@สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์
พื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย นอกจากจะมีทะเลที่สวยงามจนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วแล้ว ยังมีป่าไม้ที่คงความอุดมสมบูรณ์เอาไว้ได้ อย่างบริเวณป่าชุมชนบ้านกลาง อ.เมือง จ.พังงา ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศป่าชุมชนระดับประเทศ เพราะมีการบริหารจัดการคนในชุมชนให้สามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน
โดยเมื่อเร็วๆ นี้ กรมป่าไม้ และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เลือกใช้จัดกิจกรรมค่ายเยาวชนกล้ายิ้มภาคใต้
นายนพพล มิลินทางกูร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) บอกถึงที่มา ว่า ค่ายเยาวชนกล้ายิ้มภาคใต้เป็นกิจกรรมในโครงการ “คนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน” ซึ่งเปิดโอกาสให้เยาวชนเรียนรู้ สัมผัสป่าชุมชนและธรรมชาติ และเรียนรู้วิถีการอยู่ร่วมกันระหว่างชุมชนกับป่า โดยโครงการดังกล่าวทางบริษัทได้ดำเนินการร่วมกับกรมป่าไม้มากว่า 5 ปีแล้ว เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนเกิดจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งเป็นเครือข่ายในการดูแลป่าชุมชน รวมถึงเป็นกำลังสำคัญในการดูแลรักษาและฟื้นฟูป่าในอนาคต
นายนพพล เล่าว่า ทุกวันนี้มนุษย์เอาเปรียบธรรมชาติค่อนข้างมาก หากสามารถทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน ย่อมเป็นประโยชน์กว่า และการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนมีจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าใจแนวคิด “ป่าชุมชน” ที่ส่งเสริมให้คนอยู่กับป่าได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น ก็เป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติอีกยาวนาน
“เด็กก็เหมือนต้นไม้ที่ใช้เวลานานกว่าจะเติบโต โดยระหว่างนี้ยิ่งเราสามารถสร้างแกนนำเยาวชนได้มากเท่าไร ก็จะมีคนสืบทอดการบริหารจัดการป่าชุมชนได้อย่างต่อเนื่องมากขึ้นเท่านั้น เหมือนต้นไม้ที่เติบโตขึ้นมาจนเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์” นายนพพล กล่าว
สำหรับเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการกล้ายิ้มภาคใต้ อย่าง น้องดาว นฤมล จงรักษ์ นักเรียนโรงเรียนวังทอง จ.กระบี่ เล่าให้ฟังว่า ได้รับโอกาสจากผู้ใหญ่บ้านให้เข้ามาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ทำให้ได้รับความรู้ด้านต่างๆ มากมาย ทั้งความรู้ด้านทฤษฎีต่างๆ อาทิ การประหยัดพลังงาน การเรียนรู้สู้โลกร้อน และการศึกษาป่าชุมชนแล้ว ยังได้ลงไปปฏิบัติด้วยการปลูกป่าชายเลนด้วย
น้องดาว บอกว่า กิจกรรมตลอด 4 วัน 3 คืน ทำให้ตนมองเห็นประโยชน์ของธรรมชาติมากขึ้น และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับป่า อยู่ร่วมกับธรรมชาติกันอย่างเกื้อกูลกัน อย่างป่าโกงกาง ป่าชายเลน ที่เป็นที่อนุบาลสัตว์ทะเลขนาดเล็ก นอกจากช่วยให้ระบบนิเวศมีความสมดุล ทะเลมีความอุดมสมบูรณ์แล้ว ยังช่วยกันคลื่นทะเล กันลมกันฝนได้อีกด้วย
“เหตุการณ์สึนามิเมื่อปี 2547 บ้านพังไป 4 หลัง มองว่า เพราะเรายังมีต้นไม้น้อย มีป่าที่ช่วยกันคลื่นพวกนี้น้อยอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีการตัดไม้ทำลายป่า การมาร่วมค่ายเยาวชนครั้งนี้ได้สอนแนวคิดที่จะอยู่ร่วมกับป่า และยังได้ร่วมปลูกป่าชายเลนด้วย แม้จะใช้เวลานานกว่าจะต้นไม้จะโต แต่ถ้าเราอนุรักษ์ต้นไม้ที่มีอยู่ไม่ให้ถูกทำลาย ป่าก็จะมีมากขึ้นเองในอนาคต”
หลังกลับจากค่ายเยาวชนกล้ายิ้มภาคใต้ น้องดาว บอกว่า จะกลับไปบอกคนที่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน และคนในชุมชนให้ช่วยกันอนุรักษ์ป่าและธรรมชาติในชุมชนของตัวเอง โดยยึดเอาแบบอย่างของป่าชุมชนบ้านกลางกลับไปปรับใช้ และก็จะปลูกต้นไม้อย่างที่เคยปฏิบัติเป็นประจำทุกปีต่อไปด้วย
ด้าน น้องบัณฑิต สาระวงค์ นักเรียนโรงเรียนบ้านกลาง จ.พังงา บอกว่า ค่ายเยาวชนกล้ายิ้มภาคใต้ มีเยาวชนจากจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้มาร่วมโครงการ โดยส่วนใหญ่อายุ 13-15 ปี โดยตนรู้สึกดีใจมากที่ได้เป็นหนึ่งในเด็ก 80 คนที่มาร่วมโครงการในครั้งนี้ เพราะต่างคนต่างที่มา ต่างประสบการณ์ แต่ได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ที่สำคัญ ยังได้มิตรภาพกลับไปอีกเป็นกระบุงโกย น้องบัณฑิต บอกอีกว่า นอกจากความรู้ในเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติแล้ว พี่ๆในโครงการยังสอนถึงวิธีรับมือกับภัยธรรมชาติต่างๆ ด้วย โดยเฉพาะไฟป่า แม้แถวบ้านจะไม่ค่อยเกิดบ่อยนัก แต่เราต้องรู้จักวิธีในการรับมือและป้องกันไว้
ส่วนผลพลอยได้จากการเข้าร่วมโครงการ น้องบัณฑิต บอกว่า ได้รับความกล้าแสดงออกและความสามัคคีกลับไปเต็มเปี่ยม เพราะการทำกิจกรรมในค่ายจะมีการจับกลุ่มร่วมกัน ถ้าเราไม่สามัคคีกันกิจกรรมต่างๆ ก็จะไม่ราบรื่น นอกจากนี้ ยังต้องกล้าที่จะแสดงออก กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น อย่างที่ครูนพพลบอกไว้ว่า ผิดถูกไม่เป็นไร ขอให้กล้าแสดงพูดกล้าแสดงความคิดเห็นออกมา จะได้รู้ว่าตนเข้าใจถูกต้องหรือเปล่า
...แม้ว่ากิจกรรมที่จัดจะเป็นเพียงช่วงสั้นๆ แต่เชื่อว่า จะตราตรึงอยู่ในความทรงจำของเยาวชนไปอีกนาน รวมไปถึงความรู้และจิตสำนึกในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ปลูกลงไปในจิตใจของเด็กและเยาวชน ซึ่งรอเติบโตไปพร้อมๆ กันกับป่าที่เหล่าเยาวชนได้ลงมือปลูกกัน
พื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย นอกจากจะมีทะเลที่สวยงามจนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วแล้ว ยังมีป่าไม้ที่คงความอุดมสมบูรณ์เอาไว้ได้ อย่างบริเวณป่าชุมชนบ้านกลาง อ.เมือง จ.พังงา ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศป่าชุมชนระดับประเทศ เพราะมีการบริหารจัดการคนในชุมชนให้สามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน
โดยเมื่อเร็วๆ นี้ กรมป่าไม้ และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เลือกใช้จัดกิจกรรมค่ายเยาวชนกล้ายิ้มภาคใต้
นายนพพล มิลินทางกูร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) บอกถึงที่มา ว่า ค่ายเยาวชนกล้ายิ้มภาคใต้เป็นกิจกรรมในโครงการ “คนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน” ซึ่งเปิดโอกาสให้เยาวชนเรียนรู้ สัมผัสป่าชุมชนและธรรมชาติ และเรียนรู้วิถีการอยู่ร่วมกันระหว่างชุมชนกับป่า โดยโครงการดังกล่าวทางบริษัทได้ดำเนินการร่วมกับกรมป่าไม้มากว่า 5 ปีแล้ว เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนเกิดจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งเป็นเครือข่ายในการดูแลป่าชุมชน รวมถึงเป็นกำลังสำคัญในการดูแลรักษาและฟื้นฟูป่าในอนาคต
นายนพพล เล่าว่า ทุกวันนี้มนุษย์เอาเปรียบธรรมชาติค่อนข้างมาก หากสามารถทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน ย่อมเป็นประโยชน์กว่า และการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนมีจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าใจแนวคิด “ป่าชุมชน” ที่ส่งเสริมให้คนอยู่กับป่าได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น ก็เป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติอีกยาวนาน
“เด็กก็เหมือนต้นไม้ที่ใช้เวลานานกว่าจะเติบโต โดยระหว่างนี้ยิ่งเราสามารถสร้างแกนนำเยาวชนได้มากเท่าไร ก็จะมีคนสืบทอดการบริหารจัดการป่าชุมชนได้อย่างต่อเนื่องมากขึ้นเท่านั้น เหมือนต้นไม้ที่เติบโตขึ้นมาจนเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์” นายนพพล กล่าว
สำหรับเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการกล้ายิ้มภาคใต้ อย่าง น้องดาว นฤมล จงรักษ์ นักเรียนโรงเรียนวังทอง จ.กระบี่ เล่าให้ฟังว่า ได้รับโอกาสจากผู้ใหญ่บ้านให้เข้ามาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ทำให้ได้รับความรู้ด้านต่างๆ มากมาย ทั้งความรู้ด้านทฤษฎีต่างๆ อาทิ การประหยัดพลังงาน การเรียนรู้สู้โลกร้อน และการศึกษาป่าชุมชนแล้ว ยังได้ลงไปปฏิบัติด้วยการปลูกป่าชายเลนด้วย
น้องดาว บอกว่า กิจกรรมตลอด 4 วัน 3 คืน ทำให้ตนมองเห็นประโยชน์ของธรรมชาติมากขึ้น และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับป่า อยู่ร่วมกับธรรมชาติกันอย่างเกื้อกูลกัน อย่างป่าโกงกาง ป่าชายเลน ที่เป็นที่อนุบาลสัตว์ทะเลขนาดเล็ก นอกจากช่วยให้ระบบนิเวศมีความสมดุล ทะเลมีความอุดมสมบูรณ์แล้ว ยังช่วยกันคลื่นทะเล กันลมกันฝนได้อีกด้วย
“เหตุการณ์สึนามิเมื่อปี 2547 บ้านพังไป 4 หลัง มองว่า เพราะเรายังมีต้นไม้น้อย มีป่าที่ช่วยกันคลื่นพวกนี้น้อยอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีการตัดไม้ทำลายป่า การมาร่วมค่ายเยาวชนครั้งนี้ได้สอนแนวคิดที่จะอยู่ร่วมกับป่า และยังได้ร่วมปลูกป่าชายเลนด้วย แม้จะใช้เวลานานกว่าจะต้นไม้จะโต แต่ถ้าเราอนุรักษ์ต้นไม้ที่มีอยู่ไม่ให้ถูกทำลาย ป่าก็จะมีมากขึ้นเองในอนาคต”
หลังกลับจากค่ายเยาวชนกล้ายิ้มภาคใต้ น้องดาว บอกว่า จะกลับไปบอกคนที่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน และคนในชุมชนให้ช่วยกันอนุรักษ์ป่าและธรรมชาติในชุมชนของตัวเอง โดยยึดเอาแบบอย่างของป่าชุมชนบ้านกลางกลับไปปรับใช้ และก็จะปลูกต้นไม้อย่างที่เคยปฏิบัติเป็นประจำทุกปีต่อไปด้วย
ด้าน น้องบัณฑิต สาระวงค์ นักเรียนโรงเรียนบ้านกลาง จ.พังงา บอกว่า ค่ายเยาวชนกล้ายิ้มภาคใต้ มีเยาวชนจากจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้มาร่วมโครงการ โดยส่วนใหญ่อายุ 13-15 ปี โดยตนรู้สึกดีใจมากที่ได้เป็นหนึ่งในเด็ก 80 คนที่มาร่วมโครงการในครั้งนี้ เพราะต่างคนต่างที่มา ต่างประสบการณ์ แต่ได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ที่สำคัญ ยังได้มิตรภาพกลับไปอีกเป็นกระบุงโกย น้องบัณฑิต บอกอีกว่า นอกจากความรู้ในเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติแล้ว พี่ๆในโครงการยังสอนถึงวิธีรับมือกับภัยธรรมชาติต่างๆ ด้วย โดยเฉพาะไฟป่า แม้แถวบ้านจะไม่ค่อยเกิดบ่อยนัก แต่เราต้องรู้จักวิธีในการรับมือและป้องกันไว้
ส่วนผลพลอยได้จากการเข้าร่วมโครงการ น้องบัณฑิต บอกว่า ได้รับความกล้าแสดงออกและความสามัคคีกลับไปเต็มเปี่ยม เพราะการทำกิจกรรมในค่ายจะมีการจับกลุ่มร่วมกัน ถ้าเราไม่สามัคคีกันกิจกรรมต่างๆ ก็จะไม่ราบรื่น นอกจากนี้ ยังต้องกล้าที่จะแสดงออก กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น อย่างที่ครูนพพลบอกไว้ว่า ผิดถูกไม่เป็นไร ขอให้กล้าแสดงพูดกล้าแสดงความคิดเห็นออกมา จะได้รู้ว่าตนเข้าใจถูกต้องหรือเปล่า
...แม้ว่ากิจกรรมที่จัดจะเป็นเพียงช่วงสั้นๆ แต่เชื่อว่า จะตราตรึงอยู่ในความทรงจำของเยาวชนไปอีกนาน รวมไปถึงความรู้และจิตสำนึกในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ปลูกลงไปในจิตใจของเด็กและเยาวชน ซึ่งรอเติบโตไปพร้อมๆ กันกับป่าที่เหล่าเยาวชนได้ลงมือปลูกกัน