นายแพทย์ สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา
กรรมการชมรมแพทย์ชนบท คนทำงานภาคประชาสังคมในจังหวัดสงขลาและพื้นที่ชายแดนใต้
ปัจจุบันศึกษาต่อปริญญาโทสาธารณสุขศาสตร์ที่ประเทศเบลเยียม
1669 เป็นเลขสำคัญที่คนไทยทุกคนควรจำได้ แต่วันนี้กี่คนจะจำได้ว่าหมายเลขนี้ได้อย่างแม่นยำสำหรับตามรถพยาบาลฉุกเฉิน การได้มาซึ่งหมายเลขนี้ก็น่าจะบ่งบอกถึงองค์กรที่จัดสรรคลื่นโทรศัพท์ว่าถูกครอบงำด้วยความคิดแบบเงินมาก่อนประชาชนมาทีหลัง เอกชนขายไก่ทอดขายพิซซ่าขายอาหารฟาสต์ฟูดกลับได้หมายเลขโทรศัพท์ที่จำง่าย เพราะยอมจ่ายค่าหมายเลขในราคาแพง แต่ระบบฉุกเฉินของประเทศกลับกลายเป็นหมายเลขที่คนส่วนใหญ่จำได้บ้างไม่ได้บ้าง และสับสนในบางครั้งว่า 1669 หรือ 1699 หรือ 1169 หรือ 1966 กันแน่
หมายเลขโทรศัพท์สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉินนั้นตามมาตรฐานระดับโลกจะโทรศัพท์เข้าที่หมายเลขเดียว แต่สามารถแจ้งเหตุฉุกเฉินเพื่อขอความช่วยเหลือได้ทั้ง 3 กรณี คือ ตำรวจ ดับเพลิงและการแพทย์ฉุกเฉิน โดยหมายเลขโทรศัพท์ที่ควรจะเป็นตามที่นานาประเทศใช้กันคือมีตัวเลข 3 ตัว เช่น สหรัฐอเมริกา (USA) ใช้หมายเลข 911 สหราชอาณาจักร หรือ อังกฤษ ใช้หมายเลข 999 สหภาพยุโรป (EU) ใช้หมายเลข 112
ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่างก็ใช้ตัวเลข 3 ตัวในทุกประเทศเพื่อการแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือในสถานการณ์การแพทย์ฉุกเฉิน เช่น สิงคโปร์ ใช้ 995 เวียดนาม ใช้ 115 อินโดนีเซีย ใช้ 119 ฟิลิปปินส์ 117 บรูไน มาเลเซีย พม่า กัมพูชา ลาว ล้วนใช้ 191 และเมื่อไปดูหมายเลขโทรศัพท์เพื่อการแจ้งตามการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศต่างๆ เกือบทั้งโลกก็ล้วนแต่เป็นหมายเลข 3 ตัวเกือบทั้งสิ้น จึงน่าแปลกใจที่ประเทศไทยทำไมถึงใช้ตัวเลข 4 ตัว หรือเพราะว่าคนไทยมีระดับความจำเป็นเลิศในปฐพี จึงต้องท้าทายความสามารถที่ดีเด่นกว่าชาติใดในโลกด้วยตัวเลขสี่หลัก การมีตัวเลข 4 ตัวก็ยังพอไหวถ้าได้หมายเลขที่จำง่ายเช่น 1111 หรือ 9999 แต่นี่กลับเป็น 1669 หมายเลขสำหรับการโทรศัพท์สั่งอาหารฟาสต์ฟู๊ดจานด่วนจากบางร้านยังจะจำได้ง่ายกว่าเสียอีก
ในยุโรปแต่ละประเทศในอดีต ก็มีหมายเลขโทร.ฉุกเฉินที่แตกต่างกัน แต่เมื่อรวมกันเป็นสหภาพยุโรป แต่ละประเทศก็เปลี่ยนมาใช้หมายเลขเดียวกัน คือ 112 ตั้งแต่ปี ค.ศ.1991 เพื่อให้จดจำง่าย และสะดวกสำหรับประชาชนในสหภาพยุโรปที่ไม่ต้องมาจำหมายเลขที่แตกต่างของแต่ละประเทศ ทุกประเทศก็ได้บริหารจัดการภายในให้ไม่ว่าจะโทรศัพท์มาด้วยหมายเลขเดิมหรือ 112 ซึ่งเป็นหมายเลขใหม่ ก็จะเข้ามาที่ระบบ 112 เหมือนกัน และสามารถแจ้งเหตุได้ทั้งสามกรณีคือ ขอความช่วยเหลือจากตำรวจ ดับเพลิงและรถพยาบาล
ในอนาคตอันใกล้ ประชาคมอาเซียนคงจะมีหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินหมายเลขเดียวเฉกเช่นสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานที่ตกลงกันไม่ยากยัก หมายเลขที่น่าสนใจที่สุดของภูมิภาคนี้คงหนีไม่พ้น 191 เพราะกว่าครึ่งใช้หมายเลข 191 อยู่แล้วรวมทั้งประเทศไทยด้วย เพียงแต่เพราะเมืองไทยไม่ถนัดในการบูรณาการ หมายเลขการแพทย์ฉุกเฉินจึงแยกออกมาจากตำรวจและดับเพลิง แต่สุดท้ายด้วยพัฒนาการที่หนีไม่พ้นก็คงกลับไปรวมกันอีกครั้ง
เราควรจะทุ่มงบประชาสัมพันธ์ให้คนไทยจำหมายเลข 1669 ให้ได้หรือควรเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินและระบบการขอช่วยเหลือฉุกเฉินให้เป็นหมายเลข 3 ตัว อันนี้เป็นโจทย์เล็กๆใกล้ตัวที่การหาคำตอบนั้นต้องการการมองไกล
*****
คอลัมน์ ได้อย่าง...ไม่เสียอย่าง
**ท้าทายระบบอาหารด้วยการบริโภคที่รู้เท่าทันกลยุทธ์เซเลบริตีเชฟ/คอลัมน์ ได้อย่าง..ไม่เสียอย่าง
**กองทุนเดียวด้านสุขภาพ : ชอบกด Like ใช่ “กดดัน”/คอลัมน์ได้อย่าง...ไม่เสียอย่าง
**รายงานมาตรา 301 พิเศษ : แผงกระสุนของสหรัฐฯเพื่อสกัดการเข้าถึงยา/คอลัมน์...ได้อย่าง ไม่เสียอย่าง
**DRGs Version 5 ความเป็นธรรมของระบบสาธารณสุขไทย/คอลัมน์ ได้อย่าง...ไม่เสียอย่าง
กรรมการชมรมแพทย์ชนบท คนทำงานภาคประชาสังคมในจังหวัดสงขลาและพื้นที่ชายแดนใต้
ปัจจุบันศึกษาต่อปริญญาโทสาธารณสุขศาสตร์ที่ประเทศเบลเยียม
1669 เป็นเลขสำคัญที่คนไทยทุกคนควรจำได้ แต่วันนี้กี่คนจะจำได้ว่าหมายเลขนี้ได้อย่างแม่นยำสำหรับตามรถพยาบาลฉุกเฉิน การได้มาซึ่งหมายเลขนี้ก็น่าจะบ่งบอกถึงองค์กรที่จัดสรรคลื่นโทรศัพท์ว่าถูกครอบงำด้วยความคิดแบบเงินมาก่อนประชาชนมาทีหลัง เอกชนขายไก่ทอดขายพิซซ่าขายอาหารฟาสต์ฟูดกลับได้หมายเลขโทรศัพท์ที่จำง่าย เพราะยอมจ่ายค่าหมายเลขในราคาแพง แต่ระบบฉุกเฉินของประเทศกลับกลายเป็นหมายเลขที่คนส่วนใหญ่จำได้บ้างไม่ได้บ้าง และสับสนในบางครั้งว่า 1669 หรือ 1699 หรือ 1169 หรือ 1966 กันแน่
หมายเลขโทรศัพท์สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉินนั้นตามมาตรฐานระดับโลกจะโทรศัพท์เข้าที่หมายเลขเดียว แต่สามารถแจ้งเหตุฉุกเฉินเพื่อขอความช่วยเหลือได้ทั้ง 3 กรณี คือ ตำรวจ ดับเพลิงและการแพทย์ฉุกเฉิน โดยหมายเลขโทรศัพท์ที่ควรจะเป็นตามที่นานาประเทศใช้กันคือมีตัวเลข 3 ตัว เช่น สหรัฐอเมริกา (USA) ใช้หมายเลข 911 สหราชอาณาจักร หรือ อังกฤษ ใช้หมายเลข 999 สหภาพยุโรป (EU) ใช้หมายเลข 112
ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่างก็ใช้ตัวเลข 3 ตัวในทุกประเทศเพื่อการแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือในสถานการณ์การแพทย์ฉุกเฉิน เช่น สิงคโปร์ ใช้ 995 เวียดนาม ใช้ 115 อินโดนีเซีย ใช้ 119 ฟิลิปปินส์ 117 บรูไน มาเลเซีย พม่า กัมพูชา ลาว ล้วนใช้ 191 และเมื่อไปดูหมายเลขโทรศัพท์เพื่อการแจ้งตามการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศต่างๆ เกือบทั้งโลกก็ล้วนแต่เป็นหมายเลข 3 ตัวเกือบทั้งสิ้น จึงน่าแปลกใจที่ประเทศไทยทำไมถึงใช้ตัวเลข 4 ตัว หรือเพราะว่าคนไทยมีระดับความจำเป็นเลิศในปฐพี จึงต้องท้าทายความสามารถที่ดีเด่นกว่าชาติใดในโลกด้วยตัวเลขสี่หลัก การมีตัวเลข 4 ตัวก็ยังพอไหวถ้าได้หมายเลขที่จำง่ายเช่น 1111 หรือ 9999 แต่นี่กลับเป็น 1669 หมายเลขสำหรับการโทรศัพท์สั่งอาหารฟาสต์ฟู๊ดจานด่วนจากบางร้านยังจะจำได้ง่ายกว่าเสียอีก
ในยุโรปแต่ละประเทศในอดีต ก็มีหมายเลขโทร.ฉุกเฉินที่แตกต่างกัน แต่เมื่อรวมกันเป็นสหภาพยุโรป แต่ละประเทศก็เปลี่ยนมาใช้หมายเลขเดียวกัน คือ 112 ตั้งแต่ปี ค.ศ.1991 เพื่อให้จดจำง่าย และสะดวกสำหรับประชาชนในสหภาพยุโรปที่ไม่ต้องมาจำหมายเลขที่แตกต่างของแต่ละประเทศ ทุกประเทศก็ได้บริหารจัดการภายในให้ไม่ว่าจะโทรศัพท์มาด้วยหมายเลขเดิมหรือ 112 ซึ่งเป็นหมายเลขใหม่ ก็จะเข้ามาที่ระบบ 112 เหมือนกัน และสามารถแจ้งเหตุได้ทั้งสามกรณีคือ ขอความช่วยเหลือจากตำรวจ ดับเพลิงและรถพยาบาล
ในอนาคตอันใกล้ ประชาคมอาเซียนคงจะมีหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินหมายเลขเดียวเฉกเช่นสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานที่ตกลงกันไม่ยากยัก หมายเลขที่น่าสนใจที่สุดของภูมิภาคนี้คงหนีไม่พ้น 191 เพราะกว่าครึ่งใช้หมายเลข 191 อยู่แล้วรวมทั้งประเทศไทยด้วย เพียงแต่เพราะเมืองไทยไม่ถนัดในการบูรณาการ หมายเลขการแพทย์ฉุกเฉินจึงแยกออกมาจากตำรวจและดับเพลิง แต่สุดท้ายด้วยพัฒนาการที่หนีไม่พ้นก็คงกลับไปรวมกันอีกครั้ง
เราควรจะทุ่มงบประชาสัมพันธ์ให้คนไทยจำหมายเลข 1669 ให้ได้หรือควรเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินและระบบการขอช่วยเหลือฉุกเฉินให้เป็นหมายเลข 3 ตัว อันนี้เป็นโจทย์เล็กๆใกล้ตัวที่การหาคำตอบนั้นต้องการการมองไกล
*****
คอลัมน์ ได้อย่าง...ไม่เสียอย่าง
**ท้าทายระบบอาหารด้วยการบริโภคที่รู้เท่าทันกลยุทธ์เซเลบริตีเชฟ/คอลัมน์ ได้อย่าง..ไม่เสียอย่าง
**กองทุนเดียวด้านสุขภาพ : ชอบกด Like ใช่ “กดดัน”/คอลัมน์ได้อย่าง...ไม่เสียอย่าง
**รายงานมาตรา 301 พิเศษ : แผงกระสุนของสหรัฐฯเพื่อสกัดการเข้าถึงยา/คอลัมน์...ได้อย่าง ไม่เสียอย่าง
**DRGs Version 5 ความเป็นธรรมของระบบสาธารณสุขไทย/คอลัมน์ ได้อย่าง...ไม่เสียอย่าง