ปลัด สธ.สั่งย้าย “ผอ.-เภสัชกร 5 ราย” กรณีพบผลสอบเบื้องต้นของจังหวัด ชี้มูลเกี่ยวข้องกรณีขโมยยาซูโดฯ
วันนี้ (20 มี.ค.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้ากรณีการตรวจสอบยาแก้หวัดสูตรผสมซูโดอีเฟดรีน ของโรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศ ว่า ขณะนี้ได้รับรายงานผลการสอบข้อเท็จจริงจากจังหวัดแล้ว 3 จังหวัด คือ โรงพยาบาลอุดรธานี โรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ และโรงพยาบาลทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยจะย้ายผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดเข้ามาช่วยราชการที่กระทรวงสาธารณสุข ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และผู้บริหารได้ปรึกษาหารือ เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาในการสอบสวนในรายละเอียดทั้งหมดซึ่งเป็นผลสอบเบื้องต้น สำหรับบางราย จะต้องรอผลสอบทั้งหมดอีกครั้ง
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า สิ่งที่ได้ดำเนินการแล้วขณะนี้ ได้สั่งย้ายข้าราชการที่ผลสอบชี้มูลว่าเกี่ยวข้องกับการลักลอบนำยาซูโดอีเฟดรีนออกจากโรงพยาบาล 5 ราย เข้ามาช่วยราชการที่กระทรวงสาธารณสุข เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการสอบข้อเท็จจริงในรายละเอียดทั้งหมด โดยเป็นแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาล 2 ราย ที่โรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ และโรงพยาบาลทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ และเภสัชกร 3 ราย ในโรงพยาบาล 2 แห่งที่กล่าวมา และโรงพยาบาลอุดรธานี 1 ราย ซึ่งขณะนี้ไม่มาปฏิบัติราชการ จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการต่อไป ในการสอบวินัยจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มตามที่จังหวัดสอบข้อเท็จจริงมา คือ กลุ่มวินัยร้ายแรง และวินัยไม่ร้ายแรง กำหนดให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน เพื่อให้เวลากับคณะกรรมการสอบวินัย
ส่วนที่ รพ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ จะได้รับรายงานอย่างเป็นทางการในเย็นวันนี้ โดยจะดำเนินการทางวินัยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมา และไม่ปกป้องคนผิด เพราะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อประชาชน และส่วนรวม และเป็นนโยบายของรัฐบาลในการปราบปรามยาเสพติด
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ในการดำเนินการตามขั้นตอนของทางราชการ เบื้องต้นให้จังหวัดสอบสวนข้อเท็จจริง โดยให้ผู้ตรวจราชการที่รับผิดชอบพื้นที่เป็นประธานการสอบ เมื่อผลชี้มูลว่ามีส่วนเกี่ยวข้องอาจจะโดยตรง หรือประมาท ก็จะต้องให้ย้ายออกจากพื้นที่เข้ามาช่วยราชการที่ส่วนกลางก่อนเพื่อไม่ให้มีปัญหาในการสอบวินัย ซึ่งในการย้ายผู้อำนวยการโรงพยาบาลเข้ามาช่วยราชการที่ส่วนกลางนั้น ไม่มีผลต่อการให้บริการประชาชนแต่อย่างใด เพราะจะแต่งตั้งแพทย์ท่านอื่นมารักษาการแทน
ปลัด สธ.กล่าวต่อว่า ขณะนี้ ได้มอบรายงานจากจังหวัด ให้กลุ่มเสริมสร้างวินัยและระบบคุณธรรม เพื่อดูรายละเอียดผลสอบสวนทั้งหมด ว่า ควรดำเนินการอย่างไรต่อไป จะต้องตั้งกรรมการสอบวินัยกี่ชุด คาดว่าจะเรียบร้อยในวันพรุ่งนี้ โดยกระทรวงสาธารณสุขจะดำเนินการควบคู่กับการดำเนินคดีด้านคดีอาญาของฝ่ายกฎหมาย
“ต้องยอมรับว่า กระทรวงสาธารณสุขเป็นกระทรวงใหญ่ มีบุคลากรทั้งสิ้น 320,000 คน ข้าราชการ 220,000 คน และลูกจ้างอีก 100,000 คน มีแพทย์ 12,000 กว่าคน เภสัชกรประมาณ 4,000 คน ดังนั้น การที่มี 2 คนหมู่มาก ก็อาจจะมีคนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือบางคนที่มีเจตนากระทำผิด จึงอยากขอความเป็นธรรมว่า จำนวนคนที่พบเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มีน้อยมาก เมื่อเทียบกับข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทั้งหมด” นพ.ไพจิตร์ กล่าว
วันนี้ (20 มี.ค.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้ากรณีการตรวจสอบยาแก้หวัดสูตรผสมซูโดอีเฟดรีน ของโรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศ ว่า ขณะนี้ได้รับรายงานผลการสอบข้อเท็จจริงจากจังหวัดแล้ว 3 จังหวัด คือ โรงพยาบาลอุดรธานี โรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ และโรงพยาบาลทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยจะย้ายผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดเข้ามาช่วยราชการที่กระทรวงสาธารณสุข ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และผู้บริหารได้ปรึกษาหารือ เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาในการสอบสวนในรายละเอียดทั้งหมดซึ่งเป็นผลสอบเบื้องต้น สำหรับบางราย จะต้องรอผลสอบทั้งหมดอีกครั้ง
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า สิ่งที่ได้ดำเนินการแล้วขณะนี้ ได้สั่งย้ายข้าราชการที่ผลสอบชี้มูลว่าเกี่ยวข้องกับการลักลอบนำยาซูโดอีเฟดรีนออกจากโรงพยาบาล 5 ราย เข้ามาช่วยราชการที่กระทรวงสาธารณสุข เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการสอบข้อเท็จจริงในรายละเอียดทั้งหมด โดยเป็นแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาล 2 ราย ที่โรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ และโรงพยาบาลทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ และเภสัชกร 3 ราย ในโรงพยาบาล 2 แห่งที่กล่าวมา และโรงพยาบาลอุดรธานี 1 ราย ซึ่งขณะนี้ไม่มาปฏิบัติราชการ จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการต่อไป ในการสอบวินัยจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มตามที่จังหวัดสอบข้อเท็จจริงมา คือ กลุ่มวินัยร้ายแรง และวินัยไม่ร้ายแรง กำหนดให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน เพื่อให้เวลากับคณะกรรมการสอบวินัย
ส่วนที่ รพ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ จะได้รับรายงานอย่างเป็นทางการในเย็นวันนี้ โดยจะดำเนินการทางวินัยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมา และไม่ปกป้องคนผิด เพราะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อประชาชน และส่วนรวม และเป็นนโยบายของรัฐบาลในการปราบปรามยาเสพติด
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ในการดำเนินการตามขั้นตอนของทางราชการ เบื้องต้นให้จังหวัดสอบสวนข้อเท็จจริง โดยให้ผู้ตรวจราชการที่รับผิดชอบพื้นที่เป็นประธานการสอบ เมื่อผลชี้มูลว่ามีส่วนเกี่ยวข้องอาจจะโดยตรง หรือประมาท ก็จะต้องให้ย้ายออกจากพื้นที่เข้ามาช่วยราชการที่ส่วนกลางก่อนเพื่อไม่ให้มีปัญหาในการสอบวินัย ซึ่งในการย้ายผู้อำนวยการโรงพยาบาลเข้ามาช่วยราชการที่ส่วนกลางนั้น ไม่มีผลต่อการให้บริการประชาชนแต่อย่างใด เพราะจะแต่งตั้งแพทย์ท่านอื่นมารักษาการแทน
ปลัด สธ.กล่าวต่อว่า ขณะนี้ ได้มอบรายงานจากจังหวัด ให้กลุ่มเสริมสร้างวินัยและระบบคุณธรรม เพื่อดูรายละเอียดผลสอบสวนทั้งหมด ว่า ควรดำเนินการอย่างไรต่อไป จะต้องตั้งกรรมการสอบวินัยกี่ชุด คาดว่าจะเรียบร้อยในวันพรุ่งนี้ โดยกระทรวงสาธารณสุขจะดำเนินการควบคู่กับการดำเนินคดีด้านคดีอาญาของฝ่ายกฎหมาย
“ต้องยอมรับว่า กระทรวงสาธารณสุขเป็นกระทรวงใหญ่ มีบุคลากรทั้งสิ้น 320,000 คน ข้าราชการ 220,000 คน และลูกจ้างอีก 100,000 คน มีแพทย์ 12,000 กว่าคน เภสัชกรประมาณ 4,000 คน ดังนั้น การที่มี 2 คนหมู่มาก ก็อาจจะมีคนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือบางคนที่มีเจตนากระทำผิด จึงอยากขอความเป็นธรรมว่า จำนวนคนที่พบเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มีน้อยมาก เมื่อเทียบกับข้าราชการและเจ้าหน้าที่ทั้งหมด” นพ.ไพจิตร์ กล่าว