะมุ่งพัฒนายกระดับคุณภาพของผู้เรียนในด้านวิชาการให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
สอดคล้องกับ นางยุคุณธร วิปัตทุม ครูชั้น ป.1 โรงเรียนบ้านหาดคัมภีร์ ซึ่งต้องเดินทางเพื่อมาร่วมสอนหนังสือที่โรงเรียนบ้านนาโม้ กล่าวว่า หลังจากร่วมเป็นศูนย์การเรียนรู้แล้ว 2 ปี รู้สึกว่าการบริหารจัดการดีขึ้น ครูได้สอนนักเรียนได้เต็มที่ขึ้นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก็ดีขึ้นโดยเฉพาะในปีการศึกษา 2554 นั้นค่อนข้างเห็นผลความเปลี่ยนแปลงชัดเจน ซึ่งก่อนหน้านี้ ครู 1 คน ต้องสอนนักเรียน 2 ชั้นเรียน เด็กก็เรียนรู้ได้ไม่เต็มที่ ครูก็สอนไม่เต็มที่ แต่มาร่วมกลุ่มแล้ว ทำให้ชั้นเรียนมีเด็กมากขึ้น ที่ชั้นเรียนจะมีครู 2 คน โดยเมื่อคนหนึ่งสอนอีกคนจะคอยสังเกตนักเรียน ว่า คนไหนตามที่ครูสอนไม่ทัน ติดขัดก็จะเข้าไปประกบเพื่อช่วยเหลือเด็กแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด เพราะเด็กแต่ละคนที่มาเรียนนั้นพื้นฐานการเรียนรู้แตกต่างกัน ขณะเดียวกันตัวเด็กเองนั้นก็ได้มีโอกาสรู้จักเพื่อนๆ ต่างหมู่บ้านเป็นการสร้างความสัมพันธ์เพราะฉะนั้น การเรียนในรูปแบบเครือข่ายแก่งจันทร์นั้นก็ถือว่าประสบความสำเร็จ
ขณะที่ นายศรีทัด นันทะคู ประธาน อบต.หาดคัมภีร์ กล่าวว่า ความเห็นของผู้ปกครอง ชุมชนนั้นไม่ต้องการให้มีการยุบโรงเรียน เพราะทุกคนต้องการให้มีบ้าน วัด และโรงเรียนอยู่ในพื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่โรงเรียนเกิดมาพร้อมชุมชน ชื่อโรงเรียนก็มีชื่อชุมชนมันเป็นความรู้สึกรักและผูกพัน อย่างตนนั้นก็เรียนที่โรงเรียนเหล่านี้มาแต่เด็ก ๆ เช่นกัน ที่สำคัญการไม่ยุบรวมโรงเรียน แต่มารวมเป็นเครือข่ายแก่งจันทร์โมเดลนั้น เห็นได้ชัดว่าจากเด็กที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ในอดีต ปัจจุบันเด็กระดับ ป.1 ก็เริ่มอ่านได้ อีกทั้งยังทำให้เกิดความรักความสามัคคี ความรักใคร่กลมเกลียว เพราะเด็กทั้ง 4 ชุมชนรู้จักกันก็ไม่มีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกันเช่นในอดีตที่ต่างคนต่างอยู่
ด้าน นายพิษณุ ระบุว่า เหตุผลที่โรงเรียนขนาดเล็กแต่ละแห่ง ไม่ยอมยุบรวมกัน เนื่องจากชุนชนไม่ยอมให้ยุบ และต้องการให้โรงเรียนเป็นสัญลักษณ์ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของหมู่บ้าน ของชุมชน ซึ่งคนในชุมชนมักจะบอกว่า ให้หมู่บ้านต้องมีบ้าน วัด และโรงเรียนอยู่ด้วยกัน ดังนั้นจะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ เมื่อมีการจัดการเรียนการสอนแบบแก่งจันทร์โมเดล ชาวบ้านก็ยอมรับได้โรงเรียนไม่เสียหาย อีกทั้งยังมีความร่วมมือกับ อบต.ด้วย แต่ถ้ายุบและปล่อยให้โรงเรียนเป็นโรงเรียนร้างชุมชนจะรู้สึกรับไม่ได้
“โมเดลที่จะพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กนั้นไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว เพราะในแต่ละพื้นที่ก็มีบริบทความจำเป็นแตกต่างกันไป ขณะที่รูปแบบแก่งจันทร์โมเดล นั้น ก็น่าสนใจ ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ยังได้มอบให้ สพฐ.ไปสำรวจโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศที่พร้อมจะต่อยอดโรงเรียนเครือข่ายแก่งจันทร์โมเดลนี้ ซึ่งก็พบว่ามีถึง 6,000 โรงรวมเป็นศูนย์ได้ถึง 2,000 ศูนย์ โดย รมว.ศึกษาธิการ ได้กล่าวว่าจะจัดสรรรถตู้ให้แห่งละ 1 คัน เมื่อคำนวณรวมค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำมัน ฯลฯ จะใช้งบประมาณ 3,200 ล้านบาท ขณะเดียวกัน สพฐ.ก็เตรียมจะหาวิธีที่จะกำหนดอนาคตของโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งจะได้มีการทำการศึกษาวิจัยโดยจะนำข้อมูลที่มีมาศึกษาในหลากหลายแนวทางให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ เพื่อให้การจัดการศึกษาและบริหารจัดการของโรงเรียนขนาดเล็กไม่ต้องปรากฏคำถามตามมาอีกต่อไป” นายพิษณุ กล่าว
ณ เวลานี้ “แก่งจันทร์โมเดล” น่าจะเป็นคำตอบหนึ่งของระบบการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก และเป็นคำตอบที่สะท้อนให้เห็นหลักคำว่า “บวร” บ้าน วัด และโรงเรียน ที่ชุมชนต้องการให้ยืนหยัดเคียงคู่กันตลอดไป