กองทุนด้านสังคมเตรียมของบกองสลากฯ ปันรายได้ส่วนหนึ่งช่วยพัฒนางานด้านสังคมสงเคราะห์ เชื่อช่วยหนุนสังคมให้มีประสิทธิภาพ
วันนี้ (25 มี.ค.) นายวันชัย บุญประชา ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาและขับเคลื่อนกองทุนด้านการพัฒนาสังคม เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ ทางสมาคมครอบครัวศึกษาแห่งประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ 4 กองทุนด้านการพัฒนาสังคม ได้จัดประชุมร่วมกันเพื่อถอดบทเรียนภาคีเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนกองทุน เนื่องจากที่ผ่านมา การทำงานด้านการสงเคราะห์และฟื้นฟูกลุ่มคนด้อยโอกาสทางสังคมของแต่ละกองทุนมักประสบปัญหาความไม่แน่นอนของงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ดังนั้นทั้ง 4 กองทุน และอาจจะรวมไปถึงกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล จึงได้เห็นพ้องกันว่า ควรจะจัดตั้งโครงการ พัฒนาและขับเคลื่อนกองทุนด้านการพัฒนาสังคมขึ้นมา ร่วมกันหาแนวทางการหางบประมาณ เพื่อเพิ่มศักยภาพของกองทุนให้มีความเข็มแข็ง เนื่องจากที่ผ่านมา แต่ละกองทุนจะงบประมาณอยู่แล้วก็ตาม แต่การนำงบประมาณมาใช้มีกระบวนการที่ไม่เอื้อต่อการทำงาน เช่น ต้องมีการเขียนโครงการ ส่งผลให้การทำงานของแต่ละกองทุนขาดประสิทธิภาพ ไม่ยืดหยุ่นทำให้ประชาชนที่ด้อยโอกาสขาดการเข้าถึงกองทุนได้จากการทำงานเชิงลึกของ 4 กองทุนด้านการพัฒนาสังคม สรุปได้ว่า แหล่งทุนที่มีความยั่งยืนในการสนับสนุนการทำงานของโครงการ คือ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ทั้งนี้ รายได้ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นเงินที่มาจากความเชื่อของบุคคลซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนจน เงินรายได้ส่วนหนึ่งจึงไม่สมควรที่จะเก็บเข้ารัฐ แต่ควรนำกลับคืนเพื่อการพัฒนาสังคม พัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิต สร้างความมั่นคงและเป็นธรรมทางสังคมให้แก่ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส
ด้าน นายมณเฑียร บุญตัน นายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กล่าวว่า กองทุนส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนความไม่ไว้วางใจของประชาชน เพราะอยู่ในอำนาจของราชการ จึงทำให้มองว่ากองทุนนำเงินมาใช้ในทางไม่เหมาะสม ทั้งที่รัฐมีการจัดสวัสดิการต่างๆอยู่แล้วแต่ประชาชนบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงสิทธิต่างๆได้ กองทุนจะเป็นกลไกพิเศษที่จะเข้ามาใช้เสริมและอุดช่องโหว่ให้กับกลุ่มเฉพาะในส่วนที่ภาครัฐไม่สามารถทำได้ กองทุนต้องเป็นกลไกที่จะดำเนินงานในลักษณะการลงทุนทางสังคม โดยมีการสนับสนุนโครงการที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนด พิจารณา และประเมินเพราะประชาชนหรือผู้ได้รับผลกระทบจะรับรู้ถึงปัญหาได้ดี นอกจากนี้ควรมีการจัดตั้งกองทุนเป็นนิติบุคคล ระเบียบขั้นตอนมีความยืดหยุ่นได้ สำหรับเรื่องงบประมาณที่ไม่เพียงพอ และไม่มั่นคง ยังอยู่ในอำนาจของนักการเมืองเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม การจะทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกองทุน หรือจัดตั้งเป็นนิติบุคคลต้องแก้เป็นกฎหมายรองรับ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการได้อย่างอิสระ
วันนี้ (25 มี.ค.) นายวันชัย บุญประชา ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาและขับเคลื่อนกองทุนด้านการพัฒนาสังคม เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ ทางสมาคมครอบครัวศึกษาแห่งประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ 4 กองทุนด้านการพัฒนาสังคม ได้จัดประชุมร่วมกันเพื่อถอดบทเรียนภาคีเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนกองทุน เนื่องจากที่ผ่านมา การทำงานด้านการสงเคราะห์และฟื้นฟูกลุ่มคนด้อยโอกาสทางสังคมของแต่ละกองทุนมักประสบปัญหาความไม่แน่นอนของงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ดังนั้นทั้ง 4 กองทุน และอาจจะรวมไปถึงกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล จึงได้เห็นพ้องกันว่า ควรจะจัดตั้งโครงการ พัฒนาและขับเคลื่อนกองทุนด้านการพัฒนาสังคมขึ้นมา ร่วมกันหาแนวทางการหางบประมาณ เพื่อเพิ่มศักยภาพของกองทุนให้มีความเข็มแข็ง เนื่องจากที่ผ่านมา แต่ละกองทุนจะงบประมาณอยู่แล้วก็ตาม แต่การนำงบประมาณมาใช้มีกระบวนการที่ไม่เอื้อต่อการทำงาน เช่น ต้องมีการเขียนโครงการ ส่งผลให้การทำงานของแต่ละกองทุนขาดประสิทธิภาพ ไม่ยืดหยุ่นทำให้ประชาชนที่ด้อยโอกาสขาดการเข้าถึงกองทุนได้จากการทำงานเชิงลึกของ 4 กองทุนด้านการพัฒนาสังคม สรุปได้ว่า แหล่งทุนที่มีความยั่งยืนในการสนับสนุนการทำงานของโครงการ คือ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ทั้งนี้ รายได้ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นเงินที่มาจากความเชื่อของบุคคลซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนจน เงินรายได้ส่วนหนึ่งจึงไม่สมควรที่จะเก็บเข้ารัฐ แต่ควรนำกลับคืนเพื่อการพัฒนาสังคม พัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิต สร้างความมั่นคงและเป็นธรรมทางสังคมให้แก่ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส
ด้าน นายมณเฑียร บุญตัน นายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กล่าวว่า กองทุนส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนความไม่ไว้วางใจของประชาชน เพราะอยู่ในอำนาจของราชการ จึงทำให้มองว่ากองทุนนำเงินมาใช้ในทางไม่เหมาะสม ทั้งที่รัฐมีการจัดสวัสดิการต่างๆอยู่แล้วแต่ประชาชนบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงสิทธิต่างๆได้ กองทุนจะเป็นกลไกพิเศษที่จะเข้ามาใช้เสริมและอุดช่องโหว่ให้กับกลุ่มเฉพาะในส่วนที่ภาครัฐไม่สามารถทำได้ กองทุนต้องเป็นกลไกที่จะดำเนินงานในลักษณะการลงทุนทางสังคม โดยมีการสนับสนุนโครงการที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนด พิจารณา และประเมินเพราะประชาชนหรือผู้ได้รับผลกระทบจะรับรู้ถึงปัญหาได้ดี นอกจากนี้ควรมีการจัดตั้งกองทุนเป็นนิติบุคคล ระเบียบขั้นตอนมีความยืดหยุ่นได้ สำหรับเรื่องงบประมาณที่ไม่เพียงพอ และไม่มั่นคง ยังอยู่ในอำนาจของนักการเมืองเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม การจะทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกองทุน หรือจัดตั้งเป็นนิติบุคคลต้องแก้เป็นกฎหมายรองรับ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการได้อย่างอิสระ