พบสเตียรอยด์ระบาดหนักในยาแผนโบราณ-อาหารเสริม ผนึกเครือข่ายศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์-ชมรมเภสัชชนบท-อย.หามาตรการป้องกัน เร่งพัฒนาระบบเฝ้าระวังการกระจายสเตียรอยด์ เตือนผู้บริโภคระวังตกเป็นเหยื่อไม่รู้ตัว เสี่ยงตายหากใช้ต่อเนื่อง
วันนี้ (19 มี.ค.) ที่โรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ ผศ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข รองผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวในงานเสวนาเรื่อง “สภาพปัญหาและผลกระทบทางสุขภาพที่เกิดจากการใช้สเตียรอยด์” ว่า ปัจจุบันการใช้ยาของผู้บริโภค มีทางเลือกที่หลากหลาย ซึ่งยาแผนโบราณถือว่าได้รับความนิยมมากขึ้น และมีการผลิตออกมาจำหน่ายจำนวนมาก โดยผู้บริโภคจำนวนหนึ่ง เห็นว่า ยาแผนโบราณน่าจะมีความปลอดภัยมากกว่ายาแผนปัจจุบัน แต่สิ่งที่ผู้บริโภคยังไม่ตระหนัก คือ สารปลอมปนในยาแผนโบราณ โดยเฉพาะยาที่ไม่ได้รับการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือแม้กระทั่งยาสมุนไพรชนิดที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณก็มีการปลอมปนเช่นกัน และจากการที่ กพย.สนับสนุนให้นิสิตคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงพื้นที่ชุมชนหนึ่งใน อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี เพื่อเก็บตัวอย่างของยาแผนโบราณจากชาวบ้าน 25 รายการ พบมีการปลอมปนสเตียรอยด์ในยา 5 รายการ พบทั้งในยาลูกกลอน และยาชุด ซึ่งหากได้รับยาเกินขนาดและใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานจะเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้
“การพัฒนาระบบเฝ้าระวังการกระจายสารสเตียรอยด์ในยา ถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ชมรมเภสัชชนบท เครือข่ายศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เครือข่ายสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เครือข่ายภาคประชาชน จะร่วมหารือกับ อย.เพื่อร่วมสร้างระบบเฝ้าระวังการกระจายสารสเตียรอยด์ ให้มีความเข้มแข็งขึ้น เพื่อป้องกันการนำสารสเตียรอยด์เติมลงในยาอย่างไม่มีการควบคุม” ผศ.ดร.ยุพดี กล่าว
น.ส.จารุวรรณ ลิ้มสัจจะสกุล ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 4 จังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวว่า จากโครงการเฝ้าระวังคุณภาพยาที่มีส่วนผสมของสมุนไพร ระหว่างปี 2548-2552 ได้ตรวจตัวอย่างยาสมุนไพรทั้งหมด 626 ตัวอย่าง พบว่า ในปี 2548 มียาที่มีการปลอมปนสารสเตียรอยด์ อยู่ที่ 30.5% ปี 2549 อยู่ที่ 41.8% ปี 2550 อยู่ที่ 40.8% ปี 2551 อยู่ที่ 18.7% และ ปี 2552 ลดลงอยู่ที่ 12.7% ทั้งนี้ สารสเตียรอยด์ ถือเป็นยาควบคุมพิเศษที่มีอันตรายสูง มักพบการเติมลงในยาแผนโบราณ ประเภท ยาลูกกลอน และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่จำหน่ายทั่วไป ซึ่งหากประชาชนรับประทานยาแผนโบราณดังกล่าว ที่มีการปนเปื้อนของสารสเตียรอยด์ จะส่งผลเสียต่อร่างกายคือ ทำให้กระเพาะอาหารทะลุ กระดูกพรุน กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดการสะสมไขมันผิดที่ และไตวาย เป็นต้น
“เดิมเคยพบปัญหายาชุดที่มีสเตียรอยด์เป็นเม็ดรูปร่างแปลกๆ แต่ปัจจุบันผู้ลักลอบจำหน่ายได้เปลี่ยนวิธีโดยเติมสเตียรอยด์ลงไปในยาแผนโบราณ ทั้งประเภทยาลูกกลอน ยาน้ำสมุนไพร หรือกระทั่งในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสได้รับสเตียรอยด์ โดยเฉพาะผู้ที่กินอย่างต่อเนื่อง จะยิ่งเกิดอันตรายมากยิ่งขึ้น และที่น่าเป็นห่วงมากคือ การปลอมปนสารสเตียรอยด์ที่พบ มีอยู่ในปริมาณที่สูงมาก เมื่อเปรียบเทียบพบว่าในแต่ละครั้งจะเท่ากับได้รับยาสเตียรอยด์ตั้งแต่ 4-12 เม็ดต่อวัน” น.ส.จารุวรรณ กล่าว
ภก.ภาณุโชติ ทองยัง ประธานชมรมเภสัชชนบท กล่าวเสริมว่า สถานการณ์ยาสเตียรอยด์ที่ระบาดนั้นก่อให้เกิดปัญหากับผู้ป่วยหลายรายมาก นอกจากตัวผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายแล้ว ช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็ยังเป็นปัญหา เพราะส่วนใหญ่จะไม่มีแหล่งการขายที่แน่นอน แต่จะเป็นการซื้อขายต่อๆ กันมา รวมทั้งมีรถเร่ขาย นอกจากนี้ ยังมีการโฆษณาทางสื่อต่างๆ ที่ควบคุมได้ยาก เช่น สื่อทางอินเทอร์เน็ต ที่ผ่านมาชมรมเภสัชชนบทได้อาศัยการทำงานในลักษณะเครือข่ายเภสัชกร โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ร้านยา ร่วมกับชุมชน ทำให้สามารถทราบข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้สกัดกั้นปัญหาได้ในระดับหนึ่ง แต่จากการติดตามข้อมูล ทำให้ทราบว่าเส้นทางการระบาดของยาอันตรายเหล่านี้มันโยงใยไปหลายพื้นที่ทั่วทั้งประเทศ ซึ่งหากสามารถพัฒนาระบบการเชื่อมต่อข้อมูลกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้อย่างรวดเร็วจะทำให้การแก้ปัญหาเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ภก.วินิต อัศวกิจวิรี ผู้อำนวยการกองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ชี้แจงว่า อย.พยายามปรับบทบาทเชิงรุกมากขึ้น โดยประสานงานกับพื้นที่ เช่น อย.จะส่งข้อมูลร้านยาหรือคลินิกที่มีการใช้สเตียรอยด์มากผิดปกติให้กับพื้นที่เพื่อไปตรวจสอบและติดตามเพิ่ม นอกจากนี้ ผอ.กองควบคุมยา ยังเสริมว่า “การจัดการปัญหาสเตียรอยด์เป็นเรื่องใหญ่ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งเป็นภารกิจที่อย.ให้ความสำคัญมาโดยตลอด และพร้อมที่จะทำงานร่วมกับทุกเครือข่ายในการทำให้ระบบยาดีขึ้น”
วันนี้ (19 มี.ค.) ที่โรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ ผศ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข รองผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวในงานเสวนาเรื่อง “สภาพปัญหาและผลกระทบทางสุขภาพที่เกิดจากการใช้สเตียรอยด์” ว่า ปัจจุบันการใช้ยาของผู้บริโภค มีทางเลือกที่หลากหลาย ซึ่งยาแผนโบราณถือว่าได้รับความนิยมมากขึ้น และมีการผลิตออกมาจำหน่ายจำนวนมาก โดยผู้บริโภคจำนวนหนึ่ง เห็นว่า ยาแผนโบราณน่าจะมีความปลอดภัยมากกว่ายาแผนปัจจุบัน แต่สิ่งที่ผู้บริโภคยังไม่ตระหนัก คือ สารปลอมปนในยาแผนโบราณ โดยเฉพาะยาที่ไม่ได้รับการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือแม้กระทั่งยาสมุนไพรชนิดที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณก็มีการปลอมปนเช่นกัน และจากการที่ กพย.สนับสนุนให้นิสิตคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงพื้นที่ชุมชนหนึ่งใน อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี เพื่อเก็บตัวอย่างของยาแผนโบราณจากชาวบ้าน 25 รายการ พบมีการปลอมปนสเตียรอยด์ในยา 5 รายการ พบทั้งในยาลูกกลอน และยาชุด ซึ่งหากได้รับยาเกินขนาดและใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานจะเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้
“การพัฒนาระบบเฝ้าระวังการกระจายสารสเตียรอยด์ในยา ถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ชมรมเภสัชชนบท เครือข่ายศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เครือข่ายสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เครือข่ายภาคประชาชน จะร่วมหารือกับ อย.เพื่อร่วมสร้างระบบเฝ้าระวังการกระจายสารสเตียรอยด์ ให้มีความเข้มแข็งขึ้น เพื่อป้องกันการนำสารสเตียรอยด์เติมลงในยาอย่างไม่มีการควบคุม” ผศ.ดร.ยุพดี กล่าว
น.ส.จารุวรรณ ลิ้มสัจจะสกุล ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 4 จังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวว่า จากโครงการเฝ้าระวังคุณภาพยาที่มีส่วนผสมของสมุนไพร ระหว่างปี 2548-2552 ได้ตรวจตัวอย่างยาสมุนไพรทั้งหมด 626 ตัวอย่าง พบว่า ในปี 2548 มียาที่มีการปลอมปนสารสเตียรอยด์ อยู่ที่ 30.5% ปี 2549 อยู่ที่ 41.8% ปี 2550 อยู่ที่ 40.8% ปี 2551 อยู่ที่ 18.7% และ ปี 2552 ลดลงอยู่ที่ 12.7% ทั้งนี้ สารสเตียรอยด์ ถือเป็นยาควบคุมพิเศษที่มีอันตรายสูง มักพบการเติมลงในยาแผนโบราณ ประเภท ยาลูกกลอน และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่จำหน่ายทั่วไป ซึ่งหากประชาชนรับประทานยาแผนโบราณดังกล่าว ที่มีการปนเปื้อนของสารสเตียรอยด์ จะส่งผลเสียต่อร่างกายคือ ทำให้กระเพาะอาหารทะลุ กระดูกพรุน กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดการสะสมไขมันผิดที่ และไตวาย เป็นต้น
“เดิมเคยพบปัญหายาชุดที่มีสเตียรอยด์เป็นเม็ดรูปร่างแปลกๆ แต่ปัจจุบันผู้ลักลอบจำหน่ายได้เปลี่ยนวิธีโดยเติมสเตียรอยด์ลงไปในยาแผนโบราณ ทั้งประเภทยาลูกกลอน ยาน้ำสมุนไพร หรือกระทั่งในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสได้รับสเตียรอยด์ โดยเฉพาะผู้ที่กินอย่างต่อเนื่อง จะยิ่งเกิดอันตรายมากยิ่งขึ้น และที่น่าเป็นห่วงมากคือ การปลอมปนสารสเตียรอยด์ที่พบ มีอยู่ในปริมาณที่สูงมาก เมื่อเปรียบเทียบพบว่าในแต่ละครั้งจะเท่ากับได้รับยาสเตียรอยด์ตั้งแต่ 4-12 เม็ดต่อวัน” น.ส.จารุวรรณ กล่าว
ภก.ภาณุโชติ ทองยัง ประธานชมรมเภสัชชนบท กล่าวเสริมว่า สถานการณ์ยาสเตียรอยด์ที่ระบาดนั้นก่อให้เกิดปัญหากับผู้ป่วยหลายรายมาก นอกจากตัวผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายแล้ว ช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็ยังเป็นปัญหา เพราะส่วนใหญ่จะไม่มีแหล่งการขายที่แน่นอน แต่จะเป็นการซื้อขายต่อๆ กันมา รวมทั้งมีรถเร่ขาย นอกจากนี้ ยังมีการโฆษณาทางสื่อต่างๆ ที่ควบคุมได้ยาก เช่น สื่อทางอินเทอร์เน็ต ที่ผ่านมาชมรมเภสัชชนบทได้อาศัยการทำงานในลักษณะเครือข่ายเภสัชกร โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ร้านยา ร่วมกับชุมชน ทำให้สามารถทราบข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้สกัดกั้นปัญหาได้ในระดับหนึ่ง แต่จากการติดตามข้อมูล ทำให้ทราบว่าเส้นทางการระบาดของยาอันตรายเหล่านี้มันโยงใยไปหลายพื้นที่ทั่วทั้งประเทศ ซึ่งหากสามารถพัฒนาระบบการเชื่อมต่อข้อมูลกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้อย่างรวดเร็วจะทำให้การแก้ปัญหาเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ภก.วินิต อัศวกิจวิรี ผู้อำนวยการกองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ชี้แจงว่า อย.พยายามปรับบทบาทเชิงรุกมากขึ้น โดยประสานงานกับพื้นที่ เช่น อย.จะส่งข้อมูลร้านยาหรือคลินิกที่มีการใช้สเตียรอยด์มากผิดปกติให้กับพื้นที่เพื่อไปตรวจสอบและติดตามเพิ่ม นอกจากนี้ ผอ.กองควบคุมยา ยังเสริมว่า “การจัดการปัญหาสเตียรอยด์เป็นเรื่องใหญ่ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งเป็นภารกิจที่อย.ให้ความสำคัญมาโดยตลอด และพร้อมที่จะทำงานร่วมกับทุกเครือข่ายในการทำให้ระบบยาดีขึ้น”