เตือนสตรีสูงอายุ วัยทอง ระวังภาวะกลั้นอุจจาระไม่อยู่สูงขึ้น มาจากหลายสาเหตุ เช่น บาดเจ็บอุ้งเชิงกรานขณะคลอดบุตร อุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบทวารหนัก กระดูกอุ้งเชิงกรานหัก กล้ามเนื้อหูรูดฉีก หากอาการไม่รุนแรงฝึกขมิบกล้ามเนื้อหูรูด ร่วมกับการปรับอาหารได้
นพ.อัฑฒ์ หิรัณยากาศ ศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โรงพยาบาลกรุงเทพ เปิดเผยว่า ขณะนี้พบภาวะกลั้นอุจจาระไม่อยู่เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะพบว่าอุบัติการณ์อาจเพิ่มสูงขึ้นใน สตรีสูงอายุ เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน หรือเข้าสู่วัยทอง เชื่อว่า ในช่วงเวลานี้การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ประกอบกับการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อจะส่งผลโดยตรงให้ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดที่ซ่อนอยู่เดิมสามารถแสดงอาการที่ชัดเจนขึ้นได้ โดยอาการอาจเริ่มต้นจากปัญหาการกลั้นลม ตามมาด้วยการกลั้นอุจจาระเหลวๆ ไม่ได้ จนในที่สุดไม่สามารถกลั้นอุจจาระที่เป็นก้อนได้ สาเหตุของโรคกลั้นอุจจาระไม่อยู่ อาจเกิดจาก การบาดเจ็บของอุ้งเชิงกรานขณะคลอดบุตร ซึ่งอาจมีผลต่อเส้นประสาท หรือตัวกล้ามเนื้อหูรูดเองเนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดกับช่องคลอดที่อยู่ติดกัน อุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบทวารหนัก กระดูกอุ้งเชิงกรานหัก กล้ามเนื้อหูรูดฉีก ในความเป็นจริงมีผู้ป่วยที่กลั้นอุจจาระไม่อยู่อีกเป็นจำนวนมากที่ไม่กล้ามาพบแพทย์ ด้วยความกังวล หรืออาย ทำให้ต้องแบกรับทุกข์หนัก และไม่มีความมั่นใจในการเข้าสังคม ไปตลอดชีวิต
ศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เผยว่า โดยทั่วไปอาการกลั้นอุจจาระไม่ได้มีอยู่ 2 แบบใหญ่ๆ คือ มีอุจจาระออกมาเปื้อนกางเกงชั้นในโดยไม่รู้ตัว ซึ่งเกิดจากอาการทำงานที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักชั้นใน และกลุ่มที่ไม่สามารถกลั้นอุจจาระได้นานพอ ทั้งนี้ เมื่อมีความรู้สึกอยากจะถ่ายมักไปห้องน้ำไม่ทัน สาเหตุของอาการในกลุ่มนี้อาจเกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดชั้นนอก นอกจากนี้การกลั้นอุจจาระไม่อยู่ยังรวมไปถึงการมีอุจจาระออกมาโดยไม่ตั้งใจ เช่นการมีอุจจาระออกมาในขณะผายลม
สำหรับแนวทางการรักษาหากอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยสามารถฝึกกล้ามเนื้อหูรูดให้กลับมาแข็งแรงอีกครั้งด้วยการออกกำลังกายเฉพาะส่วน เช่น การฝึกขมิบกล้ามเนื้อหูรูด ร่วมกับการปรับอาหาร และอาจมีการใช้ยาช่วย
“อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกาย และการปรับพฤติกรรมดังกล่าวอาจได้ผลในผู้ป่วยส่วนหนึ่งเท่านั้น การตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง จะนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้องต่อไป” ศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก กล่าว
ทั้งนี้ การตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แน่ชัดของโรคกลั้นอุจจาระไม่อยู่นั้น สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การตรวจด้วยคลื่นอัลตราซาวนด์ ตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI ตรวจวัดความดันภายในทวารหนัก การวัดการทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดด้วยคลื่นไฟฟ้า และเครื่องมือประเมินการทำงานของเส้นประสาทที่ทำหน้าที่รับผิดชอบกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักและอุ้งเชิงกราน ทั้งนี้การตรวจอย่างละเอียดและเป็นระบบจะช่วยในการวินิจฉัยหาสาเหตุของปัญหาอย่างแม่นยำ เพื่อให้สามารถวางแผนการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยในแต่ละรายได้ หากมีความจำเป็นต้องผ่าตัด การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะนี้มีหลายแบบ ตั้งแต่การผ่าตัดแผลใหญ่ในบริเวณทวารหนักในอดีต มาสู่การฝังหูรูดทวารเทียม และการผ่าตัดแผลเล็กเพื่อฝังเครื่องกระตุ้นเส้นประสาท เพื่อทำให้กล้ามเนื้อที่มีปัญหากลับมาทำงานได้ดีขึ้น นวัตกรรมการรักษาปัญหาการกลั้นอุจจาระโดยการกระตุ้นเส้นประสาทบริเวณไขสันหลังนี้เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายว่าเป็นการรักษาที่ผู้ป่วยเจ็บตัวน้อย ได้ผลดี นอกจากนี้ ยังมีภาวะแทรกซ้อนน้อยอีกด้วย การกระตุ้นเส้นประสาทบริเวณไขสันหลังทำได้โดยฝังตัวนำไฟฟ้าขนาดเล็กไว้ตรงตำแหน่งของเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อหูรูดทวาร จากนั้นต่อตัวนำไฟฟ้าเข้ากับแหล่งกำเนิดไฟฟ้าเพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อนไปกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหูรูดทำหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น
“ถึงแม้โรคนี้จะดูไม่น่ากลัวเหมือนโรคมะเร็ง หรือโรคหัวใจ แต่ผู้ป่วยมีความผิดปกติดังกล่าวจะประสบปัญหา ทำให้สูญเสียคุณภาพชีวิต ฉะนั้น ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง หรือผู้ป่วยที่กำลังประสบกับปัญหานี้ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาแต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้อาการลุกลามจนเกินกว่าจะแก้ไขได้” นพ.อัฑฒ์ กล่าวทิ้งท้าย
นพ.อัฑฒ์ หิรัณยากาศ ศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โรงพยาบาลกรุงเทพ เปิดเผยว่า ขณะนี้พบภาวะกลั้นอุจจาระไม่อยู่เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะพบว่าอุบัติการณ์อาจเพิ่มสูงขึ้นใน สตรีสูงอายุ เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน หรือเข้าสู่วัยทอง เชื่อว่า ในช่วงเวลานี้การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ประกอบกับการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อจะส่งผลโดยตรงให้ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดที่ซ่อนอยู่เดิมสามารถแสดงอาการที่ชัดเจนขึ้นได้ โดยอาการอาจเริ่มต้นจากปัญหาการกลั้นลม ตามมาด้วยการกลั้นอุจจาระเหลวๆ ไม่ได้ จนในที่สุดไม่สามารถกลั้นอุจจาระที่เป็นก้อนได้ สาเหตุของโรคกลั้นอุจจาระไม่อยู่ อาจเกิดจาก การบาดเจ็บของอุ้งเชิงกรานขณะคลอดบุตร ซึ่งอาจมีผลต่อเส้นประสาท หรือตัวกล้ามเนื้อหูรูดเองเนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดกับช่องคลอดที่อยู่ติดกัน อุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบทวารหนัก กระดูกอุ้งเชิงกรานหัก กล้ามเนื้อหูรูดฉีก ในความเป็นจริงมีผู้ป่วยที่กลั้นอุจจาระไม่อยู่อีกเป็นจำนวนมากที่ไม่กล้ามาพบแพทย์ ด้วยความกังวล หรืออาย ทำให้ต้องแบกรับทุกข์หนัก และไม่มีความมั่นใจในการเข้าสังคม ไปตลอดชีวิต
ศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เผยว่า โดยทั่วไปอาการกลั้นอุจจาระไม่ได้มีอยู่ 2 แบบใหญ่ๆ คือ มีอุจจาระออกมาเปื้อนกางเกงชั้นในโดยไม่รู้ตัว ซึ่งเกิดจากอาการทำงานที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักชั้นใน และกลุ่มที่ไม่สามารถกลั้นอุจจาระได้นานพอ ทั้งนี้ เมื่อมีความรู้สึกอยากจะถ่ายมักไปห้องน้ำไม่ทัน สาเหตุของอาการในกลุ่มนี้อาจเกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดชั้นนอก นอกจากนี้การกลั้นอุจจาระไม่อยู่ยังรวมไปถึงการมีอุจจาระออกมาโดยไม่ตั้งใจ เช่นการมีอุจจาระออกมาในขณะผายลม
สำหรับแนวทางการรักษาหากอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยสามารถฝึกกล้ามเนื้อหูรูดให้กลับมาแข็งแรงอีกครั้งด้วยการออกกำลังกายเฉพาะส่วน เช่น การฝึกขมิบกล้ามเนื้อหูรูด ร่วมกับการปรับอาหาร และอาจมีการใช้ยาช่วย
“อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกาย และการปรับพฤติกรรมดังกล่าวอาจได้ผลในผู้ป่วยส่วนหนึ่งเท่านั้น การตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง จะนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้องต่อไป” ศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก กล่าว
ทั้งนี้ การตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แน่ชัดของโรคกลั้นอุจจาระไม่อยู่นั้น สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การตรวจด้วยคลื่นอัลตราซาวนด์ ตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI ตรวจวัดความดันภายในทวารหนัก การวัดการทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดด้วยคลื่นไฟฟ้า และเครื่องมือประเมินการทำงานของเส้นประสาทที่ทำหน้าที่รับผิดชอบกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักและอุ้งเชิงกราน ทั้งนี้การตรวจอย่างละเอียดและเป็นระบบจะช่วยในการวินิจฉัยหาสาเหตุของปัญหาอย่างแม่นยำ เพื่อให้สามารถวางแผนการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยในแต่ละรายได้ หากมีความจำเป็นต้องผ่าตัด การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะนี้มีหลายแบบ ตั้งแต่การผ่าตัดแผลใหญ่ในบริเวณทวารหนักในอดีต มาสู่การฝังหูรูดทวารเทียม และการผ่าตัดแผลเล็กเพื่อฝังเครื่องกระตุ้นเส้นประสาท เพื่อทำให้กล้ามเนื้อที่มีปัญหากลับมาทำงานได้ดีขึ้น นวัตกรรมการรักษาปัญหาการกลั้นอุจจาระโดยการกระตุ้นเส้นประสาทบริเวณไขสันหลังนี้เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายว่าเป็นการรักษาที่ผู้ป่วยเจ็บตัวน้อย ได้ผลดี นอกจากนี้ ยังมีภาวะแทรกซ้อนน้อยอีกด้วย การกระตุ้นเส้นประสาทบริเวณไขสันหลังทำได้โดยฝังตัวนำไฟฟ้าขนาดเล็กไว้ตรงตำแหน่งของเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อหูรูดทวาร จากนั้นต่อตัวนำไฟฟ้าเข้ากับแหล่งกำเนิดไฟฟ้าเพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อนไปกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหูรูดทำหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น
“ถึงแม้โรคนี้จะดูไม่น่ากลัวเหมือนโรคมะเร็ง หรือโรคหัวใจ แต่ผู้ป่วยมีความผิดปกติดังกล่าวจะประสบปัญหา ทำให้สูญเสียคุณภาพชีวิต ฉะนั้น ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง หรือผู้ป่วยที่กำลังประสบกับปัญหานี้ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาแต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้อาการลุกลามจนเกินกว่าจะแก้ไขได้” นพ.อัฑฒ์ กล่าวทิ้งท้าย