สธ.ชี้ อากาศร้อน เสี่ยงภาวะเจ็บป่วย ลมแดด หวัดแดด ส่วนฮีตสโตรกยังไม่น่ากลัว เพราะคนไทยเกิดได้น้อย แต่ต้องระวัง
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สิ่งที่ประชาชนต้องเฝ้าระวังช่วงสภาพอากาศร้อนในช่วงนี้ ว่า ขณะนี้อาการแปรปรวนทุกวัน สิ่งที่น่าเป็นห่วงจึงไม่ใช่โรคจากอากาศร้อนเพียงอย่างเดียว แต่สามารถเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ขึ้นในช่วงนี้ได้ด้วย ซึ่งกรมควบคุมโรคได้ออกประกาศการเฝ้าระวังโรคหน้าร้อน เพื่อให้พื้นที่ต่างๆ เฝ้าระวังแล้ว โดยเรื่องที่ต้องเฝ้าระวังจากอาการร้อน แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ภาวะเจ็บป่วยที่เกิดจากอากาศร้อนโดยตรง เช่น ลมแดด ตะคริวแดด หวัดแดด ภาวะเสียน้ำ ผิวไหม้ ฮีตสโตรก และกลุ่มโรคที่ผลที่สืบเนื่องจากอากาศ เช่น ที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น
นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า สำหรับโรคที่เกี่ยวกับความร้อนโดยตรง โดยเฉพาะฮีตสโตรก มีระบบเฝ้าระวัง และสอบสวนโรคอยู่ แต่ตามปกติ โรคฮีตสโตรกที่จะทำให้เสียชีวิต มักเกิดในประเทศที่มีอากาศหนาว เพราะคนเอเชียส่วนใหญ่อยู่ในเขตอากาศร้อน อบอุ่น จะสามารถปรับตัวให้ทนกับอากาศร้อนได้ดีกว่า และมีสีผิวที่เป็นตัวป้องกันแสงแดด ไม่เหมือนคนขาวจะมีการไหม้ได้ง่ายกว่า ทำให้พบว่าเมื่อประเทศเมืองหนาวเกิดคลื่นความร้อนขึ้น จะมีรายงานผู้เสียชีวิตเกิดขึ้นได้มากกว่า เพราะสมองปรับตัวไม่ได้ ความร้อนทำให้ศูนย์สั่งการของสมองเสียไป ส่วนคนไทยจะมีการปรับตัวได้ดีกว่า เมื่อเจออากาศร้อน สมองจะสั่งการให้ระบายความร้อน คือ เหงื่อออกมา ทำให้ประเทศไทยมีรายงานการเสียชีวิตจากอาการฮีตสโตรกโดยตรงน้อยมาก
รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวด้วยว่า ปัจจัยที่จะระบุได้ว่า คนๆ นั้น เสียชีวิตจากอากาศร้อน หรือ ฮีตสโตรก คือ ไม่มีโรคประจำตัว อุณหภูมิเกิน 40 องศาอย่างรวดเร็ว ซึ่งพบว่าผู้ที่จะเกิดอาการฮีตสโตรกได้ มักทำกิจกรรมกลางแดดเป็นเวลานาน อยู่ในสถานที่ที่อากาศไม่ถ่ายเท เช่น รถยนต์กลางแดด หรือรถที่แน่นๆ ในช่วงที่อากาศร้อน จึงควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแดด และใส่อุปกรณ์ป้องกัน หากต้องออกแดด ไม่อยู่ในสถานที่ปิด ไม่มีอากาศถ่ายเท ลดความร้อนในร่างกายด้วยการดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆ และเพียงพอ ก็จะสามารถช่วยลดความเจ็บป่วยลงได้
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สิ่งที่ประชาชนต้องเฝ้าระวังช่วงสภาพอากาศร้อนในช่วงนี้ ว่า ขณะนี้อาการแปรปรวนทุกวัน สิ่งที่น่าเป็นห่วงจึงไม่ใช่โรคจากอากาศร้อนเพียงอย่างเดียว แต่สามารถเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ขึ้นในช่วงนี้ได้ด้วย ซึ่งกรมควบคุมโรคได้ออกประกาศการเฝ้าระวังโรคหน้าร้อน เพื่อให้พื้นที่ต่างๆ เฝ้าระวังแล้ว โดยเรื่องที่ต้องเฝ้าระวังจากอาการร้อน แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ภาวะเจ็บป่วยที่เกิดจากอากาศร้อนโดยตรง เช่น ลมแดด ตะคริวแดด หวัดแดด ภาวะเสียน้ำ ผิวไหม้ ฮีตสโตรก และกลุ่มโรคที่ผลที่สืบเนื่องจากอากาศ เช่น ที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น
นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า สำหรับโรคที่เกี่ยวกับความร้อนโดยตรง โดยเฉพาะฮีตสโตรก มีระบบเฝ้าระวัง และสอบสวนโรคอยู่ แต่ตามปกติ โรคฮีตสโตรกที่จะทำให้เสียชีวิต มักเกิดในประเทศที่มีอากาศหนาว เพราะคนเอเชียส่วนใหญ่อยู่ในเขตอากาศร้อน อบอุ่น จะสามารถปรับตัวให้ทนกับอากาศร้อนได้ดีกว่า และมีสีผิวที่เป็นตัวป้องกันแสงแดด ไม่เหมือนคนขาวจะมีการไหม้ได้ง่ายกว่า ทำให้พบว่าเมื่อประเทศเมืองหนาวเกิดคลื่นความร้อนขึ้น จะมีรายงานผู้เสียชีวิตเกิดขึ้นได้มากกว่า เพราะสมองปรับตัวไม่ได้ ความร้อนทำให้ศูนย์สั่งการของสมองเสียไป ส่วนคนไทยจะมีการปรับตัวได้ดีกว่า เมื่อเจออากาศร้อน สมองจะสั่งการให้ระบายความร้อน คือ เหงื่อออกมา ทำให้ประเทศไทยมีรายงานการเสียชีวิตจากอาการฮีตสโตรกโดยตรงน้อยมาก
รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวด้วยว่า ปัจจัยที่จะระบุได้ว่า คนๆ นั้น เสียชีวิตจากอากาศร้อน หรือ ฮีตสโตรก คือ ไม่มีโรคประจำตัว อุณหภูมิเกิน 40 องศาอย่างรวดเร็ว ซึ่งพบว่าผู้ที่จะเกิดอาการฮีตสโตรกได้ มักทำกิจกรรมกลางแดดเป็นเวลานาน อยู่ในสถานที่ที่อากาศไม่ถ่ายเท เช่น รถยนต์กลางแดด หรือรถที่แน่นๆ ในช่วงที่อากาศร้อน จึงควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแดด และใส่อุปกรณ์ป้องกัน หากต้องออกแดด ไม่อยู่ในสถานที่ปิด ไม่มีอากาศถ่ายเท ลดความร้อนในร่างกายด้วยการดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆ และเพียงพอ ก็จะสามารถช่วยลดความเจ็บป่วยลงได้