ปธ.สภาคณบดีครุฯ ซัด ศธ.ตั้งเกณฑ์พิลึก ไม่รับนิสิต นักศึกษาปี 1 เข้าโครงการครูมืออาชีพ ทำให้เด็กขาดแรงจูงใจในการเรียนครู อ้างสถิติเด็กเก่งซิลไปเรียนสาขาอื่นมากถึง 30% ชี้ เพราะนโยบายรัฐบาลไม่ชัดเจน
ผศ.ดร.สุรวาท ทองบุ คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) มหาสารคาม ในฐานะประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ส.ค.ศ.ท.) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูมืออาชีพ และคณะกรรมการคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตและนักศึกษาทุนโครงการผลิตครูมืออาชีพ กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการผลิตครูมืออาชีพ ปีการศึกษา 2554 รูปแบบการประกันมีงานทำ โดยกำหนดคุณสมบัติผู้ขอรับทุนจะต้องเป็นนิสิต นักศึกษาครู หลักสูตรระดับปริญญาตรี 5 ปี ที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 4 ในปีการศึกษา 2554 ในสาขาวิชาที่โครงการ กำหนดจากความต้องการของหน่วยงานผู้ใช้ครูในแต่ละปี ว่า ตนอยากเรียกร้องให้คณะกรรมการบริหารโครงการได้พิจารณาเกณฑ์ฯ โดยเปิดรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ด้วย เพราะการไม่เปิดโอกาสให้นักศึกษาใหม่ที่เข้าศึกษาในชั้นปีที่ 1 ได้เข้าร่วมโครงการ อาจให้จำนวนนักศึกษาเข้าใหม่ในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ลดลงอีก หลังจากที่ก่อนหน้านี้ มีนักศึกษาเปลี่ยนใจย้ายไปเข้าเรียนคณะอื่นแล้วจำนวนมาก เนื่องจากความล่าช้าในการกำหนดหลักเกณฑ์ผู้เข้าร่วมโครงการ
ทั้งนี้ จากการสอบถาม พบว่า กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นแล้วในมหาวิทยาลัยชั้นนำ อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มรภ.มหาสารคาม และ มรภ.อุบลราชธานี โดยพบว่า มีนักศึกษาตัดสินใจไปเรียนสาขาอื่น คิดเป็นร้อยละ 30 ของจำนวนนักศึกษาที่สมัครเข้าเรียนคณะครุศาสตร์ นอกจากนี้ ยังพบว่า จำนวนนักศึกษาที่หายไปส่วนมากมีผลการเรียนในระดับดีมาก ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดาย ทั้งที่โครงการครูมืออาชีพควรจะได้เปิดโอกาสในการสร้างแรงจูงใจให้ได้คนดีคนเก่งและมีความตั้งใจมาเป็นครู
“ปีการศึกษา 2555 เด็กที่เลือกเรียนคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ในแต่ละสถาบัน ส่วนใหญ่เป็นเด็กเก่ง มีระดับคะแนนแอดมิชชันเทียบเท่า หรือมากกว่าเด็กที่สมัครเข้าเรียนสายวิทยาศาสตร์ ยกเว้นที่จุฬาฯ ที่ระดับคะแนนระหว่างสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ กับวิศวกรรมศาสตร์นั้นเท่ากัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้เรียนปัจจุบันสนใจเรียนครูมาก แต่เพราะนโยบายรัฐบาลไม่มีความชัดเจน ส่งผลให้ขณะนี้มีเด็กที่เปลี่ยนใจไปเรียนสาขาอื่นแล้ว ประมาณร้อยละ 30 ของจำนวนที่รับเข้ามา ดังนั้น อยากให้คณะกรรมการพิจารณาเปิดโอกาสให้แก่เด็กนักศึกษาปี 1 ที่มีความตั้งใจจริงที่จะเป็นครูด้วย” ประธาน ส.ค.ศ.ท.กล่าว
ผศ.ดร.สุรวาท ทองบุ คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) มหาสารคาม ในฐานะประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ส.ค.ศ.ท.) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูมืออาชีพ และคณะกรรมการคัดเลือกสถาบันฝ่ายผลิตและนักศึกษาทุนโครงการผลิตครูมืออาชีพ กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการผลิตครูมืออาชีพ ปีการศึกษา 2554 รูปแบบการประกันมีงานทำ โดยกำหนดคุณสมบัติผู้ขอรับทุนจะต้องเป็นนิสิต นักศึกษาครู หลักสูตรระดับปริญญาตรี 5 ปี ที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 4 ในปีการศึกษา 2554 ในสาขาวิชาที่โครงการ กำหนดจากความต้องการของหน่วยงานผู้ใช้ครูในแต่ละปี ว่า ตนอยากเรียกร้องให้คณะกรรมการบริหารโครงการได้พิจารณาเกณฑ์ฯ โดยเปิดรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ด้วย เพราะการไม่เปิดโอกาสให้นักศึกษาใหม่ที่เข้าศึกษาในชั้นปีที่ 1 ได้เข้าร่วมโครงการ อาจให้จำนวนนักศึกษาเข้าใหม่ในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ลดลงอีก หลังจากที่ก่อนหน้านี้ มีนักศึกษาเปลี่ยนใจย้ายไปเข้าเรียนคณะอื่นแล้วจำนวนมาก เนื่องจากความล่าช้าในการกำหนดหลักเกณฑ์ผู้เข้าร่วมโครงการ
ทั้งนี้ จากการสอบถาม พบว่า กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นแล้วในมหาวิทยาลัยชั้นนำ อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มรภ.มหาสารคาม และ มรภ.อุบลราชธานี โดยพบว่า มีนักศึกษาตัดสินใจไปเรียนสาขาอื่น คิดเป็นร้อยละ 30 ของจำนวนนักศึกษาที่สมัครเข้าเรียนคณะครุศาสตร์ นอกจากนี้ ยังพบว่า จำนวนนักศึกษาที่หายไปส่วนมากมีผลการเรียนในระดับดีมาก ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดาย ทั้งที่โครงการครูมืออาชีพควรจะได้เปิดโอกาสในการสร้างแรงจูงใจให้ได้คนดีคนเก่งและมีความตั้งใจมาเป็นครู
“ปีการศึกษา 2555 เด็กที่เลือกเรียนคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ในแต่ละสถาบัน ส่วนใหญ่เป็นเด็กเก่ง มีระดับคะแนนแอดมิชชันเทียบเท่า หรือมากกว่าเด็กที่สมัครเข้าเรียนสายวิทยาศาสตร์ ยกเว้นที่จุฬาฯ ที่ระดับคะแนนระหว่างสาขาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ กับวิศวกรรมศาสตร์นั้นเท่ากัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้เรียนปัจจุบันสนใจเรียนครูมาก แต่เพราะนโยบายรัฐบาลไม่มีความชัดเจน ส่งผลให้ขณะนี้มีเด็กที่เปลี่ยนใจไปเรียนสาขาอื่นแล้ว ประมาณร้อยละ 30 ของจำนวนที่รับเข้ามา ดังนั้น อยากให้คณะกรรมการพิจารณาเปิดโอกาสให้แก่เด็กนักศึกษาปี 1 ที่มีความตั้งใจจริงที่จะเป็นครูด้วย” ประธาน ส.ค.ศ.ท.กล่าว