โดย...จารยา บุญมาก
ไม่ว่าข้อเท็จจริงกรณีเขาพระวิหาร จะเป็นอย่างไร และมีส่วนทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชา แตกร้าวในเชิงสังคมจริงๆ หรือเป็นเพียงภาพเหมารวมก็ตาม นั่นคงไม่ใช่สาระหลักที่เราจะมองกัมพูชาในวันนี้..
..หากมองในมิติการท่องเที่ยวแล้ว กัมพูชาถือว่าได้ความนิยมในการเดินทางมาเยี่ยมชมโบราณสถานที่ยิ่งใหญ่ ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกให้ไปสัมผัสได้ โดยเฉพาะสิ่งอัศจรรย์ของโลก อย่างนครวัด นครธม หรือ Angkorwat ที่เมืองเสียมเรียบ ซึ่งเต็มไปด้วยปราสาทน้อยใหญ่กว่า 500 หลัง รอให้ชาวต่างชาติไปเยือนตลอดปี แต่น้อยคนนักที่จะได้สัมผัสมิติอื่น อาทิ สังคม ศาสนา ชุมชน ซึ่งไทยและกัมพูชา มีไม่ต่างกัน
จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ ASTVผู้จัดการ ได้รับเชิญจากมูลนิธิโตโยต้าแห่งประเทศไทย ให้ร่วมคณะผ้าป่าสามัคคีสันติภาพ กัมพูชา-ไทย ร่วมกับศูนย์ศรีสะเกษศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.)ศรีสะเกษ และ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ รวมทั้งเดินทางเยี่ยมชมปราสาทนครวัด นครธม และชุมชนชาวประมงในพื้นที่โตนเลสาป ฝั่งเสียมเรียบด้วย เพื่อสานต่อสันติภาพแบบเมืองพี่เมืองน้องอีกครั้ง
กิจกรรมครั้งนี้ คณะเดินทาง ตกลงกันว่า การเดินทางเยือนต่างแดนสิ่งหนึ่งที่จะทำให้การเยือนเป็นไปอย่างเรียบง่าย และสบายใจ คือ ต้องไม่สวมอคติ หรือความเป็นตัวเองมากเกินไป แต่ต้องปรับตัวให้คล้ายกับพื้นที่ ซึ่งหลายคนก็ทำได้ดี สิ่งหนึ่งที่ชาวกัมพูชา หรือ ขแมร์ กำลังเผชิญ คือ ปัญหาของแพง ค่าแรงถูก บวกกับสถานการณ์คอร์รัปชันเอารัดเอาเปรียบประชาชน จนทำให้คุณภาพชีวิตแย่ ไม่พอกินพอใช้ และนั่นทำให้หลายคนเลือกเข้าสู่ระบบการค้าแรงงานในประเทศไทย รวมทั้งยึดอาชีพขายสินค้าช่วงรอยต่อของชายแดน ซึ่งเมื่อเกิดกรณีขัดแย้งตามแนวชายแดน แน่นอนว่า ความเป็นอยู่ของชาวขแมร์ย่อมกระทบไปด้วย
ในสายตานักท่องเที่ยวหลายคน มองว่า เด็กๆ ที่พยายามห้อมล้อมเพื่อขอเงินด้วยการขอฟรี จากเรือ หรือแลกกับบริการทั้งนวดไหล่ นวดหัว หรือช่วยหิ้วของ เป็นพฤติกรรมที่ปกติ หรืออย่างเลวร้ายก็ถูกนายจ้างบังคับใช้แรงงาน แต่เบื้องลึกแล้ว หลายคนก็ภูมิใจกับงานของตนไม่น้อย
“แว้ง” (นามสมมติ) เด็กชายวัย 14 ปี ชาวพนมกรอม เล่าระหว่างการล่องเรือเยี่ยมชมหมู่บ้านชาวประมง ว่า เขาทำงานบนเรือมาตั้งแต่อายุ 7 ปี ทุกเช้าเสาร์ และอาทิตย์ ต้องลงเรือเพื่อหารายได้พิเศษ โดยการบริการลูกเรือ โดยหากใครกระเป๋าหนัก ก็จะยอมควักจ่ายสูงถึง 500 บาท เลยทีเดียว โดยเฉพาะชนชาติอาหรับและเกาหลี แต่สำหรับคนไทยนั้น แว้ง ยอมรับว่า น้อยนักที่จะได้เงิน เพราะคนไทยมองว่าพวกเขา คือ ขอทานที่พยายามตื้อนักท่องเที่ยว เท่านั้น
“ผมไม่ได้ขอเงินพวกเขาฟรี ผมไม่ได้จะกวน แต่มัน คือ งาน เพียงแต่บางครั้งเราไม่รู้จะทำยังไงให้เขาเข้าใจ ซึ่งบางครั้งก็โดนตวาดจนน่ากลัว แต่ผมต้องฝืนใจทำ เพราะหากทำไม่ได้ถึง 1,000 บาทต่อวัน เงินส่วนแบ่งจากเจ้าของเรือก็จะไม่ได้เลย เพราะเขาตั้งค่าจ้างไว้ที่ 100 บาท หรือ 60 บาท ต่อรายได้ 1,000 แต่หากมากกว่านั้น ก็ไม่มีค่าจ้างเพิ่มเติมแต่อย่างใด” เด็กชายยืนกรานในความประสงค์
แว้ง เป็นเด็กที่สื่อสารภาษาอังกฤษได้ดีเยี่ยม และพูดภาษาไทยได้เล็กน้อย แต่เขามีความต้องการจะเรียนเพื่อไปเป็นครูสอนวิชาภาษากัมพูชา เพราะว่ารักในความเป็นขแมร์ และไม่ต้องการลืมภาษาของตัวเอง แม้แว้งจะบอกเล่าชีวิตและความใฝ่ฝันได้อย่างชัดเจนก็ตาม แต่เขาก็พูดแบบตัดใจในตอนทายว่า เป็นไปได้ยากที่จะทำงานนั้น เพราะขณะนี้กระแสท่องเที่ยวเข้ามามากมาย อาชีพที่นิยมก็ต้องหนีไม่พ้นไกด์ ซึ่งขณะนี้เขาต้องศึกษาประวัติกัมพูชาเพิ่มเติม เพื่อถ่ายทอดให้นักท่องเที่ยว ในบางโอกาสที่มีคนสอบถาม ซึ่งค่าตอบแทนก็จะเป็นเงินจำนวน 20-50 บาท แบบไม่ถูกหักเปอร์เซ็นต์ จากนายจ้างคนใดเลย
ขณะที่ “ซะ” เด็กชายรุ่นเดียวกัน กล่าวถึงอนาคตของพวกเขาอย่างไร้เดียงสา ว่า โตขึ้นอยากจะเป็นคนขับเรือ และขณะนี้เขาพยายามเก็บเงิน ซึ่งส่วนหนึ่งได้จากพ่อที่ไปทำก่อสร้างในเมืองไทย เพื่อมาสมทบเงินซื้อเรือ เป็นของครอบครัวและออกรับจ้างนักท่องเที่ยวในพื้นที่ อย่างน้อยๆ ก็ไม่ต้องออกจากประเทศไปรับจ้างที่อื่น ซะจึงตั้งเป้าชัดเจนว่า เขาต้องการทำงานเป็นคนขับเรือ เพื่อให้ได้ค่าแรงเท่ากับพี่ๆ ในวงการที่มีรายได้ประมาณ 8,000-10,000 บาท
ฝันของเด็กชายทั้งสองคน สะท้อนว่า พวกเขาพยายามจะปรับตัวให้ทันกระแส เพื่อความอยู่รอด แต่ก็ไม่เคยคิดจะหนีความย่ำแย่ทางเศรษฐกิจไปไกล เพราะรู้ดีว่า ชาติบ้านเกิด คือ ความอบอุ่นที่ดีที่สุดเสมอ
ขณะที่อีกมิติด้านศาสนา ที่ฉายภาพความสามัคคี และความศรัทธาแบบพุทธศาสนิกชน ไม่ต่างจากชาวไทย คือ ความพร้อมเพรียงในการทำกิจกรรมทางวัด “ไฮ จันโท” (Hay Chanthou) ชาวเมืองเสียมเรียบ วัย 30 ปี กล่าวด้วยรอยยิ้มหลังเสร็จภารกิจทอดผ้าป่าสามัคคี ในวัดตำหนัก เมืองเสียมเรียบ ว่า เธอรู้สึกดีที่ได้เจอกับคณะผ้าป่าจากเมืองไทย และอยากจะไปร่วมพิธีกรรมทางศาสนา ในวัดไทยบ้างว่าเหมือนหรือต่างกันมากน้อยเพียงใด
สำหรับจันโทและชาวกัมพูชาส่วนใหญ่แล้ว ความเคร่งครัดเรื่องการแต่งกาย และการสำรวม เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เมื่อเข้าวัด นั่นคือ หญิง ชาย ต้องแต่งกายด้วยเสื้อเชิ้ตสีขาว ชายนุ่งกางเกง หรือผ้าโสร่ง หญิงนุ่งผ้าถุง หรืออาจแต่งเครื่องแบบนักเรียนได้ หากเป็นวัยเรียน เพื่อแสดงความเคารพอาคารสถานที่
จันโท อธิบายเพิ่มว่า การที่ชาวกัมพูชาที่อาศัยในเมืองเข้าวัดได้นั้น ไม่ใช่เรื่องยาก แต่สำหรับบางหมู่บ้าน ที่อยู่ห่างไกลวัดมากกว่า 10 กิโลเมตร โดยเฉพาะผู้สูงอายุจะไม่มีวันละเลยต่อวันสำคัญทางศาสนา แม้แต่วันพระธรรมดา หรือไงเศล ก็ต้องตรงต่อเวลาฉันภัตตาหารช่วงเช้า เวลา 7 โมงเช้า ด้วยเหตุนี้จึงมักพบผู้สูงอายุ จำนวนไม่น้อยที่นุ่งผ้าขาว เดินทางไปค้างคืนตามวัด เพื่อรอทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติที่ล่วงลับ และร่วมกิจกรรมอื่นๆ ทั้งในวันพระทั่วไปและวันพระใหญ่ เช่น วิสาขบูชา อาสาฬหบูชา เป็นต้น
ช่วงตะวันตกดิน ที่บริเวณ อังกอร์วัด ปราสาทนครธม มีกลุ่มชาวบ้านวัยชราหลายคนเ เข้าสู่รั้วปราสาทหลังใหญ่ เพื่อเตรียมอุปกรณ์ เช่น หมาก พลู บุหรี่ ยาสูบ ยาเส้น และขนมนานาชนิด รวมทั้งฝ้ายผูกแขน นั่งสนทนากับพระสงฆ์ เพื่อเตรียมงานวันพระ ท่ามกลางนักท่องเที่ยวหลายร้อยพันที่ทยอยเดินทางกลับที่พัก ซึ่งเป็นภาพที่งดงาม แบบวิถีพุทธและแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับความขัดแย้งระหว่างเรื่องการเมือง และปัญหาชายแดนที่สร้างมายาคติก่อนหน้านี้อย่างมาก...
ไม่ว่าข้อเท็จจริงกรณีเขาพระวิหาร จะเป็นอย่างไร และมีส่วนทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชา แตกร้าวในเชิงสังคมจริงๆ หรือเป็นเพียงภาพเหมารวมก็ตาม นั่นคงไม่ใช่สาระหลักที่เราจะมองกัมพูชาในวันนี้..
..หากมองในมิติการท่องเที่ยวแล้ว กัมพูชาถือว่าได้ความนิยมในการเดินทางมาเยี่ยมชมโบราณสถานที่ยิ่งใหญ่ ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกให้ไปสัมผัสได้ โดยเฉพาะสิ่งอัศจรรย์ของโลก อย่างนครวัด นครธม หรือ Angkorwat ที่เมืองเสียมเรียบ ซึ่งเต็มไปด้วยปราสาทน้อยใหญ่กว่า 500 หลัง รอให้ชาวต่างชาติไปเยือนตลอดปี แต่น้อยคนนักที่จะได้สัมผัสมิติอื่น อาทิ สังคม ศาสนา ชุมชน ซึ่งไทยและกัมพูชา มีไม่ต่างกัน
จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ ASTVผู้จัดการ ได้รับเชิญจากมูลนิธิโตโยต้าแห่งประเทศไทย ให้ร่วมคณะผ้าป่าสามัคคีสันติภาพ กัมพูชา-ไทย ร่วมกับศูนย์ศรีสะเกษศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.)ศรีสะเกษ และ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ รวมทั้งเดินทางเยี่ยมชมปราสาทนครวัด นครธม และชุมชนชาวประมงในพื้นที่โตนเลสาป ฝั่งเสียมเรียบด้วย เพื่อสานต่อสันติภาพแบบเมืองพี่เมืองน้องอีกครั้ง
กิจกรรมครั้งนี้ คณะเดินทาง ตกลงกันว่า การเดินทางเยือนต่างแดนสิ่งหนึ่งที่จะทำให้การเยือนเป็นไปอย่างเรียบง่าย และสบายใจ คือ ต้องไม่สวมอคติ หรือความเป็นตัวเองมากเกินไป แต่ต้องปรับตัวให้คล้ายกับพื้นที่ ซึ่งหลายคนก็ทำได้ดี สิ่งหนึ่งที่ชาวกัมพูชา หรือ ขแมร์ กำลังเผชิญ คือ ปัญหาของแพง ค่าแรงถูก บวกกับสถานการณ์คอร์รัปชันเอารัดเอาเปรียบประชาชน จนทำให้คุณภาพชีวิตแย่ ไม่พอกินพอใช้ และนั่นทำให้หลายคนเลือกเข้าสู่ระบบการค้าแรงงานในประเทศไทย รวมทั้งยึดอาชีพขายสินค้าช่วงรอยต่อของชายแดน ซึ่งเมื่อเกิดกรณีขัดแย้งตามแนวชายแดน แน่นอนว่า ความเป็นอยู่ของชาวขแมร์ย่อมกระทบไปด้วย
ในสายตานักท่องเที่ยวหลายคน มองว่า เด็กๆ ที่พยายามห้อมล้อมเพื่อขอเงินด้วยการขอฟรี จากเรือ หรือแลกกับบริการทั้งนวดไหล่ นวดหัว หรือช่วยหิ้วของ เป็นพฤติกรรมที่ปกติ หรืออย่างเลวร้ายก็ถูกนายจ้างบังคับใช้แรงงาน แต่เบื้องลึกแล้ว หลายคนก็ภูมิใจกับงานของตนไม่น้อย
“แว้ง” (นามสมมติ) เด็กชายวัย 14 ปี ชาวพนมกรอม เล่าระหว่างการล่องเรือเยี่ยมชมหมู่บ้านชาวประมง ว่า เขาทำงานบนเรือมาตั้งแต่อายุ 7 ปี ทุกเช้าเสาร์ และอาทิตย์ ต้องลงเรือเพื่อหารายได้พิเศษ โดยการบริการลูกเรือ โดยหากใครกระเป๋าหนัก ก็จะยอมควักจ่ายสูงถึง 500 บาท เลยทีเดียว โดยเฉพาะชนชาติอาหรับและเกาหลี แต่สำหรับคนไทยนั้น แว้ง ยอมรับว่า น้อยนักที่จะได้เงิน เพราะคนไทยมองว่าพวกเขา คือ ขอทานที่พยายามตื้อนักท่องเที่ยว เท่านั้น
“ผมไม่ได้ขอเงินพวกเขาฟรี ผมไม่ได้จะกวน แต่มัน คือ งาน เพียงแต่บางครั้งเราไม่รู้จะทำยังไงให้เขาเข้าใจ ซึ่งบางครั้งก็โดนตวาดจนน่ากลัว แต่ผมต้องฝืนใจทำ เพราะหากทำไม่ได้ถึง 1,000 บาทต่อวัน เงินส่วนแบ่งจากเจ้าของเรือก็จะไม่ได้เลย เพราะเขาตั้งค่าจ้างไว้ที่ 100 บาท หรือ 60 บาท ต่อรายได้ 1,000 แต่หากมากกว่านั้น ก็ไม่มีค่าจ้างเพิ่มเติมแต่อย่างใด” เด็กชายยืนกรานในความประสงค์
แว้ง เป็นเด็กที่สื่อสารภาษาอังกฤษได้ดีเยี่ยม และพูดภาษาไทยได้เล็กน้อย แต่เขามีความต้องการจะเรียนเพื่อไปเป็นครูสอนวิชาภาษากัมพูชา เพราะว่ารักในความเป็นขแมร์ และไม่ต้องการลืมภาษาของตัวเอง แม้แว้งจะบอกเล่าชีวิตและความใฝ่ฝันได้อย่างชัดเจนก็ตาม แต่เขาก็พูดแบบตัดใจในตอนทายว่า เป็นไปได้ยากที่จะทำงานนั้น เพราะขณะนี้กระแสท่องเที่ยวเข้ามามากมาย อาชีพที่นิยมก็ต้องหนีไม่พ้นไกด์ ซึ่งขณะนี้เขาต้องศึกษาประวัติกัมพูชาเพิ่มเติม เพื่อถ่ายทอดให้นักท่องเที่ยว ในบางโอกาสที่มีคนสอบถาม ซึ่งค่าตอบแทนก็จะเป็นเงินจำนวน 20-50 บาท แบบไม่ถูกหักเปอร์เซ็นต์ จากนายจ้างคนใดเลย
ขณะที่ “ซะ” เด็กชายรุ่นเดียวกัน กล่าวถึงอนาคตของพวกเขาอย่างไร้เดียงสา ว่า โตขึ้นอยากจะเป็นคนขับเรือ และขณะนี้เขาพยายามเก็บเงิน ซึ่งส่วนหนึ่งได้จากพ่อที่ไปทำก่อสร้างในเมืองไทย เพื่อมาสมทบเงินซื้อเรือ เป็นของครอบครัวและออกรับจ้างนักท่องเที่ยวในพื้นที่ อย่างน้อยๆ ก็ไม่ต้องออกจากประเทศไปรับจ้างที่อื่น ซะจึงตั้งเป้าชัดเจนว่า เขาต้องการทำงานเป็นคนขับเรือ เพื่อให้ได้ค่าแรงเท่ากับพี่ๆ ในวงการที่มีรายได้ประมาณ 8,000-10,000 บาท
ฝันของเด็กชายทั้งสองคน สะท้อนว่า พวกเขาพยายามจะปรับตัวให้ทันกระแส เพื่อความอยู่รอด แต่ก็ไม่เคยคิดจะหนีความย่ำแย่ทางเศรษฐกิจไปไกล เพราะรู้ดีว่า ชาติบ้านเกิด คือ ความอบอุ่นที่ดีที่สุดเสมอ
ขณะที่อีกมิติด้านศาสนา ที่ฉายภาพความสามัคคี และความศรัทธาแบบพุทธศาสนิกชน ไม่ต่างจากชาวไทย คือ ความพร้อมเพรียงในการทำกิจกรรมทางวัด “ไฮ จันโท” (Hay Chanthou) ชาวเมืองเสียมเรียบ วัย 30 ปี กล่าวด้วยรอยยิ้มหลังเสร็จภารกิจทอดผ้าป่าสามัคคี ในวัดตำหนัก เมืองเสียมเรียบ ว่า เธอรู้สึกดีที่ได้เจอกับคณะผ้าป่าจากเมืองไทย และอยากจะไปร่วมพิธีกรรมทางศาสนา ในวัดไทยบ้างว่าเหมือนหรือต่างกันมากน้อยเพียงใด
สำหรับจันโทและชาวกัมพูชาส่วนใหญ่แล้ว ความเคร่งครัดเรื่องการแต่งกาย และการสำรวม เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เมื่อเข้าวัด นั่นคือ หญิง ชาย ต้องแต่งกายด้วยเสื้อเชิ้ตสีขาว ชายนุ่งกางเกง หรือผ้าโสร่ง หญิงนุ่งผ้าถุง หรืออาจแต่งเครื่องแบบนักเรียนได้ หากเป็นวัยเรียน เพื่อแสดงความเคารพอาคารสถานที่
จันโท อธิบายเพิ่มว่า การที่ชาวกัมพูชาที่อาศัยในเมืองเข้าวัดได้นั้น ไม่ใช่เรื่องยาก แต่สำหรับบางหมู่บ้าน ที่อยู่ห่างไกลวัดมากกว่า 10 กิโลเมตร โดยเฉพาะผู้สูงอายุจะไม่มีวันละเลยต่อวันสำคัญทางศาสนา แม้แต่วันพระธรรมดา หรือไงเศล ก็ต้องตรงต่อเวลาฉันภัตตาหารช่วงเช้า เวลา 7 โมงเช้า ด้วยเหตุนี้จึงมักพบผู้สูงอายุ จำนวนไม่น้อยที่นุ่งผ้าขาว เดินทางไปค้างคืนตามวัด เพื่อรอทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติที่ล่วงลับ และร่วมกิจกรรมอื่นๆ ทั้งในวันพระทั่วไปและวันพระใหญ่ เช่น วิสาขบูชา อาสาฬหบูชา เป็นต้น
ช่วงตะวันตกดิน ที่บริเวณ อังกอร์วัด ปราสาทนครธม มีกลุ่มชาวบ้านวัยชราหลายคนเ เข้าสู่รั้วปราสาทหลังใหญ่ เพื่อเตรียมอุปกรณ์ เช่น หมาก พลู บุหรี่ ยาสูบ ยาเส้น และขนมนานาชนิด รวมทั้งฝ้ายผูกแขน นั่งสนทนากับพระสงฆ์ เพื่อเตรียมงานวันพระ ท่ามกลางนักท่องเที่ยวหลายร้อยพันที่ทยอยเดินทางกลับที่พัก ซึ่งเป็นภาพที่งดงาม แบบวิถีพุทธและแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับความขัดแย้งระหว่างเรื่องการเมือง และปัญหาชายแดนที่สร้างมายาคติก่อนหน้านี้อย่างมาก...