สธ.อบรมเสริมทักษะตรวจวินิจฉัย และรักษาผู้ป่วยมือเท้าปากให้แพทย์-พยาบาลทั่วประเทศ เน้นถูกต้อง รวดเร็ว ย้ำ มือเท้าปากเป็นแล้วส่วนใหญ่หายเองได้ ส่วนน้อยที่มีอาการรุนแรง เตือนประชาชนห้ามซื้อยากินเอง เสี่ยงเจอผสมสเตียรอยด์ ชี้ กดภูมิคุ้มกันทำให้อาการทรุดหนัก
วันนี้ (25 ก.ค.) ที่โรงแรมเซ็นทารา กทม. นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดการอบรมแพทย์ กุมารแพทย์ พยาบาลผู้ป่วยนอก พยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ พยาบาลประจำหอผู้ป่วยไอ.ซี.ยู.เด็กของโรงพยาบาลรัฐและเอกชนทั่วประเทศ จำนวน 550 คน เรื่องแนวทางการตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมือเท้าปากแบบครบวงจร เพื่อฟื้นฟูทักษะในการตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาโรคดังกล่าว ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รักษาชีวิตของผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด
นายวิทยา กล่าวว่า โรคมือเท้าปากที่กำลังเป็นปัญหาในขณะนี้ ถือว่าเป็นสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างหนึ่ง ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา ตั้งแต่มกราคมถึง 22 กรกฎาคม 2555 พบผู้ป่วยสะสม 16,860 ราย เสียชีวิต 1 ราย กลุ่มอายุที่พบส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็กช่วงอายุต่ำกว่า 5 ปี เชื้อไวรัสที่พบมีหลายสายพันธุ์ ซึ่งแสดงอาการตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตได้ ขณะนี้ได้ตั้งทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคนี้พร้อมให้คำปรึกษาแพทย์รัฐและเอกชนทั่วประเทศ ตลอด 24 ชั่วโมง
นายวิทยา กล่าวต่อว่า โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันและไม่มีการรักษาที่จำเพาะ นายกรัฐมนตรีได้กำชับให้กระทรวงสาธารณสุข เน้นการป้องกันไม่ให้ป่วย และให้การรักษาอย่างดีที่สุด เนื่องจากโรคนี้ไม่ใช่โรคใหม่ เป็นโรคที่วงการแพทย์ไทยรู้จักดี แต่ละปีพบผู้ป่วยหลักหมื่นแต่เสียชีวิตน้อยมาก มั่นใจว่า หากแพทย์ตรวจวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง และให้การรักษาตามมาตรฐาน จะลดการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ จึงได้มอบให้กรมการแพทย์ จัดอบรมเสริมทักษะให้แพทย์ กุมารแพทย์ พยาบาล เป็นกรณีพิเศษ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชนในระบบของกระทรวงสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ
ด้านแพทย์หญิง วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก สามารถหายเองได้ ภายใน 5-7 วัน มีผู้ป่วยประมาณร้อยละ 1-2 ที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ภาวะขาดน้ำ จากการที่กินอาหารและน้ำไม่ได้ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น การรักษาที่สำคัญ คือ การรักษาตามอาการ ได้แก่ ให้ยาลดไข้กระตุ้นให้ผู้ป่วยทานอาหาร แต่ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถทานอาหารได้หรือทานได้น้อย ให้อาหารเหลว หรืออาหารที่มีอุณหภูมิต่ำ เช่น ไอศกรีม น้ำผลไม้ หรือให้น้ำใบบัวบก ช่วยลดการอักเสบ เป็นต้น
แพทย์หญิง วิลาวัณย์ กล่าวอีกว่า ขอย้ำเตือนประชาชน อย่าซื้อยาให้เด็กที่ป่วยกินเอง โดยเฉพาะยาผสมสเตียรอยด์ ช่วงแรกจะรู้สึกว่าอาการดีขึ้น แต่ภายหลังมีผลเสียมาก เพราะยาจะกดภูมิคุ้มกันโรคในร่างกาย เชื้อโรคจะทำลายอวัยวะได้มากขึ้น ทำให้อาการทรุดหนักจนอาจเสียชีวิตได้ กลุ่มเด็กที่มีโอกาสเสี่ยงพบภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เช่น มีโรคประจำตัว หอบหืด โรคเลือดจาง โรคหัวใจ เด็กน้ำหนักตัวน้อย เด็กคลอดก่อนกำหนด เป็นต้น หากป่วยรีบไปพบแพทย์ทันที พร้อมให้ประวัติการเจ็บป่วยกับแพทย์ผู้รักษา เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนรุนแรงจนอาจเสียชีวิต ดังนั้น ขอให้ผู้ปกครองสังเกตอาการผิดปกติเด็กอย่างใกล้ชิด หากสงสัยโรคมือเท้าปาก หรือมีไข้สูงมากกว่า 2 วัน ร่วมกับอาเจียน หรือหอบเหนื่อย หรือซึม หรือชัก หรือกล้ามเนื้อกระตุก หรืออาการแย่ลง ควรรีบไปพบแพทย์แม้จะไม่มีผื่นขึ้นก็ตาม
วันนี้ (25 ก.ค.) ที่โรงแรมเซ็นทารา กทม. นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดการอบรมแพทย์ กุมารแพทย์ พยาบาลผู้ป่วยนอก พยาบาลควบคุมโรคติดเชื้อ พยาบาลประจำหอผู้ป่วยไอ.ซี.ยู.เด็กของโรงพยาบาลรัฐและเอกชนทั่วประเทศ จำนวน 550 คน เรื่องแนวทางการตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมือเท้าปากแบบครบวงจร เพื่อฟื้นฟูทักษะในการตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาโรคดังกล่าว ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รักษาชีวิตของผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด
นายวิทยา กล่าวว่า โรคมือเท้าปากที่กำลังเป็นปัญหาในขณะนี้ ถือว่าเป็นสาธารณภัยด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างหนึ่ง ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา ตั้งแต่มกราคมถึง 22 กรกฎาคม 2555 พบผู้ป่วยสะสม 16,860 ราย เสียชีวิต 1 ราย กลุ่มอายุที่พบส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็กช่วงอายุต่ำกว่า 5 ปี เชื้อไวรัสที่พบมีหลายสายพันธุ์ ซึ่งแสดงอาการตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตได้ ขณะนี้ได้ตั้งทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคนี้พร้อมให้คำปรึกษาแพทย์รัฐและเอกชนทั่วประเทศ ตลอด 24 ชั่วโมง
นายวิทยา กล่าวต่อว่า โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันและไม่มีการรักษาที่จำเพาะ นายกรัฐมนตรีได้กำชับให้กระทรวงสาธารณสุข เน้นการป้องกันไม่ให้ป่วย และให้การรักษาอย่างดีที่สุด เนื่องจากโรคนี้ไม่ใช่โรคใหม่ เป็นโรคที่วงการแพทย์ไทยรู้จักดี แต่ละปีพบผู้ป่วยหลักหมื่นแต่เสียชีวิตน้อยมาก มั่นใจว่า หากแพทย์ตรวจวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง และให้การรักษาตามมาตรฐาน จะลดการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ จึงได้มอบให้กรมการแพทย์ จัดอบรมเสริมทักษะให้แพทย์ กุมารแพทย์ พยาบาล เป็นกรณีพิเศษ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชนในระบบของกระทรวงสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ
ด้านแพทย์หญิง วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก สามารถหายเองได้ ภายใน 5-7 วัน มีผู้ป่วยประมาณร้อยละ 1-2 ที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ภาวะขาดน้ำ จากการที่กินอาหารและน้ำไม่ได้ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น การรักษาที่สำคัญ คือ การรักษาตามอาการ ได้แก่ ให้ยาลดไข้กระตุ้นให้ผู้ป่วยทานอาหาร แต่ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถทานอาหารได้หรือทานได้น้อย ให้อาหารเหลว หรืออาหารที่มีอุณหภูมิต่ำ เช่น ไอศกรีม น้ำผลไม้ หรือให้น้ำใบบัวบก ช่วยลดการอักเสบ เป็นต้น
แพทย์หญิง วิลาวัณย์ กล่าวอีกว่า ขอย้ำเตือนประชาชน อย่าซื้อยาให้เด็กที่ป่วยกินเอง โดยเฉพาะยาผสมสเตียรอยด์ ช่วงแรกจะรู้สึกว่าอาการดีขึ้น แต่ภายหลังมีผลเสียมาก เพราะยาจะกดภูมิคุ้มกันโรคในร่างกาย เชื้อโรคจะทำลายอวัยวะได้มากขึ้น ทำให้อาการทรุดหนักจนอาจเสียชีวิตได้ กลุ่มเด็กที่มีโอกาสเสี่ยงพบภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เช่น มีโรคประจำตัว หอบหืด โรคเลือดจาง โรคหัวใจ เด็กน้ำหนักตัวน้อย เด็กคลอดก่อนกำหนด เป็นต้น หากป่วยรีบไปพบแพทย์ทันที พร้อมให้ประวัติการเจ็บป่วยกับแพทย์ผู้รักษา เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนรุนแรงจนอาจเสียชีวิต ดังนั้น ขอให้ผู้ปกครองสังเกตอาการผิดปกติเด็กอย่างใกล้ชิด หากสงสัยโรคมือเท้าปาก หรือมีไข้สูงมากกว่า 2 วัน ร่วมกับอาเจียน หรือหอบเหนื่อย หรือซึม หรือชัก หรือกล้ามเนื้อกระตุก หรืออาการแย่ลง ควรรีบไปพบแพทย์แม้จะไม่มีผื่นขึ้นก็ตาม