โดย...สุกัญญา แสงงาม
“อาตมาเชื่อว่าผู้ต้องขัง ไม่ว่าหญิงหรือชาย หลายรายกระทำความผิดเพียงเพราะอารมณ์ชั่ววูบ ไม่ใช่สันดาน ผู้ต้องขังกลุ่มนี้สามารถใช้ธรรมะ การทำสมาธิวิปัสสนา ขัดเกลาจิตใจให้อ่อนโยน รู้จักยับยั้งสติอารมณ์ รู้ผิดชอบชั่วดี พวกเขาจะเป็นบัวที่โผล่พ้นน้ำ วันใดที่พ้นโทษ ครอบครัวอ้าแขนต้อนรับ สังคมให้โอกาส เขาจะไม่กระทำความผิดเป็นครั้งที่สอง”
พระครูประทีปธรรมพิมล ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดจันทราราม เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ในฐานะพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนและพระวิทยากร สวดมนต์หมู่ ของกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม บอกด้วยน้ำเสียงหนักแน่น พร้อมเล่าจุดเริ่มต้นในการสอนศีลธรรมให้ผู้ต้องขังหญิงว่า เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ได้รับนิมนต์จากกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ให้ไปอบรมผู้ต้องขังหญิงกลาง กว่า 4,800 คน อาตมาพยายามพูดโน้มน้าวให้ผู้ต้องขังมาร่วมสวดมนต์ นั่งวิปัสสนา ด้วยความสมัครใจ เริ่มจากสอนสวดมนต์โดยออกเสียงให้ถูกต้องและแปลภาษาบาลีว่าบทสวดนั้นมีหมายความว่าอย่างไร รวมทั้งสอนนั่งสมาธิ ฝึกหายใจเข้า-หายใจออกที่ถูกต้อง จากวันนั้นกรมราชทัณฑ์ก็นิมนต์ให้อาตมามาอบรมผู้ต้องขังเป็นประจำทุกเดือน
“การสอนศีลธรรม วิปัสสนา ไม่ใช่ทำวัน สองวันจะได้ผล จะมีกุศลผลบุญจะต้องสวดมนต์ ปฏิบัติทุกวัน อาตมาแจ้งกับเจ้าหน้าที่กรมราชภัณท์ไปว่าจะกล่อมเกลาจิตใจผู้ต้องขังมีที่ความเครียด มีจิตใจฟุ้งซ่าน ให้กลับมาอ่อนโยนต้องปฏิบัติทุกวัน เจ้าหน้าที่ก็เห็นด้วย ให้ผู้ต้องขังตื่นแต่เช้าตรู่ ลุกขึ้นมาสวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม จากนั้นก็แยกย้ายกันไปทำหน้าที่ของตนเองตามที่ได้รับมอบหมาย พอตกเย็นต้องมารวมกันสวดมนต์ ทำเฉกเช่นเดียวกันกับพระสงฆ์ปฏิบัติอยู่ที่วัด ช่วงแรกๆ ผู้ต้องขังบางรายแสดงอาการไม่พอใจบ้าง เมื่อปฏิบัติทุกวัน จิตเขาสงบ เขาก็มาปฏิบัติด้วยความเต็มใจ” พระครูประทีปบอก
พระครูประทีปบอกต่อว่า นอกจากเปลี่ยนความรู้สึกให้ผู้ต้องขังหญิงปฏิบัติธรรมด้วยความเต็มใจแล้ว พวกเขารู้สึกภาคภูมิใจมาก เพราะได้สวดมนต์ถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทุกวันด้วย
พระครูประทีปแจกแจงให้ฟังว่า การสอนศีลธรรมให้แก่ผู้ต้องขังนั้นต่างจากสอนให้แก่นักเรียน ซึ่งจะเน้นให้รู้จักหน้าที่ของตนเอง และอย่าทำอะไรที่ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเสียใจ สำหรับผู้ต้องขังอาตมาทำการบ้าน เลือกหัวข้อที่จะเทศก์ให้ผู้ต้องขัง โดยเน้นหัวข้อการเตือนสติ พยายามให้ตัดกิเลส ให้แง่คิด เพื่อไม่ให้เขาหลงผิดอีก ขณะเดียวกันพยายามปลูกฝังให้เขามีจิตใจเยือกเย็น อ่อนโยน โอบอ้อมอารี ผ่านการฝึกสมาธิ เผื่อวันหนึ่งเมื่อเขาพ้นโทษออกไปสู่สังคมจะได้ไม่ทำความผิดอีก
อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ผู้ต้องขังหลายคนให้ความไว้วางใจอาตมา มาขอคำปรึกษา ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่กำลังจะพ้นโทษ เขาหวั่นว่าครอบครัวลูกหลานจะรังเกียจ ไม่ยอมรับ อาตมา ปลอบใจว่า สายเลือดเดียวกัน เลือดย่อมข้นกว่าน้ำ เชื่อว่าพวกเขายอมรับและให้อภัยในสิ่งที่ผิดพลาดไปแล้วในอดีต ถ้าแสดงให้พวกเขาเห็นว่าพร้อมกลับตัวเป็นคนดีและจะเริ่มต้นชีวิตใหม่
พระครูประทีปแสดงความเห็นว่า การสอนศีลธรรมให้แก่ผู้ต้องขัง ถือเป็นนิมิตรหมายที่ดี อยากให้โครงการดีๆ เช่นนี้ขยายผลให้ครอบคลุมทุกแห่ง ซึ่งกรมการศาสนา มีพระสอนธรรมะเก่งๆ หลายรูปพร้อมนำธรรมะ มาขัดเกลาจิตใจผู้ต้องขัง พร้อมชี้ทางสว่างด้วย นอกจากนี้ อาตมา มีแนวคิดจัดประกวดแข่งขันสวดมนต์หมู่
อาตมาฝากไปยังครอบครัว สังคม อย่าแสดงท่าทีรังเกียจผู้ที่พ้นโทษ จงให้อภัย ให้โอกาสเขามีที่ยืนในสังคม ในฐานะเพื่อนมนุษย์คนหนึ่ง
“อาตมาเชื่อว่าผู้ต้องขัง ไม่ว่าหญิงหรือชาย หลายรายกระทำความผิดเพียงเพราะอารมณ์ชั่ววูบ ไม่ใช่สันดาน ผู้ต้องขังกลุ่มนี้สามารถใช้ธรรมะ การทำสมาธิวิปัสสนา ขัดเกลาจิตใจให้อ่อนโยน รู้จักยับยั้งสติอารมณ์ รู้ผิดชอบชั่วดี พวกเขาจะเป็นบัวที่โผล่พ้นน้ำ วันใดที่พ้นโทษ ครอบครัวอ้าแขนต้อนรับ สังคมให้โอกาส เขาจะไม่กระทำความผิดเป็นครั้งที่สอง”
พระครูประทีปธรรมพิมล ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดจันทราราม เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ในฐานะพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนและพระวิทยากร สวดมนต์หมู่ ของกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม บอกด้วยน้ำเสียงหนักแน่น พร้อมเล่าจุดเริ่มต้นในการสอนศีลธรรมให้ผู้ต้องขังหญิงว่า เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ได้รับนิมนต์จากกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ให้ไปอบรมผู้ต้องขังหญิงกลาง กว่า 4,800 คน อาตมาพยายามพูดโน้มน้าวให้ผู้ต้องขังมาร่วมสวดมนต์ นั่งวิปัสสนา ด้วยความสมัครใจ เริ่มจากสอนสวดมนต์โดยออกเสียงให้ถูกต้องและแปลภาษาบาลีว่าบทสวดนั้นมีหมายความว่าอย่างไร รวมทั้งสอนนั่งสมาธิ ฝึกหายใจเข้า-หายใจออกที่ถูกต้อง จากวันนั้นกรมราชทัณฑ์ก็นิมนต์ให้อาตมามาอบรมผู้ต้องขังเป็นประจำทุกเดือน
“การสอนศีลธรรม วิปัสสนา ไม่ใช่ทำวัน สองวันจะได้ผล จะมีกุศลผลบุญจะต้องสวดมนต์ ปฏิบัติทุกวัน อาตมาแจ้งกับเจ้าหน้าที่กรมราชภัณท์ไปว่าจะกล่อมเกลาจิตใจผู้ต้องขังมีที่ความเครียด มีจิตใจฟุ้งซ่าน ให้กลับมาอ่อนโยนต้องปฏิบัติทุกวัน เจ้าหน้าที่ก็เห็นด้วย ให้ผู้ต้องขังตื่นแต่เช้าตรู่ ลุกขึ้นมาสวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม จากนั้นก็แยกย้ายกันไปทำหน้าที่ของตนเองตามที่ได้รับมอบหมาย พอตกเย็นต้องมารวมกันสวดมนต์ ทำเฉกเช่นเดียวกันกับพระสงฆ์ปฏิบัติอยู่ที่วัด ช่วงแรกๆ ผู้ต้องขังบางรายแสดงอาการไม่พอใจบ้าง เมื่อปฏิบัติทุกวัน จิตเขาสงบ เขาก็มาปฏิบัติด้วยความเต็มใจ” พระครูประทีปบอก
พระครูประทีปบอกต่อว่า นอกจากเปลี่ยนความรู้สึกให้ผู้ต้องขังหญิงปฏิบัติธรรมด้วยความเต็มใจแล้ว พวกเขารู้สึกภาคภูมิใจมาก เพราะได้สวดมนต์ถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทุกวันด้วย
พระครูประทีปแจกแจงให้ฟังว่า การสอนศีลธรรมให้แก่ผู้ต้องขังนั้นต่างจากสอนให้แก่นักเรียน ซึ่งจะเน้นให้รู้จักหน้าที่ของตนเอง และอย่าทำอะไรที่ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเสียใจ สำหรับผู้ต้องขังอาตมาทำการบ้าน เลือกหัวข้อที่จะเทศก์ให้ผู้ต้องขัง โดยเน้นหัวข้อการเตือนสติ พยายามให้ตัดกิเลส ให้แง่คิด เพื่อไม่ให้เขาหลงผิดอีก ขณะเดียวกันพยายามปลูกฝังให้เขามีจิตใจเยือกเย็น อ่อนโยน โอบอ้อมอารี ผ่านการฝึกสมาธิ เผื่อวันหนึ่งเมื่อเขาพ้นโทษออกไปสู่สังคมจะได้ไม่ทำความผิดอีก
อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ผู้ต้องขังหลายคนให้ความไว้วางใจอาตมา มาขอคำปรึกษา ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่กำลังจะพ้นโทษ เขาหวั่นว่าครอบครัวลูกหลานจะรังเกียจ ไม่ยอมรับ อาตมา ปลอบใจว่า สายเลือดเดียวกัน เลือดย่อมข้นกว่าน้ำ เชื่อว่าพวกเขายอมรับและให้อภัยในสิ่งที่ผิดพลาดไปแล้วในอดีต ถ้าแสดงให้พวกเขาเห็นว่าพร้อมกลับตัวเป็นคนดีและจะเริ่มต้นชีวิตใหม่
พระครูประทีปแสดงความเห็นว่า การสอนศีลธรรมให้แก่ผู้ต้องขัง ถือเป็นนิมิตรหมายที่ดี อยากให้โครงการดีๆ เช่นนี้ขยายผลให้ครอบคลุมทุกแห่ง ซึ่งกรมการศาสนา มีพระสอนธรรมะเก่งๆ หลายรูปพร้อมนำธรรมะ มาขัดเกลาจิตใจผู้ต้องขัง พร้อมชี้ทางสว่างด้วย นอกจากนี้ อาตมา มีแนวคิดจัดประกวดแข่งขันสวดมนต์หมู่
อาตมาฝากไปยังครอบครัว สังคม อย่าแสดงท่าทีรังเกียจผู้ที่พ้นโทษ จงให้อภัย ให้โอกาสเขามีที่ยืนในสังคม ในฐานะเพื่อนมนุษย์คนหนึ่ง