กรรมการสิทธิฯ แนะกระทรวงศึกษาฯ ควรพัฒนารระบบการศึกษาอย่าให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ติง รมว.อย่ามองเป็นเรื่องการเมืองอยู่เบื้องเหตุเด็กบดินทรฯ อดข้าวประท้วง เตรียมจัดเวทีระดมความเห็นแก้ปัญหาหาทางออก
วันนี้ (24 พ.ค.) นางวิสา เบ็ญจะมโน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุกรรมการปฏิบัติยุทธศาสตร์ด้านเด็กและสตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และความเสมอภาคของบุคคล กล่าวถึงกรณีปัญหาการรับนักเรียนในขณะนี้ว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้จำนวนมาก ทั้งการเรียกเก็บแปะเจี๊ย ความไม่เป็นธรรมในการเก็บค่าเล่าเรียน ซึ่งทางคณะกรรมการสิทธิฯ เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องการศึกษาของเด็กที่ควรได้รับสิทธิและโอกาสจากภาครัฐอย่างเต็มที่ ส่วนกรณีนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบดินทรเดชา อดข้าวประท้วงเป็นเรื่องที่ไม่น่าเกิดขึ้น เพราะปกติแล้วเด็กควรมีสิทธิและโอกาสที่จะได้รับการศึกษาโดยเฉพาะการศึกษาภาคบังคับที่ควรได้รับอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นสายสามัญหรือสายอาชีพ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการควรพัฒนาระบบการศึกษาโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาฯ ให้มีมาตรฐานเสมอกัน เพื่อป้องกันปัญหาความเหลื่อมล้ำ
“เรื่องนี้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกด้านจิตใจ จากการหารือของคณะอนุกรรมการสิทธิฯ ด้านนี้เห็นว่า หากโรงเรียนใดเปิดชั้นเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยม 1-6 ก็ควรที่จะผลักดันให้เด็กเรียนจนจบชั้นมัธยม 6 ไม่ควรปล่อยครึ่งๆ กลางๆ หากเด็กนักเรียนคนนั้นมีความประสงค์ที่จะเรียนต่อจนจบ แต่หากเด็กนักเรียนคนใดอยากไปสอบในโรงเรียนที่ดีกว่า ก็ต้องไปสอบแข่งขันตามเงื่อนไขของแต่ละโรงเรียน ซึ่งก็จะเป็นไปตามความประสงค์ของเด็กและผู้ปกครองเอง” นางวิสากล่าวและว่า กรณีนี้กรรมการสิทธิฯ กำลังจะมีการจัดเปิดเวทีเสวนาเพื่อถกเถียงถึงปัญหาและแนวทางออกที่ควรจะเป็นในเร็วๆ นี้
นางวิสายังกล่าวถึงกรณีที่ รมว.ศึกษาธิการ ระบุว่าการอดข้าวประท้วงของนักเรียนมีการเมืองอยู่เบื้องหลังนั้น ไม่ทราบว่ามีการเมืองหรือไม่ แต่ตนมองในเรื่องสิทธิของเด็กที่ได้มีการแสดงออกในเรื่องของการศึกษา ซึ่งอาจเกิดมาจากการกดดัน และเห็นว่ามีความเหลื่อมล้ำ ตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรมมากกว่าจึงเลือกวิธีนี้เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าภาครัฐควรปรับปรุงแก้ไขระบบการศึกษาให้ดีขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ และเกิดการซ้ำซากของปัญหาอีก
“การที่เด็กออกมาประท้วง ดิฉันมองไปในมุมสิทธิมากกว่าการเมือง เพราะสิ่งสำคัญที่สุด คือ เด็กควรได้รับการศึกษาอย่างเต็มความสามารถเท่าที่จะได้รับ”
นางวิสากล่าวอีกว่า อยากให้เด็กและผู้ปกครองทบทวนความคิดในเรื่องการเรียนต่อใหม่ เนื่องจากในปัจจุบันนี้ระบบการศึกษาสายอาชีวะยังมีความต้องการมาก และขาดแคลน ดังนั้น สังคมผู้ปกครองควรหันมาคิดใหม่ว่าการเรียนในสายอาชีพไม่ใช่เรื่องที่ตกต่ำ หรือเป็นสายการเรียนที่ต่ำต้อยกว่าสายสามัญ หากมองในทางกลับกัน การเรียนด้านสายอาชีพก็เป็นสิ่งที่ดีและให้ความมั่นคงของชีวิตได้ เพราะเราสามารถหางานทำที่มั่นคงได้ไม่น้อยหน้าด้านสายสามัญที่คิดว่าจบปริญญาตรี แล้วจะมีหน้าที่การงานที่ดี ซึ่งปัจจุบันคนที่จบปริญญาตรีขณะนี้หางานทำไม่ได้ และตกงานเป็นจำนวนมาก
วันนี้ (24 พ.ค.) นางวิสา เบ็ญจะมโน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุกรรมการปฏิบัติยุทธศาสตร์ด้านเด็กและสตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และความเสมอภาคของบุคคล กล่าวถึงกรณีปัญหาการรับนักเรียนในขณะนี้ว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้จำนวนมาก ทั้งการเรียกเก็บแปะเจี๊ย ความไม่เป็นธรรมในการเก็บค่าเล่าเรียน ซึ่งทางคณะกรรมการสิทธิฯ เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องการศึกษาของเด็กที่ควรได้รับสิทธิและโอกาสจากภาครัฐอย่างเต็มที่ ส่วนกรณีนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบดินทรเดชา อดข้าวประท้วงเป็นเรื่องที่ไม่น่าเกิดขึ้น เพราะปกติแล้วเด็กควรมีสิทธิและโอกาสที่จะได้รับการศึกษาโดยเฉพาะการศึกษาภาคบังคับที่ควรได้รับอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นสายสามัญหรือสายอาชีพ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการควรพัฒนาระบบการศึกษาโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาฯ ให้มีมาตรฐานเสมอกัน เพื่อป้องกันปัญหาความเหลื่อมล้ำ
“เรื่องนี้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกด้านจิตใจ จากการหารือของคณะอนุกรรมการสิทธิฯ ด้านนี้เห็นว่า หากโรงเรียนใดเปิดชั้นเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยม 1-6 ก็ควรที่จะผลักดันให้เด็กเรียนจนจบชั้นมัธยม 6 ไม่ควรปล่อยครึ่งๆ กลางๆ หากเด็กนักเรียนคนนั้นมีความประสงค์ที่จะเรียนต่อจนจบ แต่หากเด็กนักเรียนคนใดอยากไปสอบในโรงเรียนที่ดีกว่า ก็ต้องไปสอบแข่งขันตามเงื่อนไขของแต่ละโรงเรียน ซึ่งก็จะเป็นไปตามความประสงค์ของเด็กและผู้ปกครองเอง” นางวิสากล่าวและว่า กรณีนี้กรรมการสิทธิฯ กำลังจะมีการจัดเปิดเวทีเสวนาเพื่อถกเถียงถึงปัญหาและแนวทางออกที่ควรจะเป็นในเร็วๆ นี้
นางวิสายังกล่าวถึงกรณีที่ รมว.ศึกษาธิการ ระบุว่าการอดข้าวประท้วงของนักเรียนมีการเมืองอยู่เบื้องหลังนั้น ไม่ทราบว่ามีการเมืองหรือไม่ แต่ตนมองในเรื่องสิทธิของเด็กที่ได้มีการแสดงออกในเรื่องของการศึกษา ซึ่งอาจเกิดมาจากการกดดัน และเห็นว่ามีความเหลื่อมล้ำ ตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรมมากกว่าจึงเลือกวิธีนี้เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าภาครัฐควรปรับปรุงแก้ไขระบบการศึกษาให้ดีขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำ และเกิดการซ้ำซากของปัญหาอีก
“การที่เด็กออกมาประท้วง ดิฉันมองไปในมุมสิทธิมากกว่าการเมือง เพราะสิ่งสำคัญที่สุด คือ เด็กควรได้รับการศึกษาอย่างเต็มความสามารถเท่าที่จะได้รับ”
นางวิสากล่าวอีกว่า อยากให้เด็กและผู้ปกครองทบทวนความคิดในเรื่องการเรียนต่อใหม่ เนื่องจากในปัจจุบันนี้ระบบการศึกษาสายอาชีวะยังมีความต้องการมาก และขาดแคลน ดังนั้น สังคมผู้ปกครองควรหันมาคิดใหม่ว่าการเรียนในสายอาชีพไม่ใช่เรื่องที่ตกต่ำ หรือเป็นสายการเรียนที่ต่ำต้อยกว่าสายสามัญ หากมองในทางกลับกัน การเรียนด้านสายอาชีพก็เป็นสิ่งที่ดีและให้ความมั่นคงของชีวิตได้ เพราะเราสามารถหางานทำที่มั่นคงได้ไม่น้อยหน้าด้านสายสามัญที่คิดว่าจบปริญญาตรี แล้วจะมีหน้าที่การงานที่ดี ซึ่งปัจจุบันคนที่จบปริญญาตรีขณะนี้หางานทำไม่ได้ และตกงานเป็นจำนวนมาก