“สมเด็จพระเทพฯ” เสด็จฯเขียนภาพไตรภูมิ สมัยรัชกาลที่ 9 ทูลเกล้าฯ ถวายในหลวง คณะทำงาน วธ.-ศิลปิน ฟื้นประเพณีคัดลอกสมุดภาพพระราชนิพนธ์ “พญาลิไท” วรรณกรรมชิ้นเอกสุโขทัย ตีพิมพ์ 2 ภาษา เผยแพร่ชาวโลก
วันนี้ (19 เม.ย.) ม.ร.ว.จักรรถ จิตรพงศ์ ประธานคณะทำงานโครงการสร้างสรรค์ภาพไตรภูมิ สมัยรัชกาลที่ 9 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปิดเผยว่า โครงการเขียนภาพไตรภูมิดังกล่าว มีขนาดความสูงประมาณ 14 เมตร กว้าง 3.20 เมตร ใช้เวลาสร้างสรรค์กว่า 2 ปี เพราะคณะทำงานฯ ศิลปินแห่งชาติ ศิลปินชั้นนำ ศิลปินร่วมสมัยกว่า 20 คน ได้ประสบกับปัญหาน้ำท่วมเมื่อปลายปีที่ผ่านมา มีผลกระทบต่อการเดินทางมาเขียนภาพที่โรงศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร อ.ศาลายา จ.นครปฐม จึงชะลอการเขียนภาพไปชั่วคราว อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ศิลปินได้กลับมาเขียนภาพแล้วและคืบหน้าประมาณ 85% และได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้ทรงเป็น “วิศิษฏศิลปิน” จะเสด็จฯทรงเขียนภาพ เพื่อความสมบูรณ์ของการปิดภาพเขียนดังกล่าวในปลายเดือนพฤษภาคมนี้ หลังจากนั้น คณะทำงานฯ นำขึ้นทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนจะนำมาจัดแสดงนิทรรศการถาวรในสถานที่ใดนั้นรอโปรดเกล้าฯ
ทั้งนี้ คณะทำงานฯ จะจัดทำหนังสือภาพไตรภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง 2 ภาษา ไทย และอังกฤษ เผยแพร่ให้กว้างขวางมากขึ้น ซึ่งเรื่องไตรภูมิกถาเป็นบทพระราชนิพนธ์ของพญาลิไท กษัตริย์สมัยสุโขทัย เขียนขึ้นปี พ.ศ.1888 ที่นักประวัติศาสตร์นักโบราณคดี กล่าวว่า เป็นวรรณกรรมชิ้นเอกด้านพุทธศาสนาเรื่องแรกของไทย ยังคงรักษาอยู่มาถึงปัจจุบัน โดยศิลปินยุคนั้นเขียนภาพลงบนสมุดภาพแล้วมีการคัดลอกกันต่อมาสมัยอยุธยา รัตนโกสินทร์ กระทั่งเมืองไทยมีแท่นพิมพ์จึงมีการตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มออกมา แต่ในปัจจุบันเป็นที่น่าสังเกตว่ายังไม่มีศิลปินร่วมสมัยเขียนภาพไตรภูมิออกมา
ม.ร.ว.จักรรถ กล่าวว่า เท่าที่สืบค้นงานเขียนภาพไตรภูมิของศิลปิน พบเพียงศิลปิน 2 ท่าน คืออาจารย์ เฟื้อ หริพิทักษ์ กับ อาจารย์ อังคาร กัลยาณพงศ์ ช่วยกันคัดลอกของโบราณไว้ 1 เล่ม หลังจากนั้นแล้ว ไม่มีศิลปินร่วมสมัยคนใดมีโอกาสได้เขียนสมุดภาพไตรภูมิ รู้สึกเสียดายประเพณีการคัดลอกหนังสือไตรภูมิในสมัยรัชกาลที่ 9 นี้ ยังไม่มีผู้ใดสืบสานให้บังเกิดขึ้นได้เลย คณะทำงานฯ จึงได้จัดทำขึ้นเพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสวันพระราชสมภพ 85 พรรษา จึงเชิญศิลปินชั้นนำของชาติมาร่วมเขียนภาพในครั้งนี้ เมื่อเสร็จแล้วตีพิมพ์ในหนังสือไตรภูมิกถา 2 ภาษาในเล่มเดียวกันให้ชาวต่างประเทศได้รู้จักด้วย
วันนี้ (19 เม.ย.) ม.ร.ว.จักรรถ จิตรพงศ์ ประธานคณะทำงานโครงการสร้างสรรค์ภาพไตรภูมิ สมัยรัชกาลที่ 9 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปิดเผยว่า โครงการเขียนภาพไตรภูมิดังกล่าว มีขนาดความสูงประมาณ 14 เมตร กว้าง 3.20 เมตร ใช้เวลาสร้างสรรค์กว่า 2 ปี เพราะคณะทำงานฯ ศิลปินแห่งชาติ ศิลปินชั้นนำ ศิลปินร่วมสมัยกว่า 20 คน ได้ประสบกับปัญหาน้ำท่วมเมื่อปลายปีที่ผ่านมา มีผลกระทบต่อการเดินทางมาเขียนภาพที่โรงศิลปกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร อ.ศาลายา จ.นครปฐม จึงชะลอการเขียนภาพไปชั่วคราว อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ศิลปินได้กลับมาเขียนภาพแล้วและคืบหน้าประมาณ 85% และได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้ทรงเป็น “วิศิษฏศิลปิน” จะเสด็จฯทรงเขียนภาพ เพื่อความสมบูรณ์ของการปิดภาพเขียนดังกล่าวในปลายเดือนพฤษภาคมนี้ หลังจากนั้น คณะทำงานฯ นำขึ้นทูลเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนจะนำมาจัดแสดงนิทรรศการถาวรในสถานที่ใดนั้นรอโปรดเกล้าฯ
ทั้งนี้ คณะทำงานฯ จะจัดทำหนังสือภาพไตรภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง 2 ภาษา ไทย และอังกฤษ เผยแพร่ให้กว้างขวางมากขึ้น ซึ่งเรื่องไตรภูมิกถาเป็นบทพระราชนิพนธ์ของพญาลิไท กษัตริย์สมัยสุโขทัย เขียนขึ้นปี พ.ศ.1888 ที่นักประวัติศาสตร์นักโบราณคดี กล่าวว่า เป็นวรรณกรรมชิ้นเอกด้านพุทธศาสนาเรื่องแรกของไทย ยังคงรักษาอยู่มาถึงปัจจุบัน โดยศิลปินยุคนั้นเขียนภาพลงบนสมุดภาพแล้วมีการคัดลอกกันต่อมาสมัยอยุธยา รัตนโกสินทร์ กระทั่งเมืองไทยมีแท่นพิมพ์จึงมีการตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มออกมา แต่ในปัจจุบันเป็นที่น่าสังเกตว่ายังไม่มีศิลปินร่วมสมัยเขียนภาพไตรภูมิออกมา
ม.ร.ว.จักรรถ กล่าวว่า เท่าที่สืบค้นงานเขียนภาพไตรภูมิของศิลปิน พบเพียงศิลปิน 2 ท่าน คืออาจารย์ เฟื้อ หริพิทักษ์ กับ อาจารย์ อังคาร กัลยาณพงศ์ ช่วยกันคัดลอกของโบราณไว้ 1 เล่ม หลังจากนั้นแล้ว ไม่มีศิลปินร่วมสมัยคนใดมีโอกาสได้เขียนสมุดภาพไตรภูมิ รู้สึกเสียดายประเพณีการคัดลอกหนังสือไตรภูมิในสมัยรัชกาลที่ 9 นี้ ยังไม่มีผู้ใดสืบสานให้บังเกิดขึ้นได้เลย คณะทำงานฯ จึงได้จัดทำขึ้นเพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสวันพระราชสมภพ 85 พรรษา จึงเชิญศิลปินชั้นนำของชาติมาร่วมเขียนภาพในครั้งนี้ เมื่อเสร็จแล้วตีพิมพ์ในหนังสือไตรภูมิกถา 2 ภาษาในเล่มเดียวกันให้ชาวต่างประเทศได้รู้จักด้วย