ผู้สร้างเชคสเปียร์ฯ ฮึดสู้ คกก.ภาพยนตร์ฯ หลังถูกสั่งห้ามเผยแพร่ผลงาน เตรียมร้องกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ-กรรมาธิการสิทธิฯวุฒิสภา 30 พ.ค.นี้ บอกแจงเหตุผลแล้วฟังไม่ขึ้น
วันนี้ (28 พ.ค.) นายมานิต ศรีวานิชภูมิ ผู้สร้างภาพยนตร์ไทย เรื่อง เชคสเปียร์ต้องตาย กล่าวว่า ตนได้รับหนังสือจาก นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการภาพยนตร์แห่งชาติ กรณีคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติมีมติไม่อนุญาตให้มีการเผยแพร่ภาพยนตร์ เรื่อง เชคสเปียร์ฯ อย่างเป็นทางการแล้ว ตนได้ยืนยันไม่ยอมรับมติดังกล่าว เพราะทางคณะกรรมการภาพยนตร์ฯ ยังชี้แจงเหตุผลห้ามฉายไม่ชัดเจน เขียนแบบกว้างๆ ที่สำคัญ เหตุผลที่ห้ามฉายมีการเพิ่มเนื้อหาอีก จากเดิมเป็นภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาสาระบางส่วนที่ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีของคนในชาติ กลับส่งหนังสือมาว่า คณะกรรมการภาพยนตร์ฯ พิจารณาเห็นว่า เนื้อหาของภาพยนตร์ เรื่อง เชคสเปียร์ฯ แม้จะดัดแปลงให้เป็นประเทศสมมติก็ตาม แต่ก็มีลักษณะที่สื่อความหมายให้เข้าใจว่าเป็นสังคมไทย และบางฉากยังมีเนื้อหาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐและเกียรติภูมิของประเทศ
นายมานิตย์ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีคณะกรรมการภาพยนตร์ฯ แจ้งกับทางผู้สร้างว่า ภาพยนตร์ดังกล่าวมีเนื้อหานำเสนอเหตุการณ์ 6 ต.ค.2519 นั้น ตนยืนยันว่า ภาพยนตร์ไม่มีเนื้อหา ข้อความส่วนใดชี้ชัดหรือเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ต.ค.2519 แต่ยอมรับว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเพียงแรงบันดาลใจในการสร้างเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่า ภาพยนตร์ 2 เรื่องที่ถ่ายทอดเรื่องราวเหตุการณ์ 6 ต.ค.2519 คือ october Sonata รักที่รอคอย และ มหาลัยสยองขวัญ ทางคณะกรรมการภาพยนตร์ฯ ยังพิจารณาให้ฉายได้ ตนอยากจะขอคำชี้แจงในกรณีดังกล่าวด้วยว่าทำไมภาพยนตร์ทั้ง 2 เรื่องถึงได้ฉายทั้งที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้ ตนจึงถือว่า ถูกละเมิดสิทธิตามมาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยในวันที่ 30 พ.ค.เวลา 10.00 น.ตนจะไปยื่นหนังสือร้องเรียนต่อกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ 13.00 น.ร้องต่อกรรมาธิการสิทธิฯ วุฒิสภา ด้วย
วันนี้ (28 พ.ค.) นายมานิต ศรีวานิชภูมิ ผู้สร้างภาพยนตร์ไทย เรื่อง เชคสเปียร์ต้องตาย กล่าวว่า ตนได้รับหนังสือจาก นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการภาพยนตร์แห่งชาติ กรณีคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติมีมติไม่อนุญาตให้มีการเผยแพร่ภาพยนตร์ เรื่อง เชคสเปียร์ฯ อย่างเป็นทางการแล้ว ตนได้ยืนยันไม่ยอมรับมติดังกล่าว เพราะทางคณะกรรมการภาพยนตร์ฯ ยังชี้แจงเหตุผลห้ามฉายไม่ชัดเจน เขียนแบบกว้างๆ ที่สำคัญ เหตุผลที่ห้ามฉายมีการเพิ่มเนื้อหาอีก จากเดิมเป็นภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาสาระบางส่วนที่ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีของคนในชาติ กลับส่งหนังสือมาว่า คณะกรรมการภาพยนตร์ฯ พิจารณาเห็นว่า เนื้อหาของภาพยนตร์ เรื่อง เชคสเปียร์ฯ แม้จะดัดแปลงให้เป็นประเทศสมมติก็ตาม แต่ก็มีลักษณะที่สื่อความหมายให้เข้าใจว่าเป็นสังคมไทย และบางฉากยังมีเนื้อหาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐและเกียรติภูมิของประเทศ
นายมานิตย์ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีคณะกรรมการภาพยนตร์ฯ แจ้งกับทางผู้สร้างว่า ภาพยนตร์ดังกล่าวมีเนื้อหานำเสนอเหตุการณ์ 6 ต.ค.2519 นั้น ตนยืนยันว่า ภาพยนตร์ไม่มีเนื้อหา ข้อความส่วนใดชี้ชัดหรือเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ต.ค.2519 แต่ยอมรับว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเพียงแรงบันดาลใจในการสร้างเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่า ภาพยนตร์ 2 เรื่องที่ถ่ายทอดเรื่องราวเหตุการณ์ 6 ต.ค.2519 คือ october Sonata รักที่รอคอย และ มหาลัยสยองขวัญ ทางคณะกรรมการภาพยนตร์ฯ ยังพิจารณาให้ฉายได้ ตนอยากจะขอคำชี้แจงในกรณีดังกล่าวด้วยว่าทำไมภาพยนตร์ทั้ง 2 เรื่องถึงได้ฉายทั้งที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้ ตนจึงถือว่า ถูกละเมิดสิทธิตามมาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยในวันที่ 30 พ.ค.เวลา 10.00 น.ตนจะไปยื่นหนังสือร้องเรียนต่อกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ 13.00 น.ร้องต่อกรรมาธิการสิทธิฯ วุฒิสภา ด้วย