“หมอสุริยเดว” แนะใช้คะแนนกิจกรรมคัดเด็กเรียนต่อ ม.4 ด้วย บอกเด็กจะได้ไม่บ้าเรียนเกินไป จนกลายเป็นการแข่งขัน วอนโรงเรียนทบทวนให้โอกาสเด็กกิจกรรมและทำชื่อเสียง ย้อนถาม ศธ.จะให้เด็กจบ ป.เอก โดยไม่ทำกิจกรรม หรือทำอะไรให้สังคมเลยหรือ
นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว กล่าวว่า กรณีนักเรียนโรงเรียนบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) อดข้าวประท้วงไม่ได้เข้าเรียนต่อชั้น ม.4 สะท้อนว่า เด็กบางคนที่เป็นนักกิจกรรม และทำชื่อเสียงให้โรงเรียน แต่ไม่ได้รับพิจารณาเข้าเรียนต่อ เพราะขณะนี้โรงเรียนทุกแห่งกำลังมุ่งใช้คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร และคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) เป็นเกณฑ์ตัดสินคัดนักเรียนเข้าศึกษาต่อ ซึ่งจะทำให้เด็กมุ่งแต่เรียนอย่างเดียว เกิดความเครียด และแห่ไปกวดวิชา โดยไม่สนใจทำกิจกรรม แต่โรงเรียนควรนำค่าน้ำหนักคะแนนจากการร่วมกิจกรรมมาประกอบการพิจารณาคัดเลือก อาทิ การเป็นตัวแทนของโรงเรียนเข้าแข่งขันและสร้างชื่อเสียงให้โรงเรียน ซึ่งจะทำให้เด็กมีความสุขกับการเรียน และไม่ต้องกังวลว่าเสียสละเวลามาทำกิจกรรมให้กับโรงเรียน แล้วจะไม่ได้เข้าเรียนต่อ ตนคิดว่า ถึงเวลาที่ต้องมาร่วมกันทบทวน เพื่อไม่ให้นักเรียนเกิดความรู้สึกว่า ทำกิจกรรมของโรงเรียนแล้ว จะกลายเป็นจุดเสี่ยง
“เรื่องของผลการเรียนก็ทิ้งไม่ได้ เพราะหากได้คะแนนเฉลี่ยเพียง 1 กว่า ก็จะมีปัญหาในการเรียนระดับ ม.ปลาย แต่ก็อยากให้นำเรื่องการทำกิจกรรมของนักเรียนมาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาเข้าเรียนต่อด้วย เพราะไม่อยากให้เด็กไทยบ้าเรียนจนเกินไป ซึ่งจะยิ่งทำให้เกิดการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม ก็คงต้องถามไปยังกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ต้องการจะให้เด็กไทยจบปริญญาเอก โดยไม่เคยทำกิจกรรม หรือทำอะไรให้กับสังคมเลยใช่หรือไม่” นพ.สุริยเดว กล่าว
นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว กล่าวว่า กรณีนักเรียนโรงเรียนบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) อดข้าวประท้วงไม่ได้เข้าเรียนต่อชั้น ม.4 สะท้อนว่า เด็กบางคนที่เป็นนักกิจกรรม และทำชื่อเสียงให้โรงเรียน แต่ไม่ได้รับพิจารณาเข้าเรียนต่อ เพราะขณะนี้โรงเรียนทุกแห่งกำลังมุ่งใช้คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร และคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) เป็นเกณฑ์ตัดสินคัดนักเรียนเข้าศึกษาต่อ ซึ่งจะทำให้เด็กมุ่งแต่เรียนอย่างเดียว เกิดความเครียด และแห่ไปกวดวิชา โดยไม่สนใจทำกิจกรรม แต่โรงเรียนควรนำค่าน้ำหนักคะแนนจากการร่วมกิจกรรมมาประกอบการพิจารณาคัดเลือก อาทิ การเป็นตัวแทนของโรงเรียนเข้าแข่งขันและสร้างชื่อเสียงให้โรงเรียน ซึ่งจะทำให้เด็กมีความสุขกับการเรียน และไม่ต้องกังวลว่าเสียสละเวลามาทำกิจกรรมให้กับโรงเรียน แล้วจะไม่ได้เข้าเรียนต่อ ตนคิดว่า ถึงเวลาที่ต้องมาร่วมกันทบทวน เพื่อไม่ให้นักเรียนเกิดความรู้สึกว่า ทำกิจกรรมของโรงเรียนแล้ว จะกลายเป็นจุดเสี่ยง
“เรื่องของผลการเรียนก็ทิ้งไม่ได้ เพราะหากได้คะแนนเฉลี่ยเพียง 1 กว่า ก็จะมีปัญหาในการเรียนระดับ ม.ปลาย แต่ก็อยากให้นำเรื่องการทำกิจกรรมของนักเรียนมาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาเข้าเรียนต่อด้วย เพราะไม่อยากให้เด็กไทยบ้าเรียนจนเกินไป ซึ่งจะยิ่งทำให้เกิดการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม ก็คงต้องถามไปยังกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ต้องการจะให้เด็กไทยจบปริญญาเอก โดยไม่เคยทำกิจกรรม หรือทำอะไรให้กับสังคมเลยใช่หรือไม่” นพ.สุริยเดว กล่าว