สธ.เตรียมทำหนังสือสั่งจังหวัด ตั้ง กก.สอบสวนทางละเมิดหวังเอาผิดกรณียาหาย
วานนี้ (15 เม.ย.) นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการสอบสวนกลางกรณีปัญหายาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีน กล่าวภายหลังเข้าชี้แจงกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กรณียาแก้หวัดที่มีสารซูโดอีเฟดรีนหายไปจากระบบ ว่า การเข้าชี้แจงนั้นได้เน้นเรื่องสำคัญในเรื่องวิธีการอนุมัติการจัดซื้อ การเบิกจ่ายยาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีน และยาหายจากระบบเพื่อให้ดีเอสไอดำเนินการในการตรวจสอบต่อให้เป็นไปตามขั้นตอน
นพ.โสภณ กล่าวต่อว่า สำหรับปัญหายาหายนั้น ที่ผ่านมา สธ.มีการตรวจสอบจนพบปัญหาในโรงพยาบาล (รพ.) 8 แห่ง และมีหนังสือเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าปฏิบัติหน้าที่ในส่วนกลางจำนวน 14 คน เพื่อง่ายต่อการสอบสวนทางวินัย ทั้งร้ายแรงและไม่ร้ายแรง และล่าสุด อยู่ระหว่างทำหนังสือรอ นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ.ลงนาม เพื่อขอให้ทางจังหวัดจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางละเมิดขึ้นในแต่ละจังหวัด ซึ่งจะทำควบคู่กับการสอบสวนทางวินัย คาดว่า จะทำหนังสือส่งถึงจังหวัดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องภายในสัปดาห์หน้า
รองปลัด สธ.กล่าวด้วยว่า สำหรับคณะกรรมการสอบสวนทางละเมิดนั้น จะตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้น เช่น กรณียาหายไปจากระบบจำนวนเท่าใด และเป็นมูลค่าเท่าใด รวมทั้งใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งตรงนี้โดยปกติทางจังหวัดจะดำเนินการตั้งกรรมการขึ้นอยู่แล้ว แต่การที่กระทรวงจะทำหนังสือสั่งตั้งกรรมการนั้น เป็นการย้ำให้ดำเนินการ เพื่อการรวดเร็วนั่นเอง ในส่วนของคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยร้ายแรง และไม่ร้ายแรง ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งกรณีวินัยร้ายแรงนั้นไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการ แต่โดยหลักการต้องดำเนินการให้เร็วที่สุด คาดว่า ภายใน 30 วัน ส่วนวินัยไม่ร้ายแรงนั่นในระเบียบอยู่ที่ 90 วัน
ด้านนพ.สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีลูกจ้างคลังเวชภัณฑ์ แผนกเภสัชกรรม รพ.เซ็นทรัลเชียงใหม่เมโมเรียล อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ขโมยยาซูโดอีเฟดรีน จากคลังยาโรงพยาบาล 5,000 เม็ด ทั้งยังมีการปลอมเอกสารสั่งซื้อยาดังกล่าวจำนวนถึง 375,000 เม็ด ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ เบื้องต้นพบว่าเจ้าหน้าที่คนดังกล่าวมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของโรงพยาบาล พร้อมกันนี้ ยังได้ประสานทางเจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ (สสจ.เชียงใหม่) เพื่อเข้าไปตรวจสอบอย่างละเอียดแล้ว ทั้งนี้ ในการดำเนินการกับสถานพยาบาลเอกชนที่พบว่ามียาซูโดอีเฟดรีนหายไปจากระบบนั้น เมื่อมีการตรวจสอบว่ามีความผิดปกติในเรื่องของการใช้ยาดังกล่าวแล้ว จะมีการส่งข้อมูลไปให้ยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เนื่องจากเรื่องนี้ทางดีเอสไอได้รับเข้าเป็นคดีพิเศษแล้ว
วานนี้ (15 เม.ย.) นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการสอบสวนกลางกรณีปัญหายาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีน กล่าวภายหลังเข้าชี้แจงกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กรณียาแก้หวัดที่มีสารซูโดอีเฟดรีนหายไปจากระบบ ว่า การเข้าชี้แจงนั้นได้เน้นเรื่องสำคัญในเรื่องวิธีการอนุมัติการจัดซื้อ การเบิกจ่ายยาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีน และยาหายจากระบบเพื่อให้ดีเอสไอดำเนินการในการตรวจสอบต่อให้เป็นไปตามขั้นตอน
นพ.โสภณ กล่าวต่อว่า สำหรับปัญหายาหายนั้น ที่ผ่านมา สธ.มีการตรวจสอบจนพบปัญหาในโรงพยาบาล (รพ.) 8 แห่ง และมีหนังสือเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าปฏิบัติหน้าที่ในส่วนกลางจำนวน 14 คน เพื่อง่ายต่อการสอบสวนทางวินัย ทั้งร้ายแรงและไม่ร้ายแรง และล่าสุด อยู่ระหว่างทำหนังสือรอ นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ.ลงนาม เพื่อขอให้ทางจังหวัดจัดตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางละเมิดขึ้นในแต่ละจังหวัด ซึ่งจะทำควบคู่กับการสอบสวนทางวินัย คาดว่า จะทำหนังสือส่งถึงจังหวัดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องภายในสัปดาห์หน้า
รองปลัด สธ.กล่าวด้วยว่า สำหรับคณะกรรมการสอบสวนทางละเมิดนั้น จะตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้น เช่น กรณียาหายไปจากระบบจำนวนเท่าใด และเป็นมูลค่าเท่าใด รวมทั้งใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งตรงนี้โดยปกติทางจังหวัดจะดำเนินการตั้งกรรมการขึ้นอยู่แล้ว แต่การที่กระทรวงจะทำหนังสือสั่งตั้งกรรมการนั้น เป็นการย้ำให้ดำเนินการ เพื่อการรวดเร็วนั่นเอง ในส่วนของคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยร้ายแรง และไม่ร้ายแรง ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งกรณีวินัยร้ายแรงนั้นไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการ แต่โดยหลักการต้องดำเนินการให้เร็วที่สุด คาดว่า ภายใน 30 วัน ส่วนวินัยไม่ร้ายแรงนั่นในระเบียบอยู่ที่ 90 วัน
ด้านนพ.สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีลูกจ้างคลังเวชภัณฑ์ แผนกเภสัชกรรม รพ.เซ็นทรัลเชียงใหม่เมโมเรียล อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ขโมยยาซูโดอีเฟดรีน จากคลังยาโรงพยาบาล 5,000 เม็ด ทั้งยังมีการปลอมเอกสารสั่งซื้อยาดังกล่าวจำนวนถึง 375,000 เม็ด ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ เบื้องต้นพบว่าเจ้าหน้าที่คนดังกล่าวมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของโรงพยาบาล พร้อมกันนี้ ยังได้ประสานทางเจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ (สสจ.เชียงใหม่) เพื่อเข้าไปตรวจสอบอย่างละเอียดแล้ว ทั้งนี้ ในการดำเนินการกับสถานพยาบาลเอกชนที่พบว่ามียาซูโดอีเฟดรีนหายไปจากระบบนั้น เมื่อมีการตรวจสอบว่ามีความผิดปกติในเรื่องของการใช้ยาดังกล่าวแล้ว จะมีการส่งข้อมูลไปให้ยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เนื่องจากเรื่องนี้ทางดีเอสไอได้รับเข้าเป็นคดีพิเศษแล้ว