นายกฯ มอบ ศธ.-แรงาน-ก.พ.เตรียมความพร้อมรองรับโครงการใหญ่ ขยายการคมนาคม สร้างรถไฟความเร็วสูง เชื่อมไทยเข้าสู่อาเซียน
น.ส.ศศิธารา พิชัยชายณรงค์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมจัดทำแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมในการเป็นประชาคมอาเซียนปี 2558 เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ทำเนียบรัฐบาลนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า รัฐบาลจะสร้างรถไฟความเร็วสูงอย่างแน่นอน พร้อมขยายการคมนาคมขนส่งในส่วนอื่นๆ ด้วย เพื่อรองรับการเดินทางขนส่งระหว่างประเทศไทย กับประเทศกลุ่มอาเซียน ขณะเดียวกัน การขนส่งสินค้าด้วยความเร็วสูง จะสร้างความได้เปรียบให้กับการค้าขายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะสินค้าเกษตร ผัก ผลไม้ ถ้าสามารถขนส่งไปถึงปลายทางได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยรักษาความสดของสินค้าทำให้ขายสินค้าได้มากขึ้น ดังนั้น นายกฯจึงได้มอบให้กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ทำงานร่วมกันเพื่อเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ รองรับนโยบายขยายการคมนาคมของรัฐบาล โดยเฉพาะการเตรียมกำลังคน แรงงานรองรับการก่อสร้างรถไฟความสูง ซึ่งจะต้องใช้กำลังคนทางด้านยานยนต์ชิ้นส่วน และไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยนายกฯขอให้ทั้ง 3 หน่วยงานไปประชุมหารือกันเพื่อทำข้อสรุปมารายงานภายในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ส.ค.นี้
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ ศธ.นั้น จะเชิญกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงาน ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตกำลังคนสาขายานยนต์ชิ้นส่วน และไฟฟ้าอีเล็กทรอนิกส์ รวมถึงสาขาอื่นๆ ที่น่าจะเกี่ยวข้องมาประชุมร่วมกันในวันที่ 31 ก.ค.นี้ เพื่อเตรียมวางแผนผลิตกำลังคนรองรับนโยบายดังกล่าวของรัฐบาล โดยจะมีการสรุปข้อมูลครั้งใหญ่ว่า ตั้งแต่ปี 2556 ถึง 2566 รวม 10 ปีนั้น สถานบันการศึกษาทุกแห่งสามารถผลิตกำลังคนใน 2 สาขานี้ได้รวมเท่าใด รวมถึงมีกำลังคนที่สำเร็จการศึกษาแล้วแต่ยังไม่ได้งานตกค้างเท่าใด
“ ฐานข้อมูลดังกล่าว จะนำมาใช้ในการวางแผนผลิตกำลังให้เพียงพอต่อความต้องการ และจำเป็นต้องวางแผนล่วงหน้าระยะยาว เพราะการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงนั้น คงไม่เสร็จสิ้นในปี 2558 น่าจะมีการก่อสร้างเพิ่มเติมไปเรื่อย ๆ นอกจากนั้น จะต้องมาคุยกันให้ชัดเจนด้วยว่า จำเป็นต้องเพิ่มเติมทักษะอะไรอีกให้กับกำลังคนในสาขาที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมดนี้ เพื่อให้นโยบายขยายการคมนาคม สร้างรถไฟความเร็วสูงของรัฐบาล ไม่เกิดการสะดุดเพราะปัญหาขาดแคลนกำลังคน”ปลัด ศธ.กล่าว
น.ส.ศศิธารา กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ นายกฯ เห็นชอบให้ทุกกระทรวงดำเนินการไปยุทธศาสตร์ของตัวเอง ซึ่งได้รับความเห็นพ้องจากอาเซียน ขณะเดียวกัน ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ ก็ได้มีคำสั่งแต่งตั้งกรรมการขึ้นมาดูแลเรื่องเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาเซียนโดยเฉพาะมีตนเป็นประธาน และมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลักเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบแต่ละยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ที่ ศธ.ให้ความสำคัญมากสุดนั้น การลดจำนวนผู้ที่อ่านเขียนไม่ได้ ซึ่งปัจจุบันไทยมีจำนวนผู้รู้หนังสือ 93.5% เป็นอันดับ 4 ของอาเซียน ได้มอบให้สำนักบริหารงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) รับผิดชอบการยกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้ยุทธศาสตร์จัดทำหลักสูตรมาตรฐานอาเซียน 7 สาขาวิชาออกมาใช้ในอาเซียน มอบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และ การเพิ่มช่องทางในการเทียบโอนหน่วยกิตระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในอาเซียน มอบ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา รับผิดชอบ
น.ส.ศศิธารา พิชัยชายณรงค์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมจัดทำแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมในการเป็นประชาคมอาเซียนปี 2558 เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ทำเนียบรัฐบาลนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า รัฐบาลจะสร้างรถไฟความเร็วสูงอย่างแน่นอน พร้อมขยายการคมนาคมขนส่งในส่วนอื่นๆ ด้วย เพื่อรองรับการเดินทางขนส่งระหว่างประเทศไทย กับประเทศกลุ่มอาเซียน ขณะเดียวกัน การขนส่งสินค้าด้วยความเร็วสูง จะสร้างความได้เปรียบให้กับการค้าขายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะสินค้าเกษตร ผัก ผลไม้ ถ้าสามารถขนส่งไปถึงปลายทางได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยรักษาความสดของสินค้าทำให้ขายสินค้าได้มากขึ้น ดังนั้น นายกฯจึงได้มอบให้กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ทำงานร่วมกันเพื่อเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ รองรับนโยบายขยายการคมนาคมของรัฐบาล โดยเฉพาะการเตรียมกำลังคน แรงงานรองรับการก่อสร้างรถไฟความสูง ซึ่งจะต้องใช้กำลังคนทางด้านยานยนต์ชิ้นส่วน และไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยนายกฯขอให้ทั้ง 3 หน่วยงานไปประชุมหารือกันเพื่อทำข้อสรุปมารายงานภายในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ส.ค.นี้
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ ศธ.นั้น จะเชิญกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงาน ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตกำลังคนสาขายานยนต์ชิ้นส่วน และไฟฟ้าอีเล็กทรอนิกส์ รวมถึงสาขาอื่นๆ ที่น่าจะเกี่ยวข้องมาประชุมร่วมกันในวันที่ 31 ก.ค.นี้ เพื่อเตรียมวางแผนผลิตกำลังคนรองรับนโยบายดังกล่าวของรัฐบาล โดยจะมีการสรุปข้อมูลครั้งใหญ่ว่า ตั้งแต่ปี 2556 ถึง 2566 รวม 10 ปีนั้น สถานบันการศึกษาทุกแห่งสามารถผลิตกำลังคนใน 2 สาขานี้ได้รวมเท่าใด รวมถึงมีกำลังคนที่สำเร็จการศึกษาแล้วแต่ยังไม่ได้งานตกค้างเท่าใด
“ ฐานข้อมูลดังกล่าว จะนำมาใช้ในการวางแผนผลิตกำลังให้เพียงพอต่อความต้องการ และจำเป็นต้องวางแผนล่วงหน้าระยะยาว เพราะการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงนั้น คงไม่เสร็จสิ้นในปี 2558 น่าจะมีการก่อสร้างเพิ่มเติมไปเรื่อย ๆ นอกจากนั้น จะต้องมาคุยกันให้ชัดเจนด้วยว่า จำเป็นต้องเพิ่มเติมทักษะอะไรอีกให้กับกำลังคนในสาขาที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมดนี้ เพื่อให้นโยบายขยายการคมนาคม สร้างรถไฟความเร็วสูงของรัฐบาล ไม่เกิดการสะดุดเพราะปัญหาขาดแคลนกำลังคน”ปลัด ศธ.กล่าว
น.ส.ศศิธารา กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ นายกฯ เห็นชอบให้ทุกกระทรวงดำเนินการไปยุทธศาสตร์ของตัวเอง ซึ่งได้รับความเห็นพ้องจากอาเซียน ขณะเดียวกัน ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ ก็ได้มีคำสั่งแต่งตั้งกรรมการขึ้นมาดูแลเรื่องเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาเซียนโดยเฉพาะมีตนเป็นประธาน และมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลักเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบแต่ละยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ที่ ศธ.ให้ความสำคัญมากสุดนั้น การลดจำนวนผู้ที่อ่านเขียนไม่ได้ ซึ่งปัจจุบันไทยมีจำนวนผู้รู้หนังสือ 93.5% เป็นอันดับ 4 ของอาเซียน ได้มอบให้สำนักบริหารงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) รับผิดชอบการยกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้ยุทธศาสตร์จัดทำหลักสูตรมาตรฐานอาเซียน 7 สาขาวิชาออกมาใช้ในอาเซียน มอบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และ การเพิ่มช่องทางในการเทียบโอนหน่วยกิตระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในอาเซียน มอบ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา รับผิดชอบ