สมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯสำนักช่างสิบหมู่ ทรงเขียนภาพไตรภูมิ สมัยรัชกาลที่ 9 เฉลิมพระเกียรติในหลวง 21 พ.ค.นี้ วธ.เตรียมนำภาพใช้ประกอบหนังสือไตรภูมิกถา
วันนี้ (17 พ.ค.) ม.ร.ว.จักรรถ จิตรพงศ์ อดีตปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ในฐานะผู้อำนวยการโครงการสร้างสรรค์ภาพไตรภูมิ สมัยรัชกาลที่ 9 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554 กล่าวว่า วธ.ดำเนินโครงการที่สำนักช่างสิบหมู่ จ.นครปฐม เพื่อนำมาใช้เป็นภาพประกอบหนังสือไตรภูมิกถา ฉบับรัชกาลที่ 9 ขณะนี้การดำเนินงานเกือบเสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยได้คัดลอกมาจากหนังสือไตรภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง บทพระราชนิพนธ์ของพญาลิไท กษัตริย์สมัยสุโขทัย เขียนขึ้นปี พ.ศ.1888 เป็นเรื่องเกี่ยวกับบาปบุญคุณโทษ ศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม ตลอดจนเป็นสิ่งจรรโลงสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข นับเป็นวรรณกรรมชิ้นเอกด้านพุทธศาสนาเรื่องแรกของไทย และยังคงรักษาอยู่มาถึงปัจจุบัน
ม.ร.ว.จักรรถ กล่าวว่า ในสมัยก่อนมีการคัดลอกเผยแพร่ด้วยการวาด ต่อมาเมื่อมีแท่นพิมพ์ จะเน้นพิมพ์ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ การคัดลอกด้วยมือ การวาด จึงลดลงเกือบจะไม่มีเลย จึงเกิดความเสียดายว่า ประเพณีการคัดลอกหนังสือไตรภูมิ ประกอบกับช่างในสมัยรัชกาลที่ 9 ยังไม่เคยมีใครเป็นผู้จัดการอุปถัมภ์ให้เกิดขึ้นเลย จึงได้จัดโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา 5 ธันวาคม โดยเปิดโอกาสให้ศิลปินชั้นนำยุคนี้เขียนภาพไตรภูมิ อาทิ อ.ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ อ.ปัญญา วิจินธนสาร พร้อมลูกศิษย์ประมาณ 20 ชีวิต ช่วยกันเขียนในภาพเดียวกัน โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินทรงตรวจเยี่ยม พร้อมทั้งทรงเขียนภาพปิดในไตรภูมิพระร่วงในวันที่ 21 พ.ค.นี้ ณ สำนักช่างสิบหมู่ ศาลายา จ.นครปฐม ถือเป็นอันเสร็จสมบูรณ์
ด้านนายสมชาย เสียงหลาย ปลัด วธ.กล่าวเสริมว่า ภาพไตรภูมิ สมัยรัชกาลที่ 9 จะมีขนาดความสูงประมาณ 16 เมตร กว้าง 3.20 เมตร จัดทำเป็นภาพประกอบหนังสือไตรภูมิกถา ฉบับรัชกาลที่ 9 เป็น 2 ภาษา ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เพื่อเผยแพร่ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ การเขียนภาพไตรภูมิ เป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมถึงเป็นการสืบทอดศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ปรัชญาความเชื่อทางศาสนาที่มีมาแต่โบราณ
วันนี้ (17 พ.ค.) ม.ร.ว.จักรรถ จิตรพงศ์ อดีตปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ในฐานะผู้อำนวยการโครงการสร้างสรรค์ภาพไตรภูมิ สมัยรัชกาลที่ 9 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554 กล่าวว่า วธ.ดำเนินโครงการที่สำนักช่างสิบหมู่ จ.นครปฐม เพื่อนำมาใช้เป็นภาพประกอบหนังสือไตรภูมิกถา ฉบับรัชกาลที่ 9 ขณะนี้การดำเนินงานเกือบเสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยได้คัดลอกมาจากหนังสือไตรภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง บทพระราชนิพนธ์ของพญาลิไท กษัตริย์สมัยสุโขทัย เขียนขึ้นปี พ.ศ.1888 เป็นเรื่องเกี่ยวกับบาปบุญคุณโทษ ศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม ตลอดจนเป็นสิ่งจรรโลงสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข นับเป็นวรรณกรรมชิ้นเอกด้านพุทธศาสนาเรื่องแรกของไทย และยังคงรักษาอยู่มาถึงปัจจุบัน
ม.ร.ว.จักรรถ กล่าวว่า ในสมัยก่อนมีการคัดลอกเผยแพร่ด้วยการวาด ต่อมาเมื่อมีแท่นพิมพ์ จะเน้นพิมพ์ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ การคัดลอกด้วยมือ การวาด จึงลดลงเกือบจะไม่มีเลย จึงเกิดความเสียดายว่า ประเพณีการคัดลอกหนังสือไตรภูมิ ประกอบกับช่างในสมัยรัชกาลที่ 9 ยังไม่เคยมีใครเป็นผู้จัดการอุปถัมภ์ให้เกิดขึ้นเลย จึงได้จัดโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา 5 ธันวาคม โดยเปิดโอกาสให้ศิลปินชั้นนำยุคนี้เขียนภาพไตรภูมิ อาทิ อ.ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ อ.ปัญญา วิจินธนสาร พร้อมลูกศิษย์ประมาณ 20 ชีวิต ช่วยกันเขียนในภาพเดียวกัน โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินทรงตรวจเยี่ยม พร้อมทั้งทรงเขียนภาพปิดในไตรภูมิพระร่วงในวันที่ 21 พ.ค.นี้ ณ สำนักช่างสิบหมู่ ศาลายา จ.นครปฐม ถือเป็นอันเสร็จสมบูรณ์
ด้านนายสมชาย เสียงหลาย ปลัด วธ.กล่าวเสริมว่า ภาพไตรภูมิ สมัยรัชกาลที่ 9 จะมีขนาดความสูงประมาณ 16 เมตร กว้าง 3.20 เมตร จัดทำเป็นภาพประกอบหนังสือไตรภูมิกถา ฉบับรัชกาลที่ 9 เป็น 2 ภาษา ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เพื่อเผยแพร่ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ การเขียนภาพไตรภูมิ เป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมถึงเป็นการสืบทอดศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ปรัชญาความเชื่อทางศาสนาที่มีมาแต่โบราณ