“นักวิชาการ” แฉ กลยุทธ์น้ำเมากอบโกยบนความสูญเสียสงกรานต์ ผ่านหนังสือ “เปิดหน้ากาก การตลาดน้ำเมา” ชี้ บริษัทเหล้าเบียร์งัดกลยุทธ์มอมเมาสังคม แปรรูปการตลาด สร้างภาพทุ่มงบ ดึงเยาวชนเป็นนักดื่มหน้าใหม่ ส่งผลเสพติดแอลกอฮอล์ หวั่นโจ๋ตกเป็นเหยื่อเทศกาลสงกรานต์ ขณะที่ “เหยื่อเมาแล้วขับ” ต้องเสียขาทั้งสองข้าง พิการตลอดชีวิต
วันนี้ (10 เม.ย.) ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) จัดกิจกรรมเปิดตัวหนังสือ “เปิดหน้ากาก การตลาดน้ำเมา” โดย ดร.ศรีรัช ลอยสมุทร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ในฐานะเครือข่ายนักวิชาการเฝ้าระวังเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานชิ้นแรกของตนที่ใช้เวลาในการศึกษาและทำวิจัย ทั้งภาคทฤษฎี และภาคสนาม เป็นเวลามากกว่า 3 ปี โดยต้องการให้สังคมทราบถึงกลยุทธ์รูปแบบต่างๆ ของบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีเป้าหมายพุ่งไปที่กลุ่มนักดื่มหน้าใหม่ หรือเยาวชน อย่างไรก็ตาม สถานศึกษาทุกระดับ และผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องควรรู้ทันเล่ห์กลของบริษัทเหล่านี้ ที่มาในรูปแบบของการตลาด เพื่อสังคมหรือแนวองค์กรเกื้อกูลสังคม หรือ CSR(corporate social reponsibility) ที่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี แต่แฝงด้วยการสื่อสารเพื่อสร้างค่านิยมผิดๆในการดื่มให้กับเยาวชน ทำให้เยาวชนประมาทดื่มโดยไม่ตระหนักว่าแอลกอฮอล์เป็นสิ่งเสพติด และจะสร้างปัญหาตามมามากมาย เช่น สมองเสื่อม อุบัติเหตุ อาชญากรรม ปัญหาทางเพศ ฯลฯ
ทั้งนี้ เนื้อหาในหนังสือจะเป็นแนววิชาการที่ตีแผ่ถึงกลยุทธ์ทางการตลาดในรูปแบบต่างๆ ของบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น การสนับสนุนด้านกีฬา บันเทิง การศึกษา ผู้ยากไร้ ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่ากลุ่มเป้าหมายของบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พุ่งเป้าไปที่กลุ่มเยาวชน และผู้มีรายได้น้อย และสถานศึกษาคือกลุ่มเป้าหมายใหม่ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านการทำ CSR ของบริษัทนั่นเอง
ดร.ศรีรัช กล่าวว่า สิ่งที่ต้องจับตามอง คือ เทศกาลสงกรานต์ เพราะกลุ่มธุรกิจเหล้าเบียร์ จะเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ โดยการทุ่มงบจำนวนมาก ผ่านหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น และเอกชน โดยเป็นผู้สนับสนุนหลัก เพื่อเรียกร้องความสนใจและสร้างแรงดึงดูดด้านพื้นที่ยอดนิยม เช่น จัดงานที่ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ สถานบันเทิงชื่อดัง หรือแม้กระทั้งเป็นพันธมิตรกับสายการบินเพื่อจัดแพกเกจราคาถูกให้นักท่องเที่ยวไปเล่นสงกรานต์ได้ง่ายๆ มีการเปิดให้เข้าชมฟรี และโฆษณาล่วงหน้าถึงกิจกรรมความบันเทิง เช่น ปาร์ตี้โฟมกลางแจ้งริมทะเล สาวสวยเซ็กซี่นับร้อยชีวิต ดนตรีมันส์ๆ พร้อมเหล่าดารานักร้อง ยิ่งบางจังหวัดนำเรื่องเพศมา ผสมการขายน้ำเมา จะยิ่งสร้างปัญหาตามมารุนแรงยิ่งขึ้น ดังนั้น เทศกาลสงกรานต์จึงถูกจับคู่กับการดื่มแอลกอฮอล์ไปโดยปริยาย ส่วนใหญ่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ คือ เด็กและเยาวชน ซึ่งสอดคล้องกับผลวิจัยที่พบว่า เด็กระดับประถมเริ่มดื่มเหล้าเบียร์ตั้งแต่อายุเพียง 7 ขวบ ซึ่งเด็ก 88% มองว่าการดื่มเป็นเรื่องธรรมดา
“สงกรานต์เป็นเทศกาลเหมาะสำหรับธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในการใช้ CSR บังหน้า เพื่อเบี่ยงประเด็นที่สำคัญๆ เช่น การตาย อุบัติเหตุ และการวิวาทที่เกิดในช่วงสงกรานต์ เกิดจากการดื่ม โดยเฉพาะดื่มแล้วขับออกไปเที่ยวสงกรานต์ ไม่ใช่เกิดจากการ “ง่วงแล้วขับ” ตามที่ธุรกิจแอลกอฮอล์พยายามนำเสนอ ซึ่งสังคมควรรู้เท่าทันและขอเรียกร้องให้ภาครัฐปฏิเสธการให้ความร่วมมือในการทำ CSR ร่วมกับธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้สังคมและหน่วยงานอื่นได้ทำตาม ขณะเดียวกันเทศกาลสงกรานต์จะเป็นที่รู้กันดีในหมู่ธุรกิจเหล้าเบียร์ เพราะถือเป็นเทศกาลกอบโกยสร้างรายได้จำนวนมหาศาล มีผลประโยชน์ที่ธุรกิจเหล้านี้ได้รับถือว่าคุ้มค่า เพราะจากข้อมูลในรอบปีของบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายหนึ่ง ระบุว่า ผู้บริโภครับรู้ตราสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่น รับรู้ต่อแบรนด์จากสื่อต่างๆ และกว่า 80% เมื่อลูกค้าพบเห็นโฆษณาจะสามารถบอกได้ว่าเป็นเครื่องดื่มยี่ห้อนี้ และส่วนแบ่งการตลาดของเบียร์ยี่ห้อนี้มีกว่า 40%” ดร.ศรีรัช กล่าว
สำหรับหนังสือ “เปิดหน้ากาก การตลาดน้ำเมา” คาดหวังว่า สถานศึกษาทุกระดับ ควรจะรู้เท่าทันเล่ห์กลของบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เหล่านี้ สถานศึกษาไม่ควรหวังแค่เงินสนับสนุนในกิจกรรมเท่านั้น เพราะนั่นเท่ากับว่า เป็นการสนับสนุนให้เยาวชนมีค่านิยมที่ดีกับบริษัทน้ำเมาไปโดยไม่รู้ตัว ซึ่งรวมถึงหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ด้วยที่ควรรู้ ก่อนจะตกเป็นเครื่องมือ แฝงทำการตลาดให้ธุรกิจบาปเหล่านี้ และผู้ที่สนใจหนังสือ ติดต่อขอรับได้ที่สำนักเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) โทรศัพท์ 02-948-3300 หรือ www.stopdrink.com
ขณะที่นายนพดล วรรณบวร เหยื่อผู้ได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า ตอนนั้นตนอายุประมาณ 17 ปี ประสบอุบัติเหตุถูกคนเมาขับรถบรรทุกขับมาด้วยความเร็วพุ่งเข้าขณะกลับจากงานเลี้ยงฉลองได้รับทุนเป็นนักฟุตบอลสโมสร ซึ่งตนเองไม่เมาและเป็นผู้ขับรถรถจักรยานยนต์ให้เพื่อนซ้อน หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้ต้องสูญเสียขาทั้งสองข้าง พิการตลอดชีวิต ทำความฝันที่จะได้เป็นนักฟุตจบลง อยากบอกกับสังคมว่า สงกรานต์นี้อยากให้คนที่ดื่มตระหนักให้ดีก่อนที่จะขับรถถ้ารู้ตัวว่าเมาก็ไม่ควรที่จะขับรถ เพราะหากเกิดอะไรขึ้นมันไม่คุ้มเลย เพราะนอกจากจะเกิดความสูญเสียต่อคนเองและคนรอบข้าง
วันนี้ (10 เม.ย.) ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) จัดกิจกรรมเปิดตัวหนังสือ “เปิดหน้ากาก การตลาดน้ำเมา” โดย ดร.ศรีรัช ลอยสมุทร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ในฐานะเครือข่ายนักวิชาการเฝ้าระวังเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานชิ้นแรกของตนที่ใช้เวลาในการศึกษาและทำวิจัย ทั้งภาคทฤษฎี และภาคสนาม เป็นเวลามากกว่า 3 ปี โดยต้องการให้สังคมทราบถึงกลยุทธ์รูปแบบต่างๆ ของบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีเป้าหมายพุ่งไปที่กลุ่มนักดื่มหน้าใหม่ หรือเยาวชน อย่างไรก็ตาม สถานศึกษาทุกระดับ และผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องควรรู้ทันเล่ห์กลของบริษัทเหล่านี้ ที่มาในรูปแบบของการตลาด เพื่อสังคมหรือแนวองค์กรเกื้อกูลสังคม หรือ CSR(corporate social reponsibility) ที่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี แต่แฝงด้วยการสื่อสารเพื่อสร้างค่านิยมผิดๆในการดื่มให้กับเยาวชน ทำให้เยาวชนประมาทดื่มโดยไม่ตระหนักว่าแอลกอฮอล์เป็นสิ่งเสพติด และจะสร้างปัญหาตามมามากมาย เช่น สมองเสื่อม อุบัติเหตุ อาชญากรรม ปัญหาทางเพศ ฯลฯ
ทั้งนี้ เนื้อหาในหนังสือจะเป็นแนววิชาการที่ตีแผ่ถึงกลยุทธ์ทางการตลาดในรูปแบบต่างๆ ของบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น การสนับสนุนด้านกีฬา บันเทิง การศึกษา ผู้ยากไร้ ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่ากลุ่มเป้าหมายของบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พุ่งเป้าไปที่กลุ่มเยาวชน และผู้มีรายได้น้อย และสถานศึกษาคือกลุ่มเป้าหมายใหม่ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านการทำ CSR ของบริษัทนั่นเอง
ดร.ศรีรัช กล่าวว่า สิ่งที่ต้องจับตามอง คือ เทศกาลสงกรานต์ เพราะกลุ่มธุรกิจเหล้าเบียร์ จะเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ โดยการทุ่มงบจำนวนมาก ผ่านหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น และเอกชน โดยเป็นผู้สนับสนุนหลัก เพื่อเรียกร้องความสนใจและสร้างแรงดึงดูดด้านพื้นที่ยอดนิยม เช่น จัดงานที่ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ สถานบันเทิงชื่อดัง หรือแม้กระทั้งเป็นพันธมิตรกับสายการบินเพื่อจัดแพกเกจราคาถูกให้นักท่องเที่ยวไปเล่นสงกรานต์ได้ง่ายๆ มีการเปิดให้เข้าชมฟรี และโฆษณาล่วงหน้าถึงกิจกรรมความบันเทิง เช่น ปาร์ตี้โฟมกลางแจ้งริมทะเล สาวสวยเซ็กซี่นับร้อยชีวิต ดนตรีมันส์ๆ พร้อมเหล่าดารานักร้อง ยิ่งบางจังหวัดนำเรื่องเพศมา ผสมการขายน้ำเมา จะยิ่งสร้างปัญหาตามมารุนแรงยิ่งขึ้น ดังนั้น เทศกาลสงกรานต์จึงถูกจับคู่กับการดื่มแอลกอฮอล์ไปโดยปริยาย ส่วนใหญ่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ คือ เด็กและเยาวชน ซึ่งสอดคล้องกับผลวิจัยที่พบว่า เด็กระดับประถมเริ่มดื่มเหล้าเบียร์ตั้งแต่อายุเพียง 7 ขวบ ซึ่งเด็ก 88% มองว่าการดื่มเป็นเรื่องธรรมดา
“สงกรานต์เป็นเทศกาลเหมาะสำหรับธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในการใช้ CSR บังหน้า เพื่อเบี่ยงประเด็นที่สำคัญๆ เช่น การตาย อุบัติเหตุ และการวิวาทที่เกิดในช่วงสงกรานต์ เกิดจากการดื่ม โดยเฉพาะดื่มแล้วขับออกไปเที่ยวสงกรานต์ ไม่ใช่เกิดจากการ “ง่วงแล้วขับ” ตามที่ธุรกิจแอลกอฮอล์พยายามนำเสนอ ซึ่งสังคมควรรู้เท่าทันและขอเรียกร้องให้ภาครัฐปฏิเสธการให้ความร่วมมือในการทำ CSR ร่วมกับธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้สังคมและหน่วยงานอื่นได้ทำตาม ขณะเดียวกันเทศกาลสงกรานต์จะเป็นที่รู้กันดีในหมู่ธุรกิจเหล้าเบียร์ เพราะถือเป็นเทศกาลกอบโกยสร้างรายได้จำนวนมหาศาล มีผลประโยชน์ที่ธุรกิจเหล้านี้ได้รับถือว่าคุ้มค่า เพราะจากข้อมูลในรอบปีของบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายหนึ่ง ระบุว่า ผู้บริโภครับรู้ตราสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่น รับรู้ต่อแบรนด์จากสื่อต่างๆ และกว่า 80% เมื่อลูกค้าพบเห็นโฆษณาจะสามารถบอกได้ว่าเป็นเครื่องดื่มยี่ห้อนี้ และส่วนแบ่งการตลาดของเบียร์ยี่ห้อนี้มีกว่า 40%” ดร.ศรีรัช กล่าว
สำหรับหนังสือ “เปิดหน้ากาก การตลาดน้ำเมา” คาดหวังว่า สถานศึกษาทุกระดับ ควรจะรู้เท่าทันเล่ห์กลของบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เหล่านี้ สถานศึกษาไม่ควรหวังแค่เงินสนับสนุนในกิจกรรมเท่านั้น เพราะนั่นเท่ากับว่า เป็นการสนับสนุนให้เยาวชนมีค่านิยมที่ดีกับบริษัทน้ำเมาไปโดยไม่รู้ตัว ซึ่งรวมถึงหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ด้วยที่ควรรู้ ก่อนจะตกเป็นเครื่องมือ แฝงทำการตลาดให้ธุรกิจบาปเหล่านี้ และผู้ที่สนใจหนังสือ ติดต่อขอรับได้ที่สำนักเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) โทรศัพท์ 02-948-3300 หรือ www.stopdrink.com
ขณะที่นายนพดล วรรณบวร เหยื่อผู้ได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า ตอนนั้นตนอายุประมาณ 17 ปี ประสบอุบัติเหตุถูกคนเมาขับรถบรรทุกขับมาด้วยความเร็วพุ่งเข้าขณะกลับจากงานเลี้ยงฉลองได้รับทุนเป็นนักฟุตบอลสโมสร ซึ่งตนเองไม่เมาและเป็นผู้ขับรถรถจักรยานยนต์ให้เพื่อนซ้อน หลังจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้ต้องสูญเสียขาทั้งสองข้าง พิการตลอดชีวิต ทำความฝันที่จะได้เป็นนักฟุตจบลง อยากบอกกับสังคมว่า สงกรานต์นี้อยากให้คนที่ดื่มตระหนักให้ดีก่อนที่จะขับรถถ้ารู้ตัวว่าเมาก็ไม่ควรที่จะขับรถ เพราะหากเกิดอะไรขึ้นมันไม่คุ้มเลย เพราะนอกจากจะเกิดความสูญเสียต่อคนเองและคนรอบข้าง