xs
xsm
sm
md
lg

พบยามะเร็ง ราคาเฉียด 7 หมื่นต่อเข็ม ชี้ ขรก.เข้าถึงกลุ่มเดียว จี้รัฐปรับระบบ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
พบยามะเร็งเข็มละเกือบ 7 หมื่น จี้รัฐเพิ่มสิทธิเข้าถึงยา รักษา ทั่วถึง ทุกระบบสวัสดิการ ลดความเหลื่อมล้ำ

วันนี้ (18 มิ.ย.) นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี นักวิชาการเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข กล่าวว่า จากกรณีที่รัฐบาลเสนอเข้ามาว่า ในส่วนของรัฐบาลที่มีนโยบายจะลดความเหลื่อมล้ำของโรคเอดส์ และไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายนั้น ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่ยังมีอีกโรคที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ มะเร็ง ซึ่งเป็็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทย ทั้งนี้ จากข้อมูลสถิติปัจจุบันพบว่าในปี 2552 มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งและเนื้องอกทุกชนิด 56,058 คน คิดเป็นอัตราการตาย 88.34 ต่อประชากร 100,000 คน รองลงมาคือ อุบัติเหตุและการเป็นพิษ 35,304 คน คิดเป็น 55.63 ต่อ 100,000 คน และลำดับที่สาม คือ โรคหัวใจ 18,375 คน คิดเป็น 28.96 ต่อ 100,000 คน ซึ่งจากสถานการณ์ที่มีเห็นควรว่ารัฐบาลควรที่จะมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ของโรคดังกล่าว เนื่องจากปัจจุบันไม่มีความเท่าเทียมในการรักษา โดยเฉพาะเรื่องการเบิกค่ายา ซึ่งใน 3 กองทุน ได้แก่ สิทธิข้าราชการ (ขรก.) ประกันสังคม และหลักประกันสุขภาพ นั้น มีความแตกต่างกันชัดเจน โดยในส่วนของ ขรก.นั้น ใช้ระบบ (Fee for service) ขณะที่หลักประกันสุขภาพฯ หรือปัจจุบันเรียกว่า 30 บาท และประกันสังคมจ่ายตามอัตราที่กำหนด ส่งผลให้ผู้ป่วยใน 2 ระบบที่เข้าไม่ถึงยาจำเป็นต้องเสียชีวิตโดยเหตุไม่สมควร

นพ.พงศธร กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ตนได้เปรียบเทียบสิทธิประโยชน์ ด้านมะเร็งใน 3กองทุน โดยเลือกกลุ่มมะเร็ง 6 ชนิด ซึ่งเป็นกลุ่มที่สิทธิข้าราชการได้รับการรักษาแบบไม่มีเงื่อนไข ประกอบด้วย มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง มะเร็งกระเพาะอาหารและลำไส้  และมะเร็งปอด จากการเปรียบเทียบมะเร็ง 6 ชนิดกับการใช้ยา 6 กลุ่ม พบว่า 1.ในยาริทูซิแมบ (Rituximab) สำหรับรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งจัดเป็นยาที่ดีในการรักษา และถือว่าจำเป็น แต่มีราคาแพง โดยตกเข็มละ 69,157 บาท ต้องใช้ต่อคอร์ส หรือประมาณปีละ829,884 บาท ซึ่ง 30 บาทไม่ได้ ประกันสังคม ก็ขี้นอยู่กับดุลพินิจแพทย์ เพราะยานี้ไม่ได้อยู่ในกลุ่มบัญชียาหลักแห่งชาติ แต่สิทธิข้าราชการกลับได้ใช้ยาดังกล่าว  2, ยาทราสทูซูแมบ (Trastuzumab) รักษามะเร็งเต้านม มีราคาเข็มละ 98,340 บาท หากต่อคอร์สจะตกค่ารักษาประมาณปีละ1,180,080 บาท เช่นเดียวกัน 30 บาทไม่ได้ ประกันสังคมแล้วแต่ดุลยพินิจแพทย์ ส่วนข้าราชการได้เหมือนเดิม 3. ยาบีวาซีซูแมบ (Bevacizumab) รักษามะเร็งลำไส้ เข็มละ 21,602.50 บาท หากต่อคอร์สจะตกค่ารักษาประมาณปีละ1,036,920 บาท สิทธิข้าราชการได้รับการรักษา แต่ 30 บาทไม่ได้ ประกันสังคมขึ้นอยู่กับดุลพินิจแพทย์
 

“4.ยาอิมาทินิบ (Imatinib) เป็นยารักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง และมะเร็งกระเพาะอาหารและลำไส้ ตกเม็ดละ 4,094 บาท หากต่อคอร์สจะตกค่ารักษาปีละ 1,494,310 บาท ซึ่งสิทธิข้าราชการได้รับการรักษา สิทธิ 30 บาท อยู่ในโครงการพิเศษแต่ผู้ป่วยจะได้เพียงวันละ 100 มิลลิกรัม ทั้งๆ ที่ต่อวันต้องได้รับ 400 มิลลิกรัม ส่วนประกันสังคมแล้วแต่ดุลยพินิจแพทย์ 5. ยาเออโรทินิบ (Erlotinib) รักษามะเร็งปอด ตกเม็ดละ 3,086 บาท ต่อคอร์สต้องได้รับการรักษาปีละ 1,126,390 บาท ซึ่งสิทธิข้าราชการได้รับสิทธิ 30 ไม่ได้ ประกันสังคมขึ้นอยู่กับดุลพินิจแพทย์ และ 6.ยาจีฟิทินิบ (Gefitinib) รักษามะเร็งปอด ตกเม็ดละ 2,463 บาท รวมราคาต่อคอร์สการรักษาปีละ 898,995 บาท สิทธิข้าราชการได้รับเหมือนเดิม สิทธิ 30 บาท อยู่ในโครงการพิเศษ ประกันสังคมขึ้นอยู่กับดุลพินิจแพทย์ จะเห็นได้ว่า สิทธิข้าราชการได้รับยาทั้งหมด แตกต่างจากสิทธิอื่นอย่างสิ้นเชิง ส่วนที่มะเร็งบางกลุ่มในระบบ 30 บาทที่มีโครงการพิเศษกับบริษัทยานั้น เป็นวิธีการร่วมมือกับบริษัทยา ซึ่งไม่ยั่งยืน เมื่อหมดโครงการพิเศษ ผู้ป่วยก็จะไม่ได้ใช้ยาอีก” นพ.พงศธร กล่าว
นพ.พงศธร กล่าวว่า สำหรับผู้ป่วยที่รู้ว่ามียาแต่ไม่สามารถใช้ได้เป็นเรื่องเจ็บปวดมาก แม้ยาจะมีราคาแพงมาก แต่ข้ออ้างว่าไม่มีงบประมาณนั้นไม่ถูกต้อง เพราะมีวิธีการจัดการที่จะทำให้ผู้ป่วยทุกคนเข้าถึงยาได้ คือ การจัดซื้อยารวม ซึ่งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เคยทำมาแล้ว ในปี 2552 คณะอนุกรรมการเข้าถึงยาของ สปสช.ได้พิจารณายาริทูซิแมบ ที่มีปัญหาในการเข้าถึง 2 กลุ่มโรค ได้แก่ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง   และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis: RA) ผลการเจรจาต่อรองในช่วงปี 2552-2553 พบว่า บริษัทยายอมลดราคายาลงถึงร้อยละ 60 จากเข็มละ 62,814.35 บาท สามารถต่อรองครั้งที่ 4 ได้เหลือเพียง  25,718.96 บาท แต่สุดท้ายการต่อรองก็ยุติ เพราะรัฐบาลสมัยนั้นไม่มีนโยบายจริงจังในการเข้าถึงยาราคาแพง ดังนั้น หากรัฐบาลชุดนี้ให้ความสำคัญ และยืนยันเดินหน้าเรื่องนี้ เชื่อว่า ไม่ใช่เรื่องยาก และจะเป็นความหวังให้กับผู้ป่วยมะเร็งทุกคน ไม่ใช่แค่สิทธิใดสิทธิหนึ่งเท่านั้น จึงอยากวอนนายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญ โดย 1. ปรับสิทธิประโยชน์ และแบบแผนการรักษามะเร็งทุกโรคให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยเฉพาะยาราคาแพง ที่ทุกคนต้องเข้าถึงอย่างเท่าเทียม   2.ปรับวิธีจ่ายเงินให้หน่วยบริการเป็นอัตราเดียวกันทั้ง 3 กองทุน แยกจากงบประมาณเหมาจ่ายรายหัว เนื่องจากเป็นการรักษาที่มีราคาแพง เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งเข้าถึงการรักษาได้ดีขึ้น สำหรับผู้ป่วย
/////////////////////////
กำลังโหลดความคิดเห็น