xs
xsm
sm
md
lg

ห่วง! ผู้ติดเหล้าอายุน้อยลงทุกปี ขณะที่ 98% เมินเข้ารับการบำบัด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
จิตแพทย์ ห่วง! ผู้ติดเหล้าอายุน้อยลงทุกปี พร้อมเผยผลสำรวจ พบ ผู้มีปัญหาการดื่มสุรา 98% เมินเข้ารับการบำบัด ชี้ สาเหตุหลักเพราะไม่ยอมรับว่าติดเหล้า แนะใช้ช่วงเข้าพรรษาเป็นโอกาสในการเลิกดื่ม ชูสายด่วน 1413 รับปรึกษาเลิกเหล้า

พญ.พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์ จิตแพทย์ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต และ ผู้จัดการแผนงานการพัฒนาระบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา (ผรส.) เปิดเผยว่า สำหรับผู้มีปัญหาการดื่มสุรา นั้นในทางการแพทย์ถือเป็นโรคชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ความผิดปกติพฤติกรรมดื่มสุรา” ซึ่งเป็นความผิดปกติของพฤติกรรมการดื่ม ทั้งดื่มแบบติด และดื่มแบบอันตราย ก่อให้เกิดโรค เช่น ตับแข็ง ตับอักเสบ ระบบประสาท หรือเสี่ยงต่ออันตราย เช่น อุบัติเหตุ และสิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ขณะนี้มีผู้ป่วยติดสุราเพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญพบ ผู้หญิงมากขึ้น และพบผู้ป่วยมีอายุน้อยลงเรื่อยๆ สาเหตุหนึ่งมาจากเยาวชนหาซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ง่าย ประกอบกับผู้ที่ติดสุราไม่ยอมรับว่าตนเองติดสุรา

ทั้งนี้ การสังเกตอาการติดสุรา คือ ดื่มเป็นประจำ หรือดื่มเกือบทุกวัน หากไม่ได้ดื่มจะมีอาการ เช่น นอนไม่หลับ หงุดหงิด กระสับกระส่าย เครียด โมโหง่าย มือไม้สั่น มีเหงื่อออกตามร่างกาย ฝันร้าย หูแว่ว ประสาทหลอน หรือมีอาการชัก โดยอาการมากน้อยแล้วแต่ความรุนแรงของการติดสุรา แต่อาการดังกล่าวสามารถปรึกษาแพทย์และรับการบำบัดรักษาได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ มีผลการสำรวจประชากรไทยอายุ 15-60 ปี พบผู้มีปัญหาการดื่มสุรามากถึง 5 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นโรคติดสุรา 3 ล้านคน เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง และในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณสูงกว่าภาคอื่นๆ และยังน่าเป็นห่วงด้วยว่า ผู้ติดสุราขอเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลเพียง 2% เท่านั้น แสดงว่าผู้ติดสุราอีก 98% ไม่ได้เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา
พญ.พันธุ์นภา กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำที่คิดจะใช้ช่วงเทศกาลเข้าพรรษานี้เป็นจุดเริ่มต้นในการเลิกดื่ม อย่างแรกที่ต้องทำ คือ ต้องประเมินอาการของตนเอง ว่า ที่ผ่านมาการดื่มสุราส่งผลกระทบกับร่างกายรุนแรงแค่ไหน เคยมีอาการข้างต้นมากน้อยเพียงใดหากไม่ได้ดื่มหรือลดปริมาณการดื่มลง หากรุนแรงมากควรพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการบำบัดจะปลอดภัยที่สุด ส่วนคนที่ดื่มไม่มากไม่เคยมีอาการดังกล่าว หรือมีเพียงเล็กน้อย และไม่มีโรคประจำตัวที่ควรเฝ้าระวัง ก็สามารถเลิกดื่มได้เอง การฟื้นฟูของร่างกายจะใช้เวลาประมาณ 5-7วันจะหายเป็นปกติ อย่างไรก็ตาม การเลิกสุราไม่ใช่เรื่องยาก แต่สิ่งที่ทำได้ยาก คือ ทำอย่างไรไม่ให้กลับไปดื่มซ้ำอีก เพราะหากผู้ป่วยยังอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิมๆ หาซื้อแอลกอฮอล์ได้ง่าย ก็จะเสี่ยงต่อการกลับไปดื่มซ้ำได้

“เชื่อว่า กิจกรรมงดเหล้าเข้าพรรษาในช่วง 3 เดือน จะเป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้เลิกดื่มได้ โดยเฉพาะปีนี้เป็นปีมหามงคล “พุทธชยันตี 2600 ปี การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า” น่าจะมีคนจำนวนไม่น้อย ตั้งใจอธิษฐาน งดเหล้าตลอดพรรษา 3 เดือน และตลอดชีวิต เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา” พญ.พันธุ์นภา กล่าวและว่า กิจกรรมดังกล่าวจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนดื่มสุราเริ่มเรียนรู้ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและควบคุมตัวเองไม่ให้ดื่มและเกิดความมั่นใจว่าตนสามารถเลิกดื่มได้จริง ที่ผ่านมา พบว่า ช่วงเข้าพรรษาเป็นช่วงที่มีคนโทรศัพท์เข้ามาขอรับคำปรึกษาจากสายด่วน 1413 มากที่สุด สำหรับคนที่เริ่มตัดสินใจอยากจะเลิก ควรหาข้อมูลเพื่อเตรียมพร้อมของร่างกาย คือ 1.ปรึกษาแพทย์ หรือผู้ให้บริการทางสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลจิตเวช สถาบันบำบัดยาเสพติดทุกแห่ง หรือหน่วยงานสายด่วนเลิกเหล้า 1413 ซึ่งสามารถโทร.ขอคำปรึกษาได้
กำลังโหลดความคิดเห็น