ศธ.เตรียมโละขั้นตอนอนุมัติใบอนุญาตครู บอกช้าทำครูขาดแคลน โดยเฉพาะสาขาคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ สั่งออกใบรับรองชั่วคราวก่อน “สุชาติ” เผย คนจบ ป.บัณฑิต โดยไม่ได้รับรองหลักสูตรมีมาก มอบ สกอ.แก้ระเบียบให้รับทราบหลักสูตรเมื่อไรก็ได้
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ว่า ตนได้หารือเรื่องการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรหลักของ ศธ.และคุรุสภา ให้มีความสอดคล้องกันและเป็นไปด้วยดี ซึ่งตนอยากให้ระเบียบขั้นตอนการอนุมัติใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู มีความรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะครูในสาขาขาดแคลน ทั้งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เพื่อให้บัณฑิตที่จบในสาขาขาดแคลนสามารถออกไปสอนได้ทันที โดยไม่ต้องใช้เวลารอนาน โดยอาจจะออกเป็นใบรับรองชั่วคราวให้ไปสอนได้ก่อน และที่มีปัญหาคืออยู่ขณะนี้ คือ กลุ่มที่เรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู หรือ ป.บัณฑิต ต่อไปขอให้ดูที่ประโยชน์ของนักศึกษาเป็นหลัก ซึ่งหากกฎระเบียบเป็นอุปสรรคทำให้เกิดปัญหา ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และคุรุสภา ช่วยผ่อนปรนเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาที่บริสุทธิ์ไม่ให้ได้รับความเดือดร้อน
“ประเด็นที่เป็นปัญหาอยู่ คือ มหาวิทยาลัยไปขอให้ สกอ.รับรองหลักสูตร แต่ขั้นตอนการรับรองของ สกอ.ใช้เวลานาน บางแห่งจึงเปิดสอนไปก่อน และเมื่อนักศึกษาจบ ก็ยังไม่รับรอง ทำให้เกิดปัญหาจบแล้วขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพไม่ได้ ผมขอให้ทั้ง สกอ.และคุรุสภา ไปจัดการกฎระเบียบ ไม่ให้เป็นอุปสรรคกับนักศึกษา อยากให้ สกอ.รับรองหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยขอเปิดสอนมาให้เร็วขึ้น ส่วนมหาวิทยาลัยใดที่มีปัญหาซื้อขาย ป.บัณฑิต ถ้าพบว่าผิดจริง ก็ต้องไปเอาเรื่องกับมหาวิทยาลัย แต่จะต้องดูแลนักศึกษา โดยอาจจะย้ายให้ไปเรียนที่สถาบันอื่น แต่หากพบว่านักศึกษาก็มีส่วนรู้เห็นและซื้อใบ ป.บัณฑิตเอง ก็จะต้องถูกเอาผิดด้วยเช่นกัน” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
ด้าน นายองค์กร อมรสิรินันท์ เลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า ยอมรับว่า ขณะนี้แต่ละหน่วยงานต่างยึดเอากฎระเบียบที่ตนเองวางไว้เป็นหลัก ทำให้ที่ผ่านมาเกิดปัญหา นักศึกษาอาจไม่ได้รับความช่วยเหลือ เช่น กรณีของมหาวิทยาลัยจันทรเกษม (มจษ.) ที่เปิดสอน ป.บัณฑิตนอกสถานที่ตั้งโดยที่ สกอ.ไม่รับทราบ เมื่อเด็กเรียนจบก็มีปัญหา ไม่สามารถขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ ซึ่งกรณีนี้ถือว่าเด็กไม่ผิด และเมื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทำความเข้าใจแล้ว ก็สามารถแก้ปัญหาไปได้ด้วยดี สรุปแล้ว สกอ.ก็รับทราบหลักสูตรให้ทีหลัง เด็กก็ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ อย่างไรก็ตาม ในอนาคตควรจะมีการปรับกฎระเบียบใหม่ โดยน่าจะยึดในส่วนของสภาวิชาชีพเป็นหลัก ส่วนการรับทราบหลักสูตรนั้น ขอให้เป็นเรื่องของทาง สกอ.แต่ไม่ต้องมาเขียนไว้ในกฎหมาย เพราะการรับทราบหลักสูตรจะรับทราบเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ไม่ต้องไปเขียนว่าต้องให้ สกอ.รับทราบหลักสูตรก่อน และจึงจะสามารถเปิดสอนได้ เพราะก่อนที่มหาวิทยาลัยจะเปิดสอน ต้องได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยอยู่แล้ว ถ้าแก้แบบนี้ในอนาคตก็ตัดปัญหาไปได้
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ว่า ตนได้หารือเรื่องการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรหลักของ ศธ.และคุรุสภา ให้มีความสอดคล้องกันและเป็นไปด้วยดี ซึ่งตนอยากให้ระเบียบขั้นตอนการอนุมัติใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู มีความรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะครูในสาขาขาดแคลน ทั้งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เพื่อให้บัณฑิตที่จบในสาขาขาดแคลนสามารถออกไปสอนได้ทันที โดยไม่ต้องใช้เวลารอนาน โดยอาจจะออกเป็นใบรับรองชั่วคราวให้ไปสอนได้ก่อน และที่มีปัญหาคืออยู่ขณะนี้ คือ กลุ่มที่เรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู หรือ ป.บัณฑิต ต่อไปขอให้ดูที่ประโยชน์ของนักศึกษาเป็นหลัก ซึ่งหากกฎระเบียบเป็นอุปสรรคทำให้เกิดปัญหา ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และคุรุสภา ช่วยผ่อนปรนเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาที่บริสุทธิ์ไม่ให้ได้รับความเดือดร้อน
“ประเด็นที่เป็นปัญหาอยู่ คือ มหาวิทยาลัยไปขอให้ สกอ.รับรองหลักสูตร แต่ขั้นตอนการรับรองของ สกอ.ใช้เวลานาน บางแห่งจึงเปิดสอนไปก่อน และเมื่อนักศึกษาจบ ก็ยังไม่รับรอง ทำให้เกิดปัญหาจบแล้วขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพไม่ได้ ผมขอให้ทั้ง สกอ.และคุรุสภา ไปจัดการกฎระเบียบ ไม่ให้เป็นอุปสรรคกับนักศึกษา อยากให้ สกอ.รับรองหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยขอเปิดสอนมาให้เร็วขึ้น ส่วนมหาวิทยาลัยใดที่มีปัญหาซื้อขาย ป.บัณฑิต ถ้าพบว่าผิดจริง ก็ต้องไปเอาเรื่องกับมหาวิทยาลัย แต่จะต้องดูแลนักศึกษา โดยอาจจะย้ายให้ไปเรียนที่สถาบันอื่น แต่หากพบว่านักศึกษาก็มีส่วนรู้เห็นและซื้อใบ ป.บัณฑิตเอง ก็จะต้องถูกเอาผิดด้วยเช่นกัน” รมว.ศึกษาธิการ กล่าว
ด้าน นายองค์กร อมรสิรินันท์ เลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า ยอมรับว่า ขณะนี้แต่ละหน่วยงานต่างยึดเอากฎระเบียบที่ตนเองวางไว้เป็นหลัก ทำให้ที่ผ่านมาเกิดปัญหา นักศึกษาอาจไม่ได้รับความช่วยเหลือ เช่น กรณีของมหาวิทยาลัยจันทรเกษม (มจษ.) ที่เปิดสอน ป.บัณฑิตนอกสถานที่ตั้งโดยที่ สกอ.ไม่รับทราบ เมื่อเด็กเรียนจบก็มีปัญหา ไม่สามารถขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ ซึ่งกรณีนี้ถือว่าเด็กไม่ผิด และเมื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทำความเข้าใจแล้ว ก็สามารถแก้ปัญหาไปได้ด้วยดี สรุปแล้ว สกอ.ก็รับทราบหลักสูตรให้ทีหลัง เด็กก็ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ อย่างไรก็ตาม ในอนาคตควรจะมีการปรับกฎระเบียบใหม่ โดยน่าจะยึดในส่วนของสภาวิชาชีพเป็นหลัก ส่วนการรับทราบหลักสูตรนั้น ขอให้เป็นเรื่องของทาง สกอ.แต่ไม่ต้องมาเขียนไว้ในกฎหมาย เพราะการรับทราบหลักสูตรจะรับทราบเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ไม่ต้องไปเขียนว่าต้องให้ สกอ.รับทราบหลักสูตรก่อน และจึงจะสามารถเปิดสอนได้ เพราะก่อนที่มหาวิทยาลัยจะเปิดสอน ต้องได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยอยู่แล้ว ถ้าแก้แบบนี้ในอนาคตก็ตัดปัญหาไปได้