“ธีระชน” ชี้แจงสภา กทม.เรื่องการยืมงบประมาณจ่ายเงินสะสมของ กทม.ซัดเพราะรัฐบาลส่งงบประมาณช้า ทำ กทม.เงินขาดมือในการเยียวยาปัญหาอุทกภัย จนต้องยืมงบประมาณดังกล่าวออกมาใช้ก่อน
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมชี้แจงต่อคณะกรรมการเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง สภากรุงเทพมหานคร ถึงกรณีการตั้งข้อสังเกตของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเกี่ยวกับการตั้งงบประมาณจ่ายเงินสะสมของ กทม.ว่า เนื่องจาก กทม.มีนโยบายการบริหารงบประมาณแบบสมดุล แต่ในปีงบประมาณ 2552 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้รายรับของ กทม.ต่ำกว่าเป้าที่กำหนดไว้ถึง 8,000 ล้านบาท ทำให้ต้องยืมเงินสะสมของ กทม.ทดรองจ่ายไปก่อน ซึ่งตอนมาได้ตั้งงบประมาณเบิกจ่ายเพื่อส่งคืนเงินเรียบร้อยแล้ว เพื่อดำรงสถานะเงินสะสมให้อยู่ในสภาวะปกติแบบสมดุล
นายธีระชน กล่าวอีกว่า ส่วนในปี 2555 รัฐบาลโอนงบประมาณตามนโยบายของรัฐบาลช้ากว่ากำหนด อาทิ เงินช่วยเหลือด้านการศึกษา เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ รวมถึงโครงการเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย ทำให้ กทม.ต้องยืมเงินสะสมมาทดรองจ่ายเป็นจำนวนมาก เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างเร่งด่วน
นายธีระชน กล่าวอีกว่า แม้ กทม.จะมีการยืมเงินสะสมมาใช้ แต่ กทม.จะต้องรักษาวินัยทางการคลังในระดับที่สูง และดำรงสถานะการเงินสะสมไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาท อีกทั้งต้องมีเงินสดไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาท โดยกำหนดให้เป็นแผน 20 ปี ทั้งที่ตามกฎหมายกำหนดให้คงสถานะเงินสะสมไว้เพียง 10,000 ล้านบาทเท่านั้น
“กทม.ได้จัดอันดับความน่าเชื่อถือ (credit rating) ทุกปี โดยทริสเรตติ้ง เพื่อเป็นเครดิตสำหรับการออกพันธบัตรกรุงเทพมหานครในอนาคต โดยในปีนี้ กทม.คาดว่า จะสามารถจัดเก็บรายได้ได้มากกว่าเป้าที่กำหนด รวมเป็นเงินกว่า 60,000 ล้านบาท” นายธีระชน กล่าว
นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมชี้แจงต่อคณะกรรมการเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง สภากรุงเทพมหานคร ถึงกรณีการตั้งข้อสังเกตของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเกี่ยวกับการตั้งงบประมาณจ่ายเงินสะสมของ กทม.ว่า เนื่องจาก กทม.มีนโยบายการบริหารงบประมาณแบบสมดุล แต่ในปีงบประมาณ 2552 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้รายรับของ กทม.ต่ำกว่าเป้าที่กำหนดไว้ถึง 8,000 ล้านบาท ทำให้ต้องยืมเงินสะสมของ กทม.ทดรองจ่ายไปก่อน ซึ่งตอนมาได้ตั้งงบประมาณเบิกจ่ายเพื่อส่งคืนเงินเรียบร้อยแล้ว เพื่อดำรงสถานะเงินสะสมให้อยู่ในสภาวะปกติแบบสมดุล
นายธีระชน กล่าวอีกว่า ส่วนในปี 2555 รัฐบาลโอนงบประมาณตามนโยบายของรัฐบาลช้ากว่ากำหนด อาทิ เงินช่วยเหลือด้านการศึกษา เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ รวมถึงโครงการเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย ทำให้ กทม.ต้องยืมเงินสะสมมาทดรองจ่ายเป็นจำนวนมาก เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างเร่งด่วน
นายธีระชน กล่าวอีกว่า แม้ กทม.จะมีการยืมเงินสะสมมาใช้ แต่ กทม.จะต้องรักษาวินัยทางการคลังในระดับที่สูง และดำรงสถานะการเงินสะสมไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาท อีกทั้งต้องมีเงินสดไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาท โดยกำหนดให้เป็นแผน 20 ปี ทั้งที่ตามกฎหมายกำหนดให้คงสถานะเงินสะสมไว้เพียง 10,000 ล้านบาทเท่านั้น
“กทม.ได้จัดอันดับความน่าเชื่อถือ (credit rating) ทุกปี โดยทริสเรตติ้ง เพื่อเป็นเครดิตสำหรับการออกพันธบัตรกรุงเทพมหานครในอนาคต โดยในปีนี้ กทม.คาดว่า จะสามารถจัดเก็บรายได้ได้มากกว่าเป้าที่กำหนด รวมเป็นเงินกว่า 60,000 ล้านบาท” นายธีระชน กล่าว