สช.จี้รัฐต้องให้ความสำคัญด้านเทคโนโลยีการบริการทางไกล ในการเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มากกว่ากังวลเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานด้านสาธารณสุข และการเน้นเมดิคัล ฮับ เชื่อ ลดปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ได้
วันนี้ (3 ก.ค.) นพ.วิพุธ พูลเจริญ ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบเอชไอเอ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวถึงผลกระทบในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนต่อระบบสุขภาพ ในงานประชุม “สานพลัง คสช.ขับเคลื่อนนโยบาย เคลื่อนไหวสังคม” ว่า การเตรียมรับมือกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้านสาธารณสุข ในปี 2558 ประเทศต้องวางแผนและมุ่งประเด็นให้ดี เนื่องจากส่วนใหญ่มีความกังวล ว่า แรงงานด้านสุขภาพจะเคลื่อนย้ายเข้าสู่ประเทศไทย และมาแย่งอาชีพ ทั้งที่ไม่จำเป็นต้องกังวล เพราะไทยมีศักยภาพในการผลิตแพทย์ พยาบาล และบุคลากรสาธารณสุขที่มีคุณภาพอยู่แล้ว ส่วนการชูเรื่องเมดิคัล ฮับ อย่างเดียวก็ไม่ถูก เพราะหากพิจารณาแล้ว จะพบว่า การเข้ามาของผู้ป่วยต่างชาติจะเน้นไปที่กลุ่มคนมีฐานะ ซึ่งมีเพียงร้อยละ 4-5 ถือว่าไม่มากนัก แต่กลับต้องพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทาง มีการดึงกลุ่มแพทย์ภาครัฐ กลายเป็นปัญหาขาดแคลนแพทย์ และทำให้กังวลกันว่า ประชาคมอาเซียนจะส่งผลกระทบต่อไทย ซึ่งไม่ใช่ทั้งหมด
นพ.วิพุธ กล่าวอีกว่า ประเทศไทยต้องเตรียมพร้อมกับอาเซียน โดยต้องวางแผนการค้าบริการทางสุขภาพ 4 ด้าน ได้แก่ 1.การบริการทางไกล เช่น การอ่านฟิล์มเอกซเรย์ทางไกล (Tele-radiologist) 2.การรับบริการข้ามพรมแดน เช่น เมดิคัล ฮับ 3.การข้ามชาติไปลงทุนบริการ เช่น โรงพยาบาล บริการทางด้านสุขภาพ อุตสาหกรรมยา และ 4.การเคลื่อนย้ายแรงงานด้านสุขภาพ เช่น แพทย์เฉพาะด้าน พยาบาล และนักเทคนิค โดยสิ่งที่ไทยมักมองข้ามและไม่ให้ความสำคัญ คือ เรื่อง การบริการทางไกล ซึ่งเป็นการบริการทางการแพทย์ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยเฉพาะการอ่านฟิล์มเอกซเรย์ทางไกล ซึ่งการทำงานลักษณะนี้จะช่วยลดปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ได้ และยังเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับแพทย์ไทยอีกด้วย ซึ่งหากรัฐบาลเข้ามาสนับสนุนและมีการควบคุมอย่างเหมาะสมก็จะเป็นการเตรียมพร้อมที่มีศักยภาพ และทำให้ต่างชาติเห็นว่าไทยมีวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีที่ดี
นพ.วิพุธ กล่าวต่อไปว่า จุดแข็งของไทย คือ ภาคเอกชนตื่นตัวมานาน เชื่อว่าเมื่อมีการเปิดเสรี จะมีแนวโน้มไปลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียนมากขึ้น โดยเฉพาะการสร้างโรงพยาบาลเครือข่ายจากไทยสู่ต่างชาติ โดยเฉพาะพม่า และอินโดนีเซีย ซึ่งหากมีการเปิดเสรีขึ้น เชื่อว่าภาคเอกชนของไทยจะต้องไปลงทุนแน่นอน และจะไปในลักษณะกลุ่มโรงพยาบาลเครือข่าย ส่วนภาครัฐ ข้อดีจะมีในเรื่องแหล่งการเรียนรู้เฉพาะทาง ซึ่งในแต่ละปีจะมีประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะลาวมาอบรมตลอด ตรงนี้หากมีการขยายความร่วมมือร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ โดยจัดทำเป็นศูนย์อบรมประจำประเทศนั้นๆ ก็จะช่วยพัฒนาให้การแพทย์ไทยเป็นที่ยอมรับมากขึ้น และยังเป็นการทำงานเชิงรุก ไม่ใช่แค่ตั้งรับอย่างเดียว
วันนี้ (3 ก.ค.) นพ.วิพุธ พูลเจริญ ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบเอชไอเอ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กล่าวถึงผลกระทบในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนต่อระบบสุขภาพ ในงานประชุม “สานพลัง คสช.ขับเคลื่อนนโยบาย เคลื่อนไหวสังคม” ว่า การเตรียมรับมือกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้านสาธารณสุข ในปี 2558 ประเทศต้องวางแผนและมุ่งประเด็นให้ดี เนื่องจากส่วนใหญ่มีความกังวล ว่า แรงงานด้านสุขภาพจะเคลื่อนย้ายเข้าสู่ประเทศไทย และมาแย่งอาชีพ ทั้งที่ไม่จำเป็นต้องกังวล เพราะไทยมีศักยภาพในการผลิตแพทย์ พยาบาล และบุคลากรสาธารณสุขที่มีคุณภาพอยู่แล้ว ส่วนการชูเรื่องเมดิคัล ฮับ อย่างเดียวก็ไม่ถูก เพราะหากพิจารณาแล้ว จะพบว่า การเข้ามาของผู้ป่วยต่างชาติจะเน้นไปที่กลุ่มคนมีฐานะ ซึ่งมีเพียงร้อยละ 4-5 ถือว่าไม่มากนัก แต่กลับต้องพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทาง มีการดึงกลุ่มแพทย์ภาครัฐ กลายเป็นปัญหาขาดแคลนแพทย์ และทำให้กังวลกันว่า ประชาคมอาเซียนจะส่งผลกระทบต่อไทย ซึ่งไม่ใช่ทั้งหมด
นพ.วิพุธ กล่าวอีกว่า ประเทศไทยต้องเตรียมพร้อมกับอาเซียน โดยต้องวางแผนการค้าบริการทางสุขภาพ 4 ด้าน ได้แก่ 1.การบริการทางไกล เช่น การอ่านฟิล์มเอกซเรย์ทางไกล (Tele-radiologist) 2.การรับบริการข้ามพรมแดน เช่น เมดิคัล ฮับ 3.การข้ามชาติไปลงทุนบริการ เช่น โรงพยาบาล บริการทางด้านสุขภาพ อุตสาหกรรมยา และ 4.การเคลื่อนย้ายแรงงานด้านสุขภาพ เช่น แพทย์เฉพาะด้าน พยาบาล และนักเทคนิค โดยสิ่งที่ไทยมักมองข้ามและไม่ให้ความสำคัญ คือ เรื่อง การบริการทางไกล ซึ่งเป็นการบริการทางการแพทย์ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยเฉพาะการอ่านฟิล์มเอกซเรย์ทางไกล ซึ่งการทำงานลักษณะนี้จะช่วยลดปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ได้ และยังเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับแพทย์ไทยอีกด้วย ซึ่งหากรัฐบาลเข้ามาสนับสนุนและมีการควบคุมอย่างเหมาะสมก็จะเป็นการเตรียมพร้อมที่มีศักยภาพ และทำให้ต่างชาติเห็นว่าไทยมีวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีที่ดี
นพ.วิพุธ กล่าวต่อไปว่า จุดแข็งของไทย คือ ภาคเอกชนตื่นตัวมานาน เชื่อว่าเมื่อมีการเปิดเสรี จะมีแนวโน้มไปลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียนมากขึ้น โดยเฉพาะการสร้างโรงพยาบาลเครือข่ายจากไทยสู่ต่างชาติ โดยเฉพาะพม่า และอินโดนีเซีย ซึ่งหากมีการเปิดเสรีขึ้น เชื่อว่าภาคเอกชนของไทยจะต้องไปลงทุนแน่นอน และจะไปในลักษณะกลุ่มโรงพยาบาลเครือข่าย ส่วนภาครัฐ ข้อดีจะมีในเรื่องแหล่งการเรียนรู้เฉพาะทาง ซึ่งในแต่ละปีจะมีประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะลาวมาอบรมตลอด ตรงนี้หากมีการขยายความร่วมมือร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ โดยจัดทำเป็นศูนย์อบรมประจำประเทศนั้นๆ ก็จะช่วยพัฒนาให้การแพทย์ไทยเป็นที่ยอมรับมากขึ้น และยังเป็นการทำงานเชิงรุก ไม่ใช่แค่ตั้งรับอย่างเดียว