“สุกุมล” จี้ ช่อง 3 แสดงความรับผิดชอบหลังปล่อยผ่านเซ็นเซอร์ “ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์” โชว์เต้า อย่งหลงประเด็นพุ่งเป้าเจาะชีวิต “น้องปอนด์” ลดทอนกระแสโจมตีรายการ ชี้ ทำภาพลักษณ์ประเทศเสื่อม ด้าน ศูนย์คุณธรรม เตือนสติผู้จัดควรมีจริยธรรม คัดกรองเนื้อหารายการก่อนนำเสนอสู่สาธารณชน
วันนี้ (20 มิ.ย.) นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวถึงการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก กรณีรายการไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ นำเสนอภาพ น้องปอนด์ หรือ น.ส.ดวงใจ จันทร์เสือน้อย อายุ 23 ปี ได้เปลื้องผ้าใช้หน้าอกวาดรูปกลางรายการ ว่า เรื่องนี้จะต้องเร่งตรวจสอบอย่างเร่งด่วน เพราะการเผยแพร่ภาพที่ไม่เหมาะสมลักษณะนี้ต่อสาธารณชน โดยเฉพาะที่ติด เรต “ท” (ทั่วไป) ถือว่า เนื้อหารายการจะต้องมีการปรับปรุง เนื่องจากเวลาไพร์มไทม์ ที่เด็กและเยาวชนดูด้วย โดยเรื่องนี้คงไม่ใช่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งที่จะแก้ปัญหา แต่จะต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้จัด ผู้ที่ดูแลเรื่องเซ็นเซอร์ และที่สำคัญ ภาคประชาชนได้เห็นการเผยแพร่ลักษณะอย่างนี้ และแจ้งกลับเข้ามาว่าไม่เหมาะสม
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า กบว.ของแต่ละช่องไม่มีมาตรฐานกลางในการพิจารณา นางสุกุมล กล่าวว่า เรื่องนี้คงเป็นกรณีตัวอย่าง ซึ่งมีผลกระทบต่อความคิดของคนในสังคม และมีการแสดงความคิดเห็นในโซเชียลเน็ตเวิร์กมากมาย และเป็นจุดที่ทางช่องจะต้องหันมามองว่า ประเด็นความเหมาะสมอยู่ตรงไหน ควรมีการเผยแพร่แค่ไหน และคงจะต้องกระตุ้นและมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า ขณะนี้ได้มีการนำประเด็นความสงสารของหญิงโชว์เต้ามาแทนความถูกต้อง เพื่อลดกระแสโจมตีของสังคม นางสุกุมล กล่าวว่า ความจำเป็นส่วนตัวของผู้แสดงกับรับผิดชอบต่อสังคมเป็นคนละเรื่องกัน ตนเห็นว่าผู้จัด และทางช่อง ต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบ เพราะรายการนี้เป็นการนำเทปที่ไม่เหมาะสมมาออกอากาศ อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ตนไม่อยากให้พุ่งประเด็นไปที่ตัวบุคคล แต่ควรมองไปที่กระบวนการเซ็นเซอร์ของช่องมากกว่า เพราะหากเห็นว่าไม่เหมาะ ก็ไม่ควรนำเสนอ ประชาชนก็จะไม่มีโอกาสได้รับชมภาพลักษณะนี้ด้วย
“ประเด็นความรับผิดชอบในการจ้างผู้หญิงคนหนึ่งมาแสดงเพื่อดึงเรตติ้ง คงต้องเปิดโอกาสให้ชี้แจง เพื่อความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย อย่างไรก็ตาม ขบวนการตรวจสอบ หรือติดตามความคืบหน้า หรือประเด็นที่ว่า เป็นความจงใจหรือไม่ นั้น ทาง กสทช.เข้ามาตรวจสอบแล้ว สำหรับ วธ.ได้ทำหน้าที่ของเราอย่างเต็มที่แล้ว จึงอยากให้ทุกฝ่ายร่วมกันหาทางแนวทางไขในอนาคตมากกว่า ถ้าเราไปมุ่งเสนอตัวบุคคล และให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก ก็จะกลายเป็นประเด็นของการเลียนแบบ ซึ่งดิฉันไม่อยากเห็นเยาวชนที่มองว่าการออกมาแสดงลักษณะนี้เป็นที่ดึงดูดความสนใจของสาธารณชน อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้มีการพิสูจน์ว่าผู้หญิงถูกว่าจ้างมาจริงหรือไม่ ฉะนั้น ต้องรอข้อเท็จจริงก่อน จึงไม่สามารถไปวิจารณ์ได้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะไม่มีการออกอากาศลักษณะนี้ให้เห็นอีก เพราะเป็นภาพลักษณ์ของประเทศด้วย” นางสุกุมล กล่าว
น.ส.นราทิพย์ พุ่มทรัพย์ กรรมการบริหารศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม กล่าวว่า เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม ของคนไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญของประเทศ จึงไม่อยากให้ทุกคนโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่การนำเสนอข้อมูลต่างๆ จะต้องมีการคัดกรองก่อนที่จะเผยแพร่ไปสู่ประชาชน หากสื่อนำเสนอในเรื่องของละคร ก็ต้องบอกให้ประชาชนรับรู้ว่าเป็นละคร ถ้าเป็นเรื่องจริง ก็ต้องบอกว่าเป็นเรื่องจริง หากจะเป็นเรื่องของศิลปะ ต้องบอกว่าเป็นศิลปะ ต้องชัดเจนในเรื่องนี้ เพราะไม่อย่างนั้น เด็กและเยาวชนจะแยกแยะไม่ออก
“เรื่องจริยธรรมสื่อ หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งทุกภาคส่วนต้องร่วมกัน จะไปโทษสื่อเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ผู้จัด ผู้วางแผน ผู้ที่ดำเนินการทุกภาคส่วน ต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมด้วยเช่นกัน ถ้าหากทุกคนมีความรับผิดชอบต่อสังคม ปัญหาจะน้อยลงด้วย” น.ส.นราทิพย์ กล่าว
วันนี้ (20 มิ.ย.) นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวถึงการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก กรณีรายการไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ นำเสนอภาพ น้องปอนด์ หรือ น.ส.ดวงใจ จันทร์เสือน้อย อายุ 23 ปี ได้เปลื้องผ้าใช้หน้าอกวาดรูปกลางรายการ ว่า เรื่องนี้จะต้องเร่งตรวจสอบอย่างเร่งด่วน เพราะการเผยแพร่ภาพที่ไม่เหมาะสมลักษณะนี้ต่อสาธารณชน โดยเฉพาะที่ติด เรต “ท” (ทั่วไป) ถือว่า เนื้อหารายการจะต้องมีการปรับปรุง เนื่องจากเวลาไพร์มไทม์ ที่เด็กและเยาวชนดูด้วย โดยเรื่องนี้คงไม่ใช่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งที่จะแก้ปัญหา แต่จะต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้จัด ผู้ที่ดูแลเรื่องเซ็นเซอร์ และที่สำคัญ ภาคประชาชนได้เห็นการเผยแพร่ลักษณะอย่างนี้ และแจ้งกลับเข้ามาว่าไม่เหมาะสม
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า กบว.ของแต่ละช่องไม่มีมาตรฐานกลางในการพิจารณา นางสุกุมล กล่าวว่า เรื่องนี้คงเป็นกรณีตัวอย่าง ซึ่งมีผลกระทบต่อความคิดของคนในสังคม และมีการแสดงความคิดเห็นในโซเชียลเน็ตเวิร์กมากมาย และเป็นจุดที่ทางช่องจะต้องหันมามองว่า ประเด็นความเหมาะสมอยู่ตรงไหน ควรมีการเผยแพร่แค่ไหน และคงจะต้องกระตุ้นและมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า ขณะนี้ได้มีการนำประเด็นความสงสารของหญิงโชว์เต้ามาแทนความถูกต้อง เพื่อลดกระแสโจมตีของสังคม นางสุกุมล กล่าวว่า ความจำเป็นส่วนตัวของผู้แสดงกับรับผิดชอบต่อสังคมเป็นคนละเรื่องกัน ตนเห็นว่าผู้จัด และทางช่อง ต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบ เพราะรายการนี้เป็นการนำเทปที่ไม่เหมาะสมมาออกอากาศ อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ตนไม่อยากให้พุ่งประเด็นไปที่ตัวบุคคล แต่ควรมองไปที่กระบวนการเซ็นเซอร์ของช่องมากกว่า เพราะหากเห็นว่าไม่เหมาะ ก็ไม่ควรนำเสนอ ประชาชนก็จะไม่มีโอกาสได้รับชมภาพลักษณะนี้ด้วย
“ประเด็นความรับผิดชอบในการจ้างผู้หญิงคนหนึ่งมาแสดงเพื่อดึงเรตติ้ง คงต้องเปิดโอกาสให้ชี้แจง เพื่อความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย อย่างไรก็ตาม ขบวนการตรวจสอบ หรือติดตามความคืบหน้า หรือประเด็นที่ว่า เป็นความจงใจหรือไม่ นั้น ทาง กสทช.เข้ามาตรวจสอบแล้ว สำหรับ วธ.ได้ทำหน้าที่ของเราอย่างเต็มที่แล้ว จึงอยากให้ทุกฝ่ายร่วมกันหาทางแนวทางไขในอนาคตมากกว่า ถ้าเราไปมุ่งเสนอตัวบุคคล และให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก ก็จะกลายเป็นประเด็นของการเลียนแบบ ซึ่งดิฉันไม่อยากเห็นเยาวชนที่มองว่าการออกมาแสดงลักษณะนี้เป็นที่ดึงดูดความสนใจของสาธารณชน อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้มีการพิสูจน์ว่าผู้หญิงถูกว่าจ้างมาจริงหรือไม่ ฉะนั้น ต้องรอข้อเท็จจริงก่อน จึงไม่สามารถไปวิจารณ์ได้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะไม่มีการออกอากาศลักษณะนี้ให้เห็นอีก เพราะเป็นภาพลักษณ์ของประเทศด้วย” นางสุกุมล กล่าว
น.ส.นราทิพย์ พุ่มทรัพย์ กรรมการบริหารศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม กล่าวว่า เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม ของคนไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญของประเทศ จึงไม่อยากให้ทุกคนโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่การนำเสนอข้อมูลต่างๆ จะต้องมีการคัดกรองก่อนที่จะเผยแพร่ไปสู่ประชาชน หากสื่อนำเสนอในเรื่องของละคร ก็ต้องบอกให้ประชาชนรับรู้ว่าเป็นละคร ถ้าเป็นเรื่องจริง ก็ต้องบอกว่าเป็นเรื่องจริง หากจะเป็นเรื่องของศิลปะ ต้องบอกว่าเป็นศิลปะ ต้องชัดเจนในเรื่องนี้ เพราะไม่อย่างนั้น เด็กและเยาวชนจะแยกแยะไม่ออก
“เรื่องจริยธรรมสื่อ หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งทุกภาคส่วนต้องร่วมกัน จะไปโทษสื่อเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ผู้จัด ผู้วางแผน ผู้ที่ดำเนินการทุกภาคส่วน ต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมด้วยเช่นกัน ถ้าหากทุกคนมีความรับผิดชอบต่อสังคม ปัญหาจะน้อยลงด้วย” น.ส.นราทิพย์ กล่าว