รัชญา จันทะรัง
“ฝาย” คำๆ นี้ หลายๆ คนคงคุ้นเคยแต่จะมีสักกี่คนที่จะเข้าใจลึกซึ้งถึงแก่นของคำว่า “ฝาย” ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้มีการศึกษาสร้างฝายต้นน้ำมาตั้งแต่ปี 2526 ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่
...และผู้ที่จะสามารถถ่ายทอดความหมายของคำว่า “ฝาย” ได้ดีที่สุดย่อมหนีไม่พ้น “โจรกลับใจ” อย่าง “เสวตร บุญฤทธิ์” ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 11 ผู้แทนชุมชนจากเขายายดา ผู้ใหญ่เสวตร เปิดใจว่า เมื่อก่อนตนเองก็เป็นชาวบ้านธรรมดา จนกระทั่งปี 2519 ดร.พงษ์ศักดิ์ วิทวัสชุติกุล ซึ่งปัจจุบันท่านเป็นผู้อำนวยการส่วนวิจัยต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้เข้ามาประจำที่เขายายดา ในสมัยนั้นตนเองก็กำลังหนุ่มอายุประมาณ 19-20 ปี ดร.พงษ์ศักดิ์ ก็จะทำหน้าที่ปลูกป่า ส่วนชาวบ้านอย่างพวกตนก็จะเผาทำลายป่าเพื่อให้หญ้าขึ้นเป็นอาหารของวัว
“ตอนนั้นป่ามีความอุดมสมบูรณ์มากเราก็ยังไม่รู้สึก พวกราชการก็มาจากไหนก็ไม่รู้มาถึงก็ปลูกป่า จนปี 2547-2549 ป่าที่เคยสมบูรณ์มันก็แห้งแล้งเพราะมันเกิดจากไฟที่เราเผาป่า ไม่มีน้ำที่จะลดสวนผลไม้ ก็ต้องไปขอ อบต.ให้เขาเอาน้ำมาให้ แต่ก็ต้องทะเลาะเพื่อแย่งรถน้ำเพราะทุกหมู่ก็จะเอาน้ำเหมือนกัน จนในที่สุดเรามีโอกาสได้ไปดูฝายที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ แต่เมื่อกลับมาเราก็ยังทำไม่ได้จนเราเห็นบ.เอสซีจีฯ ประชาสัมพันธ์ว่าจะช่วยชุมชนก็เลยประสานขอให้เอสซีจีเข้ามาช่วย”
ผู้ใหญ่เสวตร เล่าต่อว่า การสร้างฝายที่เขายายดาจะไม่เหมือนที่เอสซีจีสร้างฝายที่ลำปางที่จะใช้ไม้ปักลงไปในดินทำเป็นแนวแต่ที่นี้จะใช้หินวางเรียงซ้อนกันเป็นแนวให้ชะลอน้ำแต่กว่าจะสำเร็จเหมือนวันนี้ก็มีปัญหาพอสมควรเพราะความเข้าใจตอนแรกของเราคือฝายที่สร้างมันจะช่วยเก็บกักน้ำตั้งแต่สร้างเสร็จแต่มันไม่ใช่เพราะน้ำไหลมาแรงฝายที่สร้างก็พังหมด ขณะเดียวกันชาวบ้านก็ไม่ให้ความร่วมมือมีแต่กรรมการหมู่บ้านไปทำ เพราะกลัว ดร.พงษ์ศักดิ์ ยึดที่ไปปลูกต้นไม้
ผู้ใหญ่ประสงค์ สุวรรณราย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 14 อีกหนึ่งผู้แทนชุมชนเขายายดา เล่าด้วยว่า 2 ปีแรกที่เราสร้างฝายชะลอน้ำมันไม่เห็นเป็นรูปธรรมแต่พอมาตอนนี้มันสมบูรณ์ กระท้อนออกลูกเต็มต้นไปหมด โดยปกติเดือน ก.พ.-มี.ค.มันจะแล้ง แต่นี่เขายายดาเขียวชะอุ่ม ก่อนสร้างฝายต้นไม้ที่นี่จะแดงแต่เมื่อมีฝายต้นไม้ที่นี่สีเขียวเราเห็นด้วยตาของเราเอง อีกทั้งเมื่อก่อนปูราชินีเกือบจะสูญพันธุ์ แต่ตอนนี้ขุดไปตรงไหนก็เจอ และที่สำคัญ พวกเราก็ไม่ต้องไปขอรถน้ำจากอบต.มาช่วยชาวบ้านอีกแล้ว
ขณะที่ผู้บุกเบิกคืนความเขียวขจีให้กับญาติผู้ใหญ่เขายายดาอย่าง ดร.พงษ์ศักดิ์ บอกว่า จากการศึกษาโดยวิธีการของ SCS-CN Methodology ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่เขายายดา ช่วยลดปริมาณน้ำหลาก พื้นที่ลุ่มน้ำสามารถเก็บกักน้ำได้มากขึ้น 900 ลบ.ม.มวลชีวภาพของต้นไม้ในป่าในส่วนของพื้นที่ชุ่มน้ำ หรือพื้นที่สองฟากฝั่งลำน้ำ เพิ่มขึ้นเป็น 23.5 ตัน/ไร่ ผืนป่าเขายายดาสามารถเก็บกักและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อน
“เราต้องปลูกฝังคนละนิดคนละหน่อย เพราะการปลูกป่าไม่ใช่ภาระคนใดคนหนึ่ง ก็จะใช้วิกฤติภาวะโลกร้อนให้เป็นโอกาสในการช่วยกันสร้างฝายและปลูกต้นไม้ และก็อยากให้ทุกคนช่วยกันดูแลฝายที่สร้างแล้ว รวมทั้งให้เอสซีจีช่วยเป็นพี่เลี้ยงตลอดไป” ผู้ใหญ่ประสงค์ ระบุ
ส่วนโจรกลับใจอย่างผู้ใหญ่เสวตร บอกทิ้งท้ายว่า ต่อไปเราจะเปิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เขายายดาหลังจากเปิดสวนเที่ยวชิมผลไม้โดยจะทำข้อมูลเผยแพร่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การสร้างฝายมีประโยชน์อย่างไร ต้นไม้แต่ละต้นมีประโยชน์อย่างไรเพื่อให้ลูกหลานของเราไปดูซึ่งเขายายดาจะเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน และขอฝากไปยังทุกคนที่จะมาจังหวัดระยองขอให้ช่วยกันดูแลเขายายดา เพราะเขายายดาเป็นของคนทั้งประเทศ
“ฝาย” คำๆ นี้ หลายๆ คนคงคุ้นเคยแต่จะมีสักกี่คนที่จะเข้าใจลึกซึ้งถึงแก่นของคำว่า “ฝาย” ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้มีการศึกษาสร้างฝายต้นน้ำมาตั้งแต่ปี 2526 ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่
...และผู้ที่จะสามารถถ่ายทอดความหมายของคำว่า “ฝาย” ได้ดีที่สุดย่อมหนีไม่พ้น “โจรกลับใจ” อย่าง “เสวตร บุญฤทธิ์” ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 11 ผู้แทนชุมชนจากเขายายดา ผู้ใหญ่เสวตร เปิดใจว่า เมื่อก่อนตนเองก็เป็นชาวบ้านธรรมดา จนกระทั่งปี 2519 ดร.พงษ์ศักดิ์ วิทวัสชุติกุล ซึ่งปัจจุบันท่านเป็นผู้อำนวยการส่วนวิจัยต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้เข้ามาประจำที่เขายายดา ในสมัยนั้นตนเองก็กำลังหนุ่มอายุประมาณ 19-20 ปี ดร.พงษ์ศักดิ์ ก็จะทำหน้าที่ปลูกป่า ส่วนชาวบ้านอย่างพวกตนก็จะเผาทำลายป่าเพื่อให้หญ้าขึ้นเป็นอาหารของวัว
“ตอนนั้นป่ามีความอุดมสมบูรณ์มากเราก็ยังไม่รู้สึก พวกราชการก็มาจากไหนก็ไม่รู้มาถึงก็ปลูกป่า จนปี 2547-2549 ป่าที่เคยสมบูรณ์มันก็แห้งแล้งเพราะมันเกิดจากไฟที่เราเผาป่า ไม่มีน้ำที่จะลดสวนผลไม้ ก็ต้องไปขอ อบต.ให้เขาเอาน้ำมาให้ แต่ก็ต้องทะเลาะเพื่อแย่งรถน้ำเพราะทุกหมู่ก็จะเอาน้ำเหมือนกัน จนในที่สุดเรามีโอกาสได้ไปดูฝายที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ แต่เมื่อกลับมาเราก็ยังทำไม่ได้จนเราเห็นบ.เอสซีจีฯ ประชาสัมพันธ์ว่าจะช่วยชุมชนก็เลยประสานขอให้เอสซีจีเข้ามาช่วย”
ผู้ใหญ่เสวตร เล่าต่อว่า การสร้างฝายที่เขายายดาจะไม่เหมือนที่เอสซีจีสร้างฝายที่ลำปางที่จะใช้ไม้ปักลงไปในดินทำเป็นแนวแต่ที่นี้จะใช้หินวางเรียงซ้อนกันเป็นแนวให้ชะลอน้ำแต่กว่าจะสำเร็จเหมือนวันนี้ก็มีปัญหาพอสมควรเพราะความเข้าใจตอนแรกของเราคือฝายที่สร้างมันจะช่วยเก็บกักน้ำตั้งแต่สร้างเสร็จแต่มันไม่ใช่เพราะน้ำไหลมาแรงฝายที่สร้างก็พังหมด ขณะเดียวกันชาวบ้านก็ไม่ให้ความร่วมมือมีแต่กรรมการหมู่บ้านไปทำ เพราะกลัว ดร.พงษ์ศักดิ์ ยึดที่ไปปลูกต้นไม้
ผู้ใหญ่ประสงค์ สุวรรณราย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 14 อีกหนึ่งผู้แทนชุมชนเขายายดา เล่าด้วยว่า 2 ปีแรกที่เราสร้างฝายชะลอน้ำมันไม่เห็นเป็นรูปธรรมแต่พอมาตอนนี้มันสมบูรณ์ กระท้อนออกลูกเต็มต้นไปหมด โดยปกติเดือน ก.พ.-มี.ค.มันจะแล้ง แต่นี่เขายายดาเขียวชะอุ่ม ก่อนสร้างฝายต้นไม้ที่นี่จะแดงแต่เมื่อมีฝายต้นไม้ที่นี่สีเขียวเราเห็นด้วยตาของเราเอง อีกทั้งเมื่อก่อนปูราชินีเกือบจะสูญพันธุ์ แต่ตอนนี้ขุดไปตรงไหนก็เจอ และที่สำคัญ พวกเราก็ไม่ต้องไปขอรถน้ำจากอบต.มาช่วยชาวบ้านอีกแล้ว
ขณะที่ผู้บุกเบิกคืนความเขียวขจีให้กับญาติผู้ใหญ่เขายายดาอย่าง ดร.พงษ์ศักดิ์ บอกว่า จากการศึกษาโดยวิธีการของ SCS-CN Methodology ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่เขายายดา ช่วยลดปริมาณน้ำหลาก พื้นที่ลุ่มน้ำสามารถเก็บกักน้ำได้มากขึ้น 900 ลบ.ม.มวลชีวภาพของต้นไม้ในป่าในส่วนของพื้นที่ชุ่มน้ำ หรือพื้นที่สองฟากฝั่งลำน้ำ เพิ่มขึ้นเป็น 23.5 ตัน/ไร่ ผืนป่าเขายายดาสามารถเก็บกักและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อน
“เราต้องปลูกฝังคนละนิดคนละหน่อย เพราะการปลูกป่าไม่ใช่ภาระคนใดคนหนึ่ง ก็จะใช้วิกฤติภาวะโลกร้อนให้เป็นโอกาสในการช่วยกันสร้างฝายและปลูกต้นไม้ และก็อยากให้ทุกคนช่วยกันดูแลฝายที่สร้างแล้ว รวมทั้งให้เอสซีจีช่วยเป็นพี่เลี้ยงตลอดไป” ผู้ใหญ่ประสงค์ ระบุ
ส่วนโจรกลับใจอย่างผู้ใหญ่เสวตร บอกทิ้งท้ายว่า ต่อไปเราจะเปิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เขายายดาหลังจากเปิดสวนเที่ยวชิมผลไม้โดยจะทำข้อมูลเผยแพร่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การสร้างฝายมีประโยชน์อย่างไร ต้นไม้แต่ละต้นมีประโยชน์อย่างไรเพื่อให้ลูกหลานของเราไปดูซึ่งเขายายดาจะเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน และขอฝากไปยังทุกคนที่จะมาจังหวัดระยองขอให้ช่วยกันดูแลเขายายดา เพราะเขายายดาเป็นของคนทั้งประเทศ