สพฐ.เตรียมพร้อมเดินหน้า ใช้ O-Net ถ่วง GPA ตัดสินเกรดย้ำเพื่อให้เกิดสมดุลในการวัดและประเมินผล พร้อมดัน ทปอ.หารือปรับไม่ปรับองค์ประกอบแอดมิชชัน
วันนี้ (31 ก.ค.) นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้หารือเรื่องการเตรียมความพร้อมการใช้คะแนนทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (O-Net) มาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนที่จบการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ทั้งระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและ ม.ปลาย โดยจะใช้ผลการเรียนของผู้เรียนที่ประเมินโดยสถานศึกษา และคะแนน O-Net สัดส่วน 80:20 ซึ่งจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 เป็นต้นไป
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา มีคำถามว่า สะท้อนกลับมาว่าต่อไปคะแนนดังกล่าว จะมีผลอย่างไรกับการศึกษาต่อของนักเรียนในระดับที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษา จึงอยากทำความเข้าใจว่า การที่ สพฐ.ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เรื่องการใช้คะแนน O-Net เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนของนักเรียน เป็นเจตนาที่จะทำให้เกิดความสมดุลในการวัดและประเมินผล ทั้งส่วนที่ประเมินโดยสถานศึกษา และการประเมินผลระดับชาติ สองส่วนนี้เป็นองค์ประกอบที่จะต้องมาบูรณาการกันเพื่อสะท้อนผลการเรียนของนักเรียนและข้อดีคือ ช่วยทำให้คะแนนเฉลี่ยสะสม หรือ GPA มีความน่าเชื่อถือขึ้น เพราะมาตรฐานของการให้คะแนน GPA แต่ละโรงเรียนอาจจะมีความเหลื่อมล้ำกันบ้าง หากนำคะแนนO-Netมาเป็นตัวถ่วงค่าน้ำหนักจะทำให้คะแนนGPA มีความถูกต้องมากขึ้น ดังนั้นหากโรงเรียนใดให้คะแนนGPA ได้มาตรฐานก็จะไม่มีผลกระทบใดๆ
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ในส่วนการเรียนต่อระดับอุดมศึกษา จะใช้คะแนน O-Net หรือ GPAX เข้าไปเป็นองค์ประกอบในการเข้าศึกษาต่อหรือไม่นั้น เป็นอำนาจของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ดังนั้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้ง ทปอ.และสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) น่าจะมีการหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาหารือ เพราะหากจะต้องปรับเปลี่ยนองค์ประกอบในการเข้าเรียนต่อสถาบันอุดมศึกษาในระบบรับตรง หรือระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือแอดมิชชัน จะต้องแจ้งนักเรียนให้ทราบล่วงหน้า 3 ปี ขณะเดียวกัน สพฐ.เองจะหารือกับ สทศ.เกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเด็กซิ่วที่จบก่อนที่จะมีการนำคะแนน O-Net มาถ่วงคะแนน GAPX ว่า จะมีแนวทางแก้ปัญหาเด็กกลุ่มนี้อย่างไรในอนาคต
“การใช้คะแนน GPA ที่มีการปรับค่าน้ำหนักแล้ว เป็นวิธีการแสดงผลการเรียนแนวใหม่ที่เป็นไปตามประกาศของ ศธ.ส่วนการนำไปใช้ไม่ได้อยู่ในขอบเขตของประกาศฉบับนี้ ซึ่งคะแนนที่มีการปรับแล้วจะแสดงอยู่ในสมุดพก หรือใบแสดงผลการเรียนเท่านั้น โดยเดิมในใบแสดงผลการเรียนจะมีการแสดงคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ม.ปลาย หรือ GPAX เท่านั้น แต่ในใบแสดงผลการเรียนแบบใหม่ จะมีการแสดงทั้งคะแนน GPAX และคะแนน GPAX ที่มีการปรับค่าน้ำหนักโดยคะแนน O-Net ในสัดส่วน 80:20” นายชินภัทร กล่าวและว่า เร็วๆ นี้ สพฐ.จะจัดเสวนาเพื่อระดมความคิดเห็นและหาแนวทางการใช้คะแนน O-Net มาถ่วง GPA ในส่วนของโรงเรียนการศึกษาทางเลือก และกลุ่มที่จัดการศึกษาโดยครอบครัว หรือโฮมสคูล ที่อาจจะต้องมีความยืดหยุ่นในการวัดและประเมินผล
วันนี้ (31 ก.ค.) นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้หารือเรื่องการเตรียมความพร้อมการใช้คะแนนทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (O-Net) มาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนที่จบการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ทั้งระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและ ม.ปลาย โดยจะใช้ผลการเรียนของผู้เรียนที่ประเมินโดยสถานศึกษา และคะแนน O-Net สัดส่วน 80:20 ซึ่งจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 เป็นต้นไป
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา มีคำถามว่า สะท้อนกลับมาว่าต่อไปคะแนนดังกล่าว จะมีผลอย่างไรกับการศึกษาต่อของนักเรียนในระดับที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษา จึงอยากทำความเข้าใจว่า การที่ สพฐ.ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เรื่องการใช้คะแนน O-Net เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนของนักเรียน เป็นเจตนาที่จะทำให้เกิดความสมดุลในการวัดและประเมินผล ทั้งส่วนที่ประเมินโดยสถานศึกษา และการประเมินผลระดับชาติ สองส่วนนี้เป็นองค์ประกอบที่จะต้องมาบูรณาการกันเพื่อสะท้อนผลการเรียนของนักเรียนและข้อดีคือ ช่วยทำให้คะแนนเฉลี่ยสะสม หรือ GPA มีความน่าเชื่อถือขึ้น เพราะมาตรฐานของการให้คะแนน GPA แต่ละโรงเรียนอาจจะมีความเหลื่อมล้ำกันบ้าง หากนำคะแนนO-Netมาเป็นตัวถ่วงค่าน้ำหนักจะทำให้คะแนนGPA มีความถูกต้องมากขึ้น ดังนั้นหากโรงเรียนใดให้คะแนนGPA ได้มาตรฐานก็จะไม่มีผลกระทบใดๆ
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ในส่วนการเรียนต่อระดับอุดมศึกษา จะใช้คะแนน O-Net หรือ GPAX เข้าไปเป็นองค์ประกอบในการเข้าศึกษาต่อหรือไม่นั้น เป็นอำนาจของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ดังนั้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้ง ทปอ.และสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) น่าจะมีการหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาหารือ เพราะหากจะต้องปรับเปลี่ยนองค์ประกอบในการเข้าเรียนต่อสถาบันอุดมศึกษาในระบบรับตรง หรือระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือแอดมิชชัน จะต้องแจ้งนักเรียนให้ทราบล่วงหน้า 3 ปี ขณะเดียวกัน สพฐ.เองจะหารือกับ สทศ.เกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเด็กซิ่วที่จบก่อนที่จะมีการนำคะแนน O-Net มาถ่วงคะแนน GAPX ว่า จะมีแนวทางแก้ปัญหาเด็กกลุ่มนี้อย่างไรในอนาคต
“การใช้คะแนน GPA ที่มีการปรับค่าน้ำหนักแล้ว เป็นวิธีการแสดงผลการเรียนแนวใหม่ที่เป็นไปตามประกาศของ ศธ.ส่วนการนำไปใช้ไม่ได้อยู่ในขอบเขตของประกาศฉบับนี้ ซึ่งคะแนนที่มีการปรับแล้วจะแสดงอยู่ในสมุดพก หรือใบแสดงผลการเรียนเท่านั้น โดยเดิมในใบแสดงผลการเรียนจะมีการแสดงคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ม.ปลาย หรือ GPAX เท่านั้น แต่ในใบแสดงผลการเรียนแบบใหม่ จะมีการแสดงทั้งคะแนน GPAX และคะแนน GPAX ที่มีการปรับค่าน้ำหนักโดยคะแนน O-Net ในสัดส่วน 80:20” นายชินภัทร กล่าวและว่า เร็วๆ นี้ สพฐ.จะจัดเสวนาเพื่อระดมความคิดเห็นและหาแนวทางการใช้คะแนน O-Net มาถ่วง GPA ในส่วนของโรงเรียนการศึกษาทางเลือก และกลุ่มที่จัดการศึกษาโดยครอบครัว หรือโฮมสคูล ที่อาจจะต้องมีความยืดหยุ่นในการวัดและประเมินผล