“หมอณรงค์” เผยเด็ก ป.1 พัฒนาการล่าช้า ทักษะภาษายังไม่คล่อง ส่วนใหญ่ยังอ่านและเขียนไม่ได้ เชื่อ แท็บเล็ตช่วยได้ แต่พ่อแม่และครู ต้องรู้เท่าทัน เล็งชง ศธ.ลงแอปพลิเคชันส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
วันนี้ (22 พ.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต พร้อมด้วย ทีมโฆษกและคณะผู้บริหาร แถลงข่าวเรื่อง แท็บเล็ต (Tablet) กับพัฒนาการเด็กไทย โดย นพ.ณรงค์ กล่าวว่า จากผลสำรวจสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัย กรมอนามัย และการติดตามสถานการณ์สติปัญญาเด็กนักเรียนไทยของกรมสุขภาพจิต พบว่า พัฒนาการเด็กปฐมวัย นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2546-2550 มีแนวโน้มลดลง จากร้อยละ 79.9 เป็นร้อยละ 67.7 ตามลำดับ ซึ่งในจำนวนนี้ จะมีเด็ก ป.1 จำนวนร้อยละ 30 มีพัฒนาการบางด้านล่าช้า ขาดความพร้อมเมื่อเทียบกับเพื่อนวัยเดียวกัน ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงความไม่พร้อมในการเรียนรู้ตามวัยจำเป็นต้องให้การดูแลพิเศษเพื่อให้มีพัฒนาการปกติโดยเร็ว เพื่อเตรียมรับความพร้อมในการเรียนรู้ในระบบปกติ ทั้งนี้ ในภาพรวมศักยภาพของเด็กไทย ชั้น ป.1-3 พัฒนาการของเด็กยังไม่ถึง ทั้งทักษะการใช้ภาษาที่ยังไม่คล่องส่วนมากยังอ่านและเขียนไม่ได้
นพ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า สมองของเด็กเรียนรู้มากกว่าสมองของผู้ใหญ่เป็นพันๆ เท่า เด็กเรียนรู้ทุกอย่างที่เข้ามาปะทะ สิ่งที่เข้ามาปะทะล้วนเป็นข้อมูลที่เข้าไปกระตุ้นสมองเด็ก ทำให้เซลล์ต่างๆ เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเส้นใยสมอง และจุดเชื่อมต่อต่างๆ อย่างมากมาย ซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ สมอง จะทำหน้าที่นี้ไปจนถึงอายุ 10 ปี จากนั้นสมองจะเริ่มขจัดข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันทิ้งไปเพื่อให้ส่วนที่เหลือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
นพ.ณรงค์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้จากกรณีกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แจกแท็ปเล็ตถือเป็นสื่อทันสมัยที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้โลกกว้างมากขึ้น เช่น อีบุค แอปพลิเคชันความรู้ต่างๆ รวมถึงการฝึกทักษาภาษาอื่นๆ ด้วย แต่ พ่อแม่และครูต้องมีส่วนร่วมในการฝึกเพื่อไม่ให้เด็กใช้ในด้านความบันเทิงอย่างเดียว รวมถึงต้องควบคุมการเล่นให้ใช้เฉลี่ยครั้งละ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงเท่านั้น เพราะเด็กวัยนี้ต้องการเรียนรู้ผ่านปฏิสัมพันธ์กับบุคคลจริงด้วย และเป็นช่วงที่กระบวนการทำงานของสมองให้เกิดการทำงานที่ประสานสัมพันธ์กันระหว่างสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา จึงควรพัฒนาทักษะทุกอย่างรอบด้าน เช่น ทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือในการขีดเขียน ทักษะการฟัง ทักษะการเคลื่อนไหว ทักษะทางสังคม เช่น การรู้จักรอคอย การแบ่งปัน ซึ่งต้องอาศัยการสื่อสารสองทาง ( Two Ways Communications) ส่วนเรื่องทักษะด้านภาษา การขีดเขียน เป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องซึ่งเด็กวัยนี้ต้องการ
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้กรมสุขภาพจิตอยู่ระหว่างการประสานกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อขอใส่แอปพลิเคชัน 2 โปรแกรมเข้าไปในแท็บเล็ตที่จะให้เด็ก ป.1 ใช้ด้วย โดยจะนำเนื้อหาจากคู่มือ 2 เล่ม มาดัดแปลงเป็นแอปพลิเคชัน คือ 1.คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี สำหรับผู้ปกครอง โดยเนื้อหาจะเน้นเรื่องการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยในเด็ก หลักการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ตารางพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี และการส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามวัย และ 2.การ์ตูนพัฒนาทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนชั้น ป.1-3 และคู่มือประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เนื้อหาเกี่ยวข้องกับการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหา การจัดการกับอารมณ์และความเครียด และการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น ซึ่งทั้ง 2 แอปพลิเคชันจะช่วยเสริมพัฒนาการของเด็ก
วันนี้ (22 พ.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต พร้อมด้วย ทีมโฆษกและคณะผู้บริหาร แถลงข่าวเรื่อง แท็บเล็ต (Tablet) กับพัฒนาการเด็กไทย โดย นพ.ณรงค์ กล่าวว่า จากผลสำรวจสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัย กรมอนามัย และการติดตามสถานการณ์สติปัญญาเด็กนักเรียนไทยของกรมสุขภาพจิต พบว่า พัฒนาการเด็กปฐมวัย นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2546-2550 มีแนวโน้มลดลง จากร้อยละ 79.9 เป็นร้อยละ 67.7 ตามลำดับ ซึ่งในจำนวนนี้ จะมีเด็ก ป.1 จำนวนร้อยละ 30 มีพัฒนาการบางด้านล่าช้า ขาดความพร้อมเมื่อเทียบกับเพื่อนวัยเดียวกัน ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงความไม่พร้อมในการเรียนรู้ตามวัยจำเป็นต้องให้การดูแลพิเศษเพื่อให้มีพัฒนาการปกติโดยเร็ว เพื่อเตรียมรับความพร้อมในการเรียนรู้ในระบบปกติ ทั้งนี้ ในภาพรวมศักยภาพของเด็กไทย ชั้น ป.1-3 พัฒนาการของเด็กยังไม่ถึง ทั้งทักษะการใช้ภาษาที่ยังไม่คล่องส่วนมากยังอ่านและเขียนไม่ได้
นพ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า สมองของเด็กเรียนรู้มากกว่าสมองของผู้ใหญ่เป็นพันๆ เท่า เด็กเรียนรู้ทุกอย่างที่เข้ามาปะทะ สิ่งที่เข้ามาปะทะล้วนเป็นข้อมูลที่เข้าไปกระตุ้นสมองเด็ก ทำให้เซลล์ต่างๆ เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเส้นใยสมอง และจุดเชื่อมต่อต่างๆ อย่างมากมาย ซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ สมอง จะทำหน้าที่นี้ไปจนถึงอายุ 10 ปี จากนั้นสมองจะเริ่มขจัดข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันทิ้งไปเพื่อให้ส่วนที่เหลือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
นพ.ณรงค์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้จากกรณีกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) แจกแท็ปเล็ตถือเป็นสื่อทันสมัยที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้โลกกว้างมากขึ้น เช่น อีบุค แอปพลิเคชันความรู้ต่างๆ รวมถึงการฝึกทักษาภาษาอื่นๆ ด้วย แต่ พ่อแม่และครูต้องมีส่วนร่วมในการฝึกเพื่อไม่ให้เด็กใช้ในด้านความบันเทิงอย่างเดียว รวมถึงต้องควบคุมการเล่นให้ใช้เฉลี่ยครั้งละ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงเท่านั้น เพราะเด็กวัยนี้ต้องการเรียนรู้ผ่านปฏิสัมพันธ์กับบุคคลจริงด้วย และเป็นช่วงที่กระบวนการทำงานของสมองให้เกิดการทำงานที่ประสานสัมพันธ์กันระหว่างสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา จึงควรพัฒนาทักษะทุกอย่างรอบด้าน เช่น ทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือในการขีดเขียน ทักษะการฟัง ทักษะการเคลื่อนไหว ทักษะทางสังคม เช่น การรู้จักรอคอย การแบ่งปัน ซึ่งต้องอาศัยการสื่อสารสองทาง ( Two Ways Communications) ส่วนเรื่องทักษะด้านภาษา การขีดเขียน เป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องซึ่งเด็กวัยนี้ต้องการ
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้กรมสุขภาพจิตอยู่ระหว่างการประสานกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อขอใส่แอปพลิเคชัน 2 โปรแกรมเข้าไปในแท็บเล็ตที่จะให้เด็ก ป.1 ใช้ด้วย โดยจะนำเนื้อหาจากคู่มือ 2 เล่ม มาดัดแปลงเป็นแอปพลิเคชัน คือ 1.คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี สำหรับผู้ปกครอง โดยเนื้อหาจะเน้นเรื่องการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยในเด็ก หลักการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ตารางพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5 ปี และการส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามวัย และ 2.การ์ตูนพัฒนาทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนชั้น ป.1-3 และคู่มือประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เนื้อหาเกี่ยวข้องกับการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหา การจัดการกับอารมณ์และความเครียด และการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น ซึ่งทั้ง 2 แอปพลิเคชันจะช่วยเสริมพัฒนาการของเด็ก