พศ.เร่งออกข้อบัญญัติคุมเข้มคุณภาพ สำนักปฏิบัติธรรม กำจัดจุดอ่อนบิดเบือนหลักคำสอนพุทธศาสนา แยกชายหญิง
นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการประชุมคณะกรรมการเผยแผ่พระธรรมในพระพุทธศาสนา ครั้งที่ 1/2555 โดยมี สมเด็จพระวันรัต กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) เป็นประธาน โดยที่ประชุมได้มีการหารือถึงแนวทางการพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรม เนื่องจากที่ผ่านมาได้มีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับสำนักปฏิบัติธรรมบางแห่ง บิดเบือนคำสอนทางพระพุทธศาสนา และสถานที่ไม่เหมาะสมกับการเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ซึ่งที่ประชุมมีมติแต่งตั้ง พระราชวรมุนี วัดสังเวชวิศยาราม เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาร่างข้อบัญญัติสำนักปฏิบัติธรรม เพื่อออกเป็นระเบียบมหาเถรสมาคม (มส.)
ทั้งนี้ ตามข้อบัญญัติของสำนักปฏิบัติธรรม ระบุเพียงแค่เป็นสถานที่สัปปายะ หรือเหมาะสมกับการปฏิบัติธรรมแบบรวมๆ โดยไม่มีการระบุรายละเอียดอื่นๆ ให้ชัดเจน เช่น แยกชายหญิง เป็นต้น จึงเห็นว่า ควรมีการออกข้อบัญญัติสำนักปฏิบัติธรรม เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นหลักคำสอน สถานที่ที่เหมาะสมมีการแบ่งชายหญิงจำนวนของห้องน้ำ เนื้อหาสาระการอบรม รวมทั้งควรจะมีการตรวจสอบคุณภาพทุก 6 เดือน หรือปีละ 1 ครั้ง จากคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพที่ มหาเถรสมาคม และ พศ.ตั้งขึ้น เหมือนเป็นการรับรองคุณภาพ ซึ่งสำนักปฏิบัติธรรมก็เปรียบเสมือนโรงเรียนอบรมคุณธรรมจริยธรรมที่ต้องมีมาตรฐานด้วย
ผอ.พศ.กล่าวว่า ปัจจุบันสำนักปฏิบัติธรรมที่ขึ้นทะเบียนกับ พศ.มีประมาณ 1,300 แห่ง แบ่งเป็นมหานิกาย กว่า 1,000 แห่ง ธรรมยุต กว่า 300 แห่ง ที่สำคัญมีสำนักปฏิบัติธรรมไม่ได้ขึ้นทะเบียนและเป็นของภาคเอกชนเกือบ 1,000 แห่ง อย่างไรก็ตาม การออกข้อบัญญัติคุมสำนักปฏิบัติธรรมนี้ จะต้องหารือกันอีกหลายครั้ง เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนต่อไป
นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการประชุมคณะกรรมการเผยแผ่พระธรรมในพระพุทธศาสนา ครั้งที่ 1/2555 โดยมี สมเด็จพระวันรัต กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) เป็นประธาน โดยที่ประชุมได้มีการหารือถึงแนวทางการพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรม เนื่องจากที่ผ่านมาได้มีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับสำนักปฏิบัติธรรมบางแห่ง บิดเบือนคำสอนทางพระพุทธศาสนา และสถานที่ไม่เหมาะสมกับการเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ซึ่งที่ประชุมมีมติแต่งตั้ง พระราชวรมุนี วัดสังเวชวิศยาราม เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาร่างข้อบัญญัติสำนักปฏิบัติธรรม เพื่อออกเป็นระเบียบมหาเถรสมาคม (มส.)
ทั้งนี้ ตามข้อบัญญัติของสำนักปฏิบัติธรรม ระบุเพียงแค่เป็นสถานที่สัปปายะ หรือเหมาะสมกับการปฏิบัติธรรมแบบรวมๆ โดยไม่มีการระบุรายละเอียดอื่นๆ ให้ชัดเจน เช่น แยกชายหญิง เป็นต้น จึงเห็นว่า ควรมีการออกข้อบัญญัติสำนักปฏิบัติธรรม เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นหลักคำสอน สถานที่ที่เหมาะสมมีการแบ่งชายหญิงจำนวนของห้องน้ำ เนื้อหาสาระการอบรม รวมทั้งควรจะมีการตรวจสอบคุณภาพทุก 6 เดือน หรือปีละ 1 ครั้ง จากคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพที่ มหาเถรสมาคม และ พศ.ตั้งขึ้น เหมือนเป็นการรับรองคุณภาพ ซึ่งสำนักปฏิบัติธรรมก็เปรียบเสมือนโรงเรียนอบรมคุณธรรมจริยธรรมที่ต้องมีมาตรฐานด้วย
ผอ.พศ.กล่าวว่า ปัจจุบันสำนักปฏิบัติธรรมที่ขึ้นทะเบียนกับ พศ.มีประมาณ 1,300 แห่ง แบ่งเป็นมหานิกาย กว่า 1,000 แห่ง ธรรมยุต กว่า 300 แห่ง ที่สำคัญมีสำนักปฏิบัติธรรมไม่ได้ขึ้นทะเบียนและเป็นของภาคเอกชนเกือบ 1,000 แห่ง อย่างไรก็ตาม การออกข้อบัญญัติคุมสำนักปฏิบัติธรรมนี้ จะต้องหารือกันอีกหลายครั้ง เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนต่อไป