สสจ.สุรินทร์ เชื่อ สธ.ประกาศ ยกระดับซูโดฯ เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทไม่กระทบผู้ป่วย
นพ.สอาด วีระเจริญ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) สุรินทรฺ กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ประกาศยกระดับยาแก้หวัดสูตรผสมซูโดอีเฟดรีน ทุกสูตร เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิต และประสาทประเภทที่ 2 แล้ว พร้อมทั้งมีการเรียกคืนยาดังกล่าวจากร้านขายยา โดยให้ส่งกลับไปยังผู้ผลิตใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ 4 เม.ย.2555 ว่า ตนติดตามข่าวและเหตุการณ์กรณียาซูโดฯ มาโดยตลอด โดยในฐานะแพทย์มองว่า จากกรณีดังกล่าวเป็นการประกาศเพื่อควบคุมเฉพาะ ซึ่งหากยกระดับแล้วก็เท่ากับว่ามีระดับเดียว กับมอร์ฟีน โดยส่วนตัวมองว่า ไม่น่าจะมีผลกระทบกับการรักษาผู้ป่วยแต่อย่างใด เพราะทางเลือกในการรักษาไข้หวัด นั้นมีหลายทางเลือก ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ อย่างกรณีสูตรผสมพาราเซตามอล นั้น หากแพทย์จะเลือกจ่ายพาราฯ แล้วจ่ายยาลดน้ำมูก จ่ายยาแก้เจ็บคอ ต่างหาก ก็เป็นไปได้ ซึ่งวิธีนี้เชื่อว่า สถานบริการสาธารณสุข ใน สุรินทร์ จะใช้กันมากกว่าการเลือกจ่ายยาซูโดฯ สูตรผสมเสียอีก เพราะเอาเข้าจริงเวลาแพทย์ตรวจวินิจฉัยและรักษาก็ไม่ได้บอกกับผู้ป่วยอยู่ดีว่า เป็นยาสูตรผสมหรือยาสูตรเดี่ยว เว้นแต่ร้านขายยาทั่วไปก็อาจจะนำมาเป็นข้ออ้างในการจำหน่ายยา โดยเลือกที่จะอธิบายสรรพคุณเพื่อให้ผู้ป่วยได้เลือกว่าจะใช้ยาใด
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่มีกระแสข่าวว่า ผู้ป่วยอาจเดือดร้อนจากการประกาศยาฯ ซูโดเป็ฯวัตถุออกฤทธิ์ นั้นเชื่อหรือไม่ว่า มีความเดือดร้อนจริงๆ นพ.สอาด กล่าวว่า โดยส่วนตัวไม่เชื่อ และคิดว่าอาจเป็นเรื่องของธุรกิจมากกว่า
นพ.สอาด วีระเจริญ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) สุรินทรฺ กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ประกาศยกระดับยาแก้หวัดสูตรผสมซูโดอีเฟดรีน ทุกสูตร เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิต และประสาทประเภทที่ 2 แล้ว พร้อมทั้งมีการเรียกคืนยาดังกล่าวจากร้านขายยา โดยให้ส่งกลับไปยังผู้ผลิตใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ 4 เม.ย.2555 ว่า ตนติดตามข่าวและเหตุการณ์กรณียาซูโดฯ มาโดยตลอด โดยในฐานะแพทย์มองว่า จากกรณีดังกล่าวเป็นการประกาศเพื่อควบคุมเฉพาะ ซึ่งหากยกระดับแล้วก็เท่ากับว่ามีระดับเดียว กับมอร์ฟีน โดยส่วนตัวมองว่า ไม่น่าจะมีผลกระทบกับการรักษาผู้ป่วยแต่อย่างใด เพราะทางเลือกในการรักษาไข้หวัด นั้นมีหลายทางเลือก ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ อย่างกรณีสูตรผสมพาราเซตามอล นั้น หากแพทย์จะเลือกจ่ายพาราฯ แล้วจ่ายยาลดน้ำมูก จ่ายยาแก้เจ็บคอ ต่างหาก ก็เป็นไปได้ ซึ่งวิธีนี้เชื่อว่า สถานบริการสาธารณสุข ใน สุรินทร์ จะใช้กันมากกว่าการเลือกจ่ายยาซูโดฯ สูตรผสมเสียอีก เพราะเอาเข้าจริงเวลาแพทย์ตรวจวินิจฉัยและรักษาก็ไม่ได้บอกกับผู้ป่วยอยู่ดีว่า เป็นยาสูตรผสมหรือยาสูตรเดี่ยว เว้นแต่ร้านขายยาทั่วไปก็อาจจะนำมาเป็นข้ออ้างในการจำหน่ายยา โดยเลือกที่จะอธิบายสรรพคุณเพื่อให้ผู้ป่วยได้เลือกว่าจะใช้ยาใด
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่มีกระแสข่าวว่า ผู้ป่วยอาจเดือดร้อนจากการประกาศยาฯ ซูโดเป็ฯวัตถุออกฤทธิ์ นั้นเชื่อหรือไม่ว่า มีความเดือดร้อนจริงๆ นพ.สอาด กล่าวว่า โดยส่วนตัวไม่เชื่อ และคิดว่าอาจเป็นเรื่องของธุรกิจมากกว่า