สอศ.เจรจา มทร.หาช่องส่งเสริม ปวส.เรียน ป.ตรี ง่ายขึ้น ระบุ ที่ผ่านมา เด็กจบ ปวส.เรียนต่อ ป.ตรี ใช้เวลามากกว่าเด็กที่จบสายสามัญ ส่งผลให้หันไปเรียน ป.ตรี ตั้งแต่จบ ปวช.
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ตนได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ไปหาแนวทางแก้ปัญหานักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ที่เรียนจบแล้วไม่อยากเรียนต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เพราะโอกาสที่จะต่อปริญญาตรีในสายเดิมมีน้อย จึงขอให้ สอศ.ไปหารือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) หาแนวทางแก้ปัญหาให้เด็กกลุ่มนี้ เพื่อที่ว่าต่อไปใครที่เรียนสายอาชีพแล้วอยากเรียนต่อปริญญาสามารถทำได้เรียนได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาหรือข้อจำกัดต่างๆ
ด้าน นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นเพราะที่ผ่านมา เด็กจบ ปวส.หากอยากเรียนต่อระดับปริญญาตรี จะต้องใช้เวลาถึง 2 ปีครึ่ง ทั้งที่เรียนจบระดับอนุปริญญามาแล้ว เท่ากับว่า ต้องเสียเวลาเรียนมากกว่าคนที่เรียนสายสายมัญปกติ ดังนั้น เด็กที่จบ ปวส.จึงไม่อยากต่อปริญญาตรี เพราะคิดว่าเสียเวลา ขณะที่สาขาทางด้านวิชาชีพก็มีน้อย ส่วนใหญ่จบแล้วจึงออกมาทำงานทันที ขณะที่เด็กที่จบปวช.ก็จะไปเรียนมหาวิทยาลัย ในสาขาอื่นที่ไม่ตรงกับที่เรียน เพราะอยากได้ปริญญา ทำให้เกิดความสูญเปล่า ซึ่งเด็กควรจะได้เรียนต่อในสายอาชีพที่เรียนมาให้เกิดความต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม โดยที่ผ่านมา สอศ.ได้หารือกับ มทร.บางแห่งเพื่อแก้ไขปัญหานี้แล้ว และได้รับการตอบรับที่ดี โดยทาง มทร.ยินดีรับเด็กที่จบปวส.เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีทันที ใช้วิธีการเทียบโอนหน่วยกิตที่นักศึกษาเรียนไปแล้วตอนอยู่ ปวส.ก็ไม่มาเรียนซ้ำอีก เพื่อให้นักศึกษาสามารถจบปริญญาตรีได้ภายใน 2 ปี เท่ากับนักศึกษาที่เรียนตามปกติ และต่อไปสถาบันการอาชีวศึกษาทั้ง 19 แห่งที่กำลังจะเกิดขึ้น ก็จะเป็นทางเลือกหนึ่งให้นักศึกษาสายอาชีพที่ต้องการเรียนจบปริญญาตรีในสายวิชาชีพได้เลือก ซึ่งจะเน้นการเรียนการสอนด้วยการปฏิบัติอย่างเข้มข้นมีทักษะฝีมือขั้นสูง โดยตั้งเป้าให้นักศึกษากลุ่มนี้เข้าไปเติมเต็มระหว่างนักศึกษาที่มีฝีมือในขั้นต้น และนักศึกษาที่มีความสามารถทางวิชาการ
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ตนได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ไปหาแนวทางแก้ปัญหานักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ที่เรียนจบแล้วไม่อยากเรียนต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เพราะโอกาสที่จะต่อปริญญาตรีในสายเดิมมีน้อย จึงขอให้ สอศ.ไปหารือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) หาแนวทางแก้ปัญหาให้เด็กกลุ่มนี้ เพื่อที่ว่าต่อไปใครที่เรียนสายอาชีพแล้วอยากเรียนต่อปริญญาสามารถทำได้เรียนได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาหรือข้อจำกัดต่างๆ
ด้าน นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นเพราะที่ผ่านมา เด็กจบ ปวส.หากอยากเรียนต่อระดับปริญญาตรี จะต้องใช้เวลาถึง 2 ปีครึ่ง ทั้งที่เรียนจบระดับอนุปริญญามาแล้ว เท่ากับว่า ต้องเสียเวลาเรียนมากกว่าคนที่เรียนสายสายมัญปกติ ดังนั้น เด็กที่จบ ปวส.จึงไม่อยากต่อปริญญาตรี เพราะคิดว่าเสียเวลา ขณะที่สาขาทางด้านวิชาชีพก็มีน้อย ส่วนใหญ่จบแล้วจึงออกมาทำงานทันที ขณะที่เด็กที่จบปวช.ก็จะไปเรียนมหาวิทยาลัย ในสาขาอื่นที่ไม่ตรงกับที่เรียน เพราะอยากได้ปริญญา ทำให้เกิดความสูญเปล่า ซึ่งเด็กควรจะได้เรียนต่อในสายอาชีพที่เรียนมาให้เกิดความต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม โดยที่ผ่านมา สอศ.ได้หารือกับ มทร.บางแห่งเพื่อแก้ไขปัญหานี้แล้ว และได้รับการตอบรับที่ดี โดยทาง มทร.ยินดีรับเด็กที่จบปวส.เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีทันที ใช้วิธีการเทียบโอนหน่วยกิตที่นักศึกษาเรียนไปแล้วตอนอยู่ ปวส.ก็ไม่มาเรียนซ้ำอีก เพื่อให้นักศึกษาสามารถจบปริญญาตรีได้ภายใน 2 ปี เท่ากับนักศึกษาที่เรียนตามปกติ และต่อไปสถาบันการอาชีวศึกษาทั้ง 19 แห่งที่กำลังจะเกิดขึ้น ก็จะเป็นทางเลือกหนึ่งให้นักศึกษาสายอาชีพที่ต้องการเรียนจบปริญญาตรีในสายวิชาชีพได้เลือก ซึ่งจะเน้นการเรียนการสอนด้วยการปฏิบัติอย่างเข้มข้นมีทักษะฝีมือขั้นสูง โดยตั้งเป้าให้นักศึกษากลุ่มนี้เข้าไปเติมเต็มระหว่างนักศึกษาที่มีฝีมือในขั้นต้น และนักศึกษาที่มีความสามารถทางวิชาการ