“พระองค์โสม” ประทานปริญญาบัตรและประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข พร้อมประทานโอวาทให้ตระหนักถึงความรับผิดชอบในฐานะผู้มีความรู้ ความสามารถด้านสุขภาพ ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยใจรัก และช่วยให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีโดยทั่วกัน
วันนี้ (28 มิ.ย.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่อาคารใหม่ สวนอัมพร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ซึ่งเป็นสถาบันสมทบกับมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีการศึกษา 2554 เป็นวันแรก โดยมีวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์นิทัศน์ รายยวา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และข้าราชการเฝ้ารับเสด็จฯ
ทั้งนี้ ในปีการศึกษา 2554 มีผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรต่างๆ รวมทั้งสิ้น 4,763 คน ในภาคเช้ามีผู้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจำนวน 1,420 คน เป็นบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลที่เป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล 10 แห่ง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3 แห่ง และในภาคบ่ายมีผู้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจำนวน 1,375 คน เป็นบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยบูรพา 4 แห่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 5 แห่ง และมหาวิทยาลัยขอนแก่น 6 แห่ง นอกจากนี้ยังได้พระราชทานรางวัลผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ที่ได้คะแนนสูงสุดตลอดหลักสูตร และเป็นผู้ที่มีความประพฤติดี พระราชทานรางวัลมูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร (ชุมพล) จุฑาธุช ให้แก่อาจารย์พยาบาล พยาบาลที่ปฏิบัติงานนานและดีเด่น และรางวัลเพชรกาสะลอง ประจำปี 2555 ให้แก่พยาบาลดีเด่น ข้าราชการที่ได้รับรางวัลดีเด่นของ กระทรวงสาธารณสุขในโอกาสนี้ด้วย
ในการนี้ ได้ประทานพระโอวาท ความว่า การที่กระทรวงสาธารณสุขรับบุคคลในพื้นที่เข้าศึกษา และกลับไปปฏิบัติงานในท้องถิ่นภูมิลำเนาเป็นแนวคิดที่น่าชื่นชม แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับคุณค่าของทุกชีวิตอย่างเท่าเทียม ไม่เว้นแม้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ผู้สำเร็จการศึกษาจึงควรตระหนักถึงความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ในด้านการดูแลสุขภาพ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศ ต้องทำความเข้าใจกับปัญหา เปิดใจยอมรับความแตกต่างของแต่ละบุคคล ปรับวิธีให้บริการให้เหมาะสมสอดคล้องกับบริบท และข้อจำกัดขอให้ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรัก อยู่ในกรอบของความดีงาม มีความเมตตา มีเหตุผล หนักแน่น เข้มแข็ง มีความมั่นคงทางอารมณ์ ปรารถนาดีต่อผู้รับบริการเสมือนเป็นญาติพี่น้องในครอบครัว ช่วยให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีโดยทั่วกัน
กระทรวงสาธารณสุขได้จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อผลิตกำลังคนด้านสุขภาพให้แก่สถานบริการที่อยู่ในสังกัดทั่วประเทศ มีวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดรวม 37 แห่ง ประกอบด้วย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี 29 แห่ง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร 7 แห่ง และวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก 1 แห่ง ดำเนินการผลิตตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ และองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้วิทยาลัยพยาบาลเข้าเป็นสถาบันสมทบในหลักสูตรระดับปริญญาตรี รับบุคคลในพื้นที่เข้าศึกษาและกลับไปปฏิบัติงานดูแลสุขภาพประชาชนในภูมิลำเนาตนเอง โดยกำหนดหลักสูตรและจำนวนการรับเข้าศึกษา เป็นไปตามความจำเป็นของการจัดบริการทางสุขภาพ สภาพปัญหา และแนวทางการพัฒนางานสาธารณสุข มีหน่วยงานที่รับผิดชอบการผลิตบุคลากรคือสถาบันพระบรมราชชนก
วันนี้ (28 มิ.ย.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่อาคารใหม่ สวนอัมพร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ซึ่งเป็นสถาบันสมทบกับมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีการศึกษา 2554 เป็นวันแรก โดยมีวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์นิทัศน์ รายยวา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และข้าราชการเฝ้ารับเสด็จฯ
ทั้งนี้ ในปีการศึกษา 2554 มีผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรต่างๆ รวมทั้งสิ้น 4,763 คน ในภาคเช้ามีผู้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจำนวน 1,420 คน เป็นบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลที่เป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล 10 แห่ง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3 แห่ง และในภาคบ่ายมีผู้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจำนวน 1,375 คน เป็นบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยบูรพา 4 แห่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 5 แห่ง และมหาวิทยาลัยขอนแก่น 6 แห่ง นอกจากนี้ยังได้พระราชทานรางวัลผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ที่ได้คะแนนสูงสุดตลอดหลักสูตร และเป็นผู้ที่มีความประพฤติดี พระราชทานรางวัลมูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร (ชุมพล) จุฑาธุช ให้แก่อาจารย์พยาบาล พยาบาลที่ปฏิบัติงานนานและดีเด่น และรางวัลเพชรกาสะลอง ประจำปี 2555 ให้แก่พยาบาลดีเด่น ข้าราชการที่ได้รับรางวัลดีเด่นของ กระทรวงสาธารณสุขในโอกาสนี้ด้วย
ในการนี้ ได้ประทานพระโอวาท ความว่า การที่กระทรวงสาธารณสุขรับบุคคลในพื้นที่เข้าศึกษา และกลับไปปฏิบัติงานในท้องถิ่นภูมิลำเนาเป็นแนวคิดที่น่าชื่นชม แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับคุณค่าของทุกชีวิตอย่างเท่าเทียม ไม่เว้นแม้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ผู้สำเร็จการศึกษาจึงควรตระหนักถึงความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ในด้านการดูแลสุขภาพ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศ ต้องทำความเข้าใจกับปัญหา เปิดใจยอมรับความแตกต่างของแต่ละบุคคล ปรับวิธีให้บริการให้เหมาะสมสอดคล้องกับบริบท และข้อจำกัดขอให้ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรัก อยู่ในกรอบของความดีงาม มีความเมตตา มีเหตุผล หนักแน่น เข้มแข็ง มีความมั่นคงทางอารมณ์ ปรารถนาดีต่อผู้รับบริการเสมือนเป็นญาติพี่น้องในครอบครัว ช่วยให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีโดยทั่วกัน
กระทรวงสาธารณสุขได้จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อผลิตกำลังคนด้านสุขภาพให้แก่สถานบริการที่อยู่ในสังกัดทั่วประเทศ มีวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดรวม 37 แห่ง ประกอบด้วย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี 29 แห่ง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร 7 แห่ง และวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก 1 แห่ง ดำเนินการผลิตตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ และองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้วิทยาลัยพยาบาลเข้าเป็นสถาบันสมทบในหลักสูตรระดับปริญญาตรี รับบุคคลในพื้นที่เข้าศึกษาและกลับไปปฏิบัติงานดูแลสุขภาพประชาชนในภูมิลำเนาตนเอง โดยกำหนดหลักสูตรและจำนวนการรับเข้าศึกษา เป็นไปตามความจำเป็นของการจัดบริการทางสุขภาพ สภาพปัญหา และแนวทางการพัฒนางานสาธารณสุข มีหน่วยงานที่รับผิดชอบการผลิตบุคลากรคือสถาบันพระบรมราชชนก