พบประชากรไทย มีพาหะแฝง ธาลัสซีเมีย 35-40% ศิริราชพยาบาล-มูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย เตรียมผนึกกำลัง จัดงานรณรงค์ให้ความรู้ ป้องกันโรค 13 พ.ค.นี้
วันนี้ (25 เม.ย.) ที่อาคารกุมารเวชศาสตร์ รพ.ศิริราช ศ.เกียรติคุณ พญ.คุณหญิงสุดสาคร ตู้จินดา ประธานมูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ กล่าวในการแถลงข่าว การจัดงาน “ชมรมโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 และวันธาลัสซีเมียโลก ครั้งที่ 11” ภายใต้แนวคิด The Power of Thalassemia, The Power of You ว่า ประเทศไทยมีประชากรที่เป็นโรคธาลัสซีเมียแบบแฝงอยู่ประมาณร้อยละ 35-40 ของประชากร โดยมีประชากรที่มีอาการของโรคประมาณร้อยละ 1 ซึ่งโรคนี้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง และต้องรักษาไปตลอดชีวิต โดยการให้เลือด ใช้ยาขับเหล็ก และวิธีสเต็มเซลล์ซึ่งมีราคาแพงมาก แต่เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยการตรวจเลือดก่อนตั้งครรภ์ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคในทารกได้
รศ.ดร.นพ.วิปร วิประกษิต แพทย์ประจำสาขาวิชาโลหิตวิทยาและอองโคโลยี ภาควิชากุมารเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีอัตราพบโรคธาลัสซีเมียชนิดแฝงสูง โดยปัจจุบันมีผู้ป่วยประมาณ 600,000 คน ในจำนวนนี้ มีผู้ป่วยที่อาการรุนแรงประมาณ 20,000-30,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็ก โดยผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการที่แตกต่างกันตามระดับความรุนแรงของโรค ตั้งแต่มีโลหิตจางเล็กน้อย โลหิตจางมาก ไปจนถึงเป็นโรคที่รุนแรงมาก จนเสียชีวิตทั้งหมด ตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือหลังคลอดไม่กี่นาที ซึ่งผู้ป่วยที่อาการรุนแรงจะต้องรักษาตัวไปจนตลอดชีวิต เพื่อรักษาระดับเลือดให้เป็นปกติและไม่มีธาตุเหล็กที่สูงเกินไป
“สำหรับอาการโดยทั่วไปจะมีลักษณะผิวสีซีด ตา และตัวเหลือง ตับและม้ามโต ทำให้ท้องป่องและแน่นอึดอัด ตัวแคระแกร็น ใบหน้ามีลักษณะผิดปกติ หรือที่ทางแพทย์เรียกว่า “ใบหน้าธาลัสซีเมีย” คือ ดั้งจมูกแฟบ ตาห่างกัน กระดูดโหนกแก้ม หน้าผาก และขากรรไกรด้านบน นูนแน่น ถ้าซีดมากจะมีอาการเหนื่อย ต้องให้เลือด แต่ถ้ารุนแรงมากอาจต้องให้เลือดทุก 2 สัปดาห์ หรือทุกเดือน และจะทำให้เลือดที่ได้รับไปมากๆ ไปทำลายเนื้อเยื่อต่างๆ และเกิดโรคอื่นๆตามมา เช่น ตับแข็ง เบาหวาน” รศ.ดร.นพ.วิปร กล่าว
รศ.ดร.นพ.วิปร กล่าวต่อว่า สำหรับชนิดของธาลัสซีเมียนั้นแบ่งตามลักษณะความผิดปกติได้ 3 ประเภท ได้แก่ ฮีโมลโกลบินอี แอลฟ่า ธาลัสซีเมีย (α-thalassemia ) และ เบต้า ธาลัสซีเมีย (β -thalassemia) ซึ่งหากประชากรที่มีธาลัสซีเมียแฝงชนิดเดียวกันมีลูกด้วยกัน จะเสี่ยงทำให้ลูกเป็นธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง จึงจำเป็นต้องตรวจเลือดเมื่อตั้งครรภ์ โดยเฉพาะหากพบว่าคนใดคนหนึ่งมีธาลัสซีเมียแฝง เพื่อดูว่าจะเป็นชนิดเดียวกันหรือไม่ ทั้งนี้ การรักษาปัจจุบันแม้จะดีขึ้น แต่ก็มีอยู่ไม่มาก คือ การรักษาอย่างพื้นฐาน โดยการให้เลือดและการให้ยาขับเหล็ก ในส่วนของการให้เลือด เนื่องจากประเทศไทยมีผู้ป่วยธาลัสซีเมียจำนวนมากไม่สามารถให้เลือดผู้ป่วยที่ควรได้รับเลือดทุกคนอย่างเต็มที่ สิ่งสำคัญคือ ต้องวิจัยให้ทราบว่า จะให้เลือดเพื่อรักษาระดับฮีโมโกลบินไว้ที่เท่าใด จึงจะรักษาได้ ส่วนการให้ยาขับเหล็กนั้น ผู้ป่วยควรได้รับยาขับเหล็กเพื่อขจัดภาวะเหล็กเกิน ซึ่งในอดีต้องฉีดเข็มคาไว้ที่แขนประมาณ 12 ชม.แต่ปัจจุบันมียาประเภทกินแม้จะง่ายขึ้น แต่ก็มีราคาแพง ดังนั้น ประเทศไทยจึงต้องรณรงค์ให้มีการป้องกันมากกว่าการรักษา นอกจากนี้ ยังมีการรักษาขั้นสูง โดยการปลูกถ่ายไขกระดูก หรือเรียกว่า สเต็มเซลล์ (stem cellscX) แต่ปัญหาของการรักษาด้วยวิธีการดังกล่าว คือ ทำได้ยาก ราคาแพงทำได้น้อยคน โดยจากประสบการณ์ของศิริราชพยายาบาลที่มีมานานกว่า 20 ปีนั้น พบว่า ผู้ป่วยธาลัสซีเมียขั้นรุนแรงมีอยู่ประมาณ 20,000-30,000 ราย แต่ได้รับการทำสเต็มเซลล์ แค่ประมาณ 500 รายเท่านั้น เนื่องจากคนไทยปัจจุบันมีบุตรน้อย ทำให้การหาสเต็มเซลล์ที่ตรงกันเป็นไปได้ยาก เจอแค่ 1 ใน 8 หมื่นราย ถึง 1 ในแสน รายเท่านั้น ที่จะตรงกัน ด้วยเหตุนี้จึงต้องรณรงค์ให้ตรวจคัดกรอง
ด้าน ผศ.นพ.นพดล ศิริธนารัตนกุล หัวหน้าสาขาวิชาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เนื่องในวันธาลัสซีเมียโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 8 พ.ค.ของทุกปี ในปี 2555 นี้ ทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับมูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ จะร่วมมือกันการจัดงาน “ชมรมโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทยครั้งที่ 23 และวันธาลัสซีเมียโลก ครั้งที่ 11 เพื่อเป็นการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การดูแลรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียแบบบูรณาการ เพื่อกระจายความรู้สู่ประชาชนและวงการแพทย์มากขึ้น โดยในปีนี้ศิริราชพยาบาลจะเป็นเจ้าภาพจัดงานดังกล่าว ในวันที่ 13 พ.ค.2555 ตั้งแต่เวลา 08.00-15.00 น.ณ ห้องประชุมราชปนัดดาสิรินธร อาคารศริสวรินทิรา รพ.ศิริราช โดยภายในงานจะมีการเชิญแพทย์จาก รพ.รามาธิบดี และ รพ.จุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นสถานพยาบาลหลักที่มีบริการรักษาธาลัสซีเมียมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้วย
วันนี้ (25 เม.ย.) ที่อาคารกุมารเวชศาสตร์ รพ.ศิริราช ศ.เกียรติคุณ พญ.คุณหญิงสุดสาคร ตู้จินดา ประธานมูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ กล่าวในการแถลงข่าว การจัดงาน “ชมรมโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 และวันธาลัสซีเมียโลก ครั้งที่ 11” ภายใต้แนวคิด The Power of Thalassemia, The Power of You ว่า ประเทศไทยมีประชากรที่เป็นโรคธาลัสซีเมียแบบแฝงอยู่ประมาณร้อยละ 35-40 ของประชากร โดยมีประชากรที่มีอาการของโรคประมาณร้อยละ 1 ซึ่งโรคนี้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง และต้องรักษาไปตลอดชีวิต โดยการให้เลือด ใช้ยาขับเหล็ก และวิธีสเต็มเซลล์ซึ่งมีราคาแพงมาก แต่เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยการตรวจเลือดก่อนตั้งครรภ์ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคในทารกได้
รศ.ดร.นพ.วิปร วิประกษิต แพทย์ประจำสาขาวิชาโลหิตวิทยาและอองโคโลยี ภาควิชากุมารเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีอัตราพบโรคธาลัสซีเมียชนิดแฝงสูง โดยปัจจุบันมีผู้ป่วยประมาณ 600,000 คน ในจำนวนนี้ มีผู้ป่วยที่อาการรุนแรงประมาณ 20,000-30,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็ก โดยผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการที่แตกต่างกันตามระดับความรุนแรงของโรค ตั้งแต่มีโลหิตจางเล็กน้อย โลหิตจางมาก ไปจนถึงเป็นโรคที่รุนแรงมาก จนเสียชีวิตทั้งหมด ตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือหลังคลอดไม่กี่นาที ซึ่งผู้ป่วยที่อาการรุนแรงจะต้องรักษาตัวไปจนตลอดชีวิต เพื่อรักษาระดับเลือดให้เป็นปกติและไม่มีธาตุเหล็กที่สูงเกินไป
“สำหรับอาการโดยทั่วไปจะมีลักษณะผิวสีซีด ตา และตัวเหลือง ตับและม้ามโต ทำให้ท้องป่องและแน่นอึดอัด ตัวแคระแกร็น ใบหน้ามีลักษณะผิดปกติ หรือที่ทางแพทย์เรียกว่า “ใบหน้าธาลัสซีเมีย” คือ ดั้งจมูกแฟบ ตาห่างกัน กระดูดโหนกแก้ม หน้าผาก และขากรรไกรด้านบน นูนแน่น ถ้าซีดมากจะมีอาการเหนื่อย ต้องให้เลือด แต่ถ้ารุนแรงมากอาจต้องให้เลือดทุก 2 สัปดาห์ หรือทุกเดือน และจะทำให้เลือดที่ได้รับไปมากๆ ไปทำลายเนื้อเยื่อต่างๆ และเกิดโรคอื่นๆตามมา เช่น ตับแข็ง เบาหวาน” รศ.ดร.นพ.วิปร กล่าว
รศ.ดร.นพ.วิปร กล่าวต่อว่า สำหรับชนิดของธาลัสซีเมียนั้นแบ่งตามลักษณะความผิดปกติได้ 3 ประเภท ได้แก่ ฮีโมลโกลบินอี แอลฟ่า ธาลัสซีเมีย (α-thalassemia ) และ เบต้า ธาลัสซีเมีย (β -thalassemia) ซึ่งหากประชากรที่มีธาลัสซีเมียแฝงชนิดเดียวกันมีลูกด้วยกัน จะเสี่ยงทำให้ลูกเป็นธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง จึงจำเป็นต้องตรวจเลือดเมื่อตั้งครรภ์ โดยเฉพาะหากพบว่าคนใดคนหนึ่งมีธาลัสซีเมียแฝง เพื่อดูว่าจะเป็นชนิดเดียวกันหรือไม่ ทั้งนี้ การรักษาปัจจุบันแม้จะดีขึ้น แต่ก็มีอยู่ไม่มาก คือ การรักษาอย่างพื้นฐาน โดยการให้เลือดและการให้ยาขับเหล็ก ในส่วนของการให้เลือด เนื่องจากประเทศไทยมีผู้ป่วยธาลัสซีเมียจำนวนมากไม่สามารถให้เลือดผู้ป่วยที่ควรได้รับเลือดทุกคนอย่างเต็มที่ สิ่งสำคัญคือ ต้องวิจัยให้ทราบว่า จะให้เลือดเพื่อรักษาระดับฮีโมโกลบินไว้ที่เท่าใด จึงจะรักษาได้ ส่วนการให้ยาขับเหล็กนั้น ผู้ป่วยควรได้รับยาขับเหล็กเพื่อขจัดภาวะเหล็กเกิน ซึ่งในอดีต้องฉีดเข็มคาไว้ที่แขนประมาณ 12 ชม.แต่ปัจจุบันมียาประเภทกินแม้จะง่ายขึ้น แต่ก็มีราคาแพง ดังนั้น ประเทศไทยจึงต้องรณรงค์ให้มีการป้องกันมากกว่าการรักษา นอกจากนี้ ยังมีการรักษาขั้นสูง โดยการปลูกถ่ายไขกระดูก หรือเรียกว่า สเต็มเซลล์ (stem cellscX) แต่ปัญหาของการรักษาด้วยวิธีการดังกล่าว คือ ทำได้ยาก ราคาแพงทำได้น้อยคน โดยจากประสบการณ์ของศิริราชพยายาบาลที่มีมานานกว่า 20 ปีนั้น พบว่า ผู้ป่วยธาลัสซีเมียขั้นรุนแรงมีอยู่ประมาณ 20,000-30,000 ราย แต่ได้รับการทำสเต็มเซลล์ แค่ประมาณ 500 รายเท่านั้น เนื่องจากคนไทยปัจจุบันมีบุตรน้อย ทำให้การหาสเต็มเซลล์ที่ตรงกันเป็นไปได้ยาก เจอแค่ 1 ใน 8 หมื่นราย ถึง 1 ในแสน รายเท่านั้น ที่จะตรงกัน ด้วยเหตุนี้จึงต้องรณรงค์ให้ตรวจคัดกรอง
ด้าน ผศ.นพ.นพดล ศิริธนารัตนกุล หัวหน้าสาขาวิชาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เนื่องในวันธาลัสซีเมียโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 8 พ.ค.ของทุกปี ในปี 2555 นี้ ทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับมูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ จะร่วมมือกันการจัดงาน “ชมรมโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทยครั้งที่ 23 และวันธาลัสซีเมียโลก ครั้งที่ 11 เพื่อเป็นการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การดูแลรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียแบบบูรณาการ เพื่อกระจายความรู้สู่ประชาชนและวงการแพทย์มากขึ้น โดยในปีนี้ศิริราชพยาบาลจะเป็นเจ้าภาพจัดงานดังกล่าว ในวันที่ 13 พ.ค.2555 ตั้งแต่เวลา 08.00-15.00 น.ณ ห้องประชุมราชปนัดดาสิรินธร อาคารศริสวรินทิรา รพ.ศิริราช โดยภายในงานจะมีการเชิญแพทย์จาก รพ.รามาธิบดี และ รพ.จุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นสถานพยาบาลหลักที่มีบริการรักษาธาลัสซีเมียมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้วย