นักกฎหมาย แนะ สปส.เร่งจ่ายเงินค่าโอนผู้ประกันตนไปบัตรทองตามกฤษฎีกาตีความ ด้านนายจ้างเตรียมร่อนหนังสือจี้ผู้ตรวจการแผ่นดิน เร่งส่งเรื่องให้ศาลตีความผู้ประกันตนจ่ายสมทบขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
ดร.ภูมิ มูลศิลป์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความการดำเนินการตามมาตรา 10 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการโอนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม (สปส.) จำนวน 9.4 ล้านคน ไปใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) และระบุว่า การที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เรียกเก็บเงินค่าจัดบริการทางการแพทย์สำหรับให้บริการผู้ประกันตนจาก สปส.ไม่ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 30 เรื่อง ความเสมอภาคนั้น ดร.ภูมิ กล่าวว่า เมื่อกฤษฎีกาตีความมาเช่นนี้ เป็นหน้าที่ของ สปส.และ สปสช.ที่จะต้องจัดให้มีการเจรจาตกลงกระบวนการ และจำนวนเงินที่จะโอนระหว่างกันต่อไป ส่วนเงินที่โอนเป็นค่าจัดบริการทางการแพทย์จะมาจากส่วนของนายจ้าง ลูกจ้าง หรือส่วนที่รัฐจ่ายสมทบเป็นเรื่องของกระบวนการภายในที่ สปส.ต้องไปจัดการ
ดร.ภูมิ กล่าวว่า แม้ สปส.จะไม่ต้องการจ่ายเงินในส่วนนี้เพราะถือว่าเป็นจำนวนที่ค่อนข้างมาก แต่เมื่อกฎหมายระบุไว้เช่นนี้ก็ต้องปฏิบัติตาม หากไม่ต้องการจ่าย หรือต้องการให้รัฐเข้ามาดูแลค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ก็จำเป็นต้อง แก้กฎหมายให้เป็นเรื่องเป็นราวก่อนที่จะโอนผู้ประกันตนไปอยู่ภายใต้การดูแล ของ สปสช.
ดร.ภูมิ กล่าวด้วยว่า ในกรณีที่ สปส.หรือ สปสช.เพิกเฉย ไม่มีการเจรจาตกลงกันตามที่กฎหมายกำหนด ผู้ประกันตนสามารถยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้ เพราะตามมาตรา 9 ของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ระบุว่า ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
“การให้ศาลปกครองพิจารณาน่าจะดีกว่าใช้ช่องทางศาลรัฐธรรมนูญ เพราะถ้าให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาก็จะมีแค่ว่ากฎหมายมันขัดหรือไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ขณะที่ศาลปกครองมีอำนาจบังคับออกคำสั่งให้หน่วยงานต้องปฏิบัติตาม” ดร.ภูมิ กล่าว
ด้านนายประสิทธิ์ จงอัศญากุล ประธานสภานายจ้างผู้ค้าและบริการเรื่องอุปโภคบริโภค อดีตบอร์ดสปส.กล่าวว่า เตรียมทำหนังสือสอบถามไปยังผู้ตรวจการแผ่นดินเร็วๆ นี้ เพื่อขอให้มีคำตอบที่ชัดเจนว่าจะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความกรณีที่ผู้ประกันตนเป็นคนกลุ่มเดียวที่ยังจ่ายเงินสมทบสำหรับการรักษาพยาบาล ส่วนผู้ใช้บัตรทอง และข้าราชการได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐ เป็นเรื่องที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ส่งเรื่องให้ศาลพิจารณา สภานายจ้างจะได้ใช้สิทธิ์ยื่นเรื่องด้วยตัวเองต่อไป
ดร.ภูมิ มูลศิลป์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความการดำเนินการตามมาตรา 10 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการโอนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม (สปส.) จำนวน 9.4 ล้านคน ไปใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) และระบุว่า การที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เรียกเก็บเงินค่าจัดบริการทางการแพทย์สำหรับให้บริการผู้ประกันตนจาก สปส.ไม่ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 30 เรื่อง ความเสมอภาคนั้น ดร.ภูมิ กล่าวว่า เมื่อกฤษฎีกาตีความมาเช่นนี้ เป็นหน้าที่ของ สปส.และ สปสช.ที่จะต้องจัดให้มีการเจรจาตกลงกระบวนการ และจำนวนเงินที่จะโอนระหว่างกันต่อไป ส่วนเงินที่โอนเป็นค่าจัดบริการทางการแพทย์จะมาจากส่วนของนายจ้าง ลูกจ้าง หรือส่วนที่รัฐจ่ายสมทบเป็นเรื่องของกระบวนการภายในที่ สปส.ต้องไปจัดการ
ดร.ภูมิ กล่าวว่า แม้ สปส.จะไม่ต้องการจ่ายเงินในส่วนนี้เพราะถือว่าเป็นจำนวนที่ค่อนข้างมาก แต่เมื่อกฎหมายระบุไว้เช่นนี้ก็ต้องปฏิบัติตาม หากไม่ต้องการจ่าย หรือต้องการให้รัฐเข้ามาดูแลค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ก็จำเป็นต้อง แก้กฎหมายให้เป็นเรื่องเป็นราวก่อนที่จะโอนผู้ประกันตนไปอยู่ภายใต้การดูแล ของ สปสช.
ดร.ภูมิ กล่าวด้วยว่า ในกรณีที่ สปส.หรือ สปสช.เพิกเฉย ไม่มีการเจรจาตกลงกันตามที่กฎหมายกำหนด ผู้ประกันตนสามารถยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้ เพราะตามมาตรา 9 ของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ระบุว่า ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
“การให้ศาลปกครองพิจารณาน่าจะดีกว่าใช้ช่องทางศาลรัฐธรรมนูญ เพราะถ้าให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาก็จะมีแค่ว่ากฎหมายมันขัดหรือไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ขณะที่ศาลปกครองมีอำนาจบังคับออกคำสั่งให้หน่วยงานต้องปฏิบัติตาม” ดร.ภูมิ กล่าว
ด้านนายประสิทธิ์ จงอัศญากุล ประธานสภานายจ้างผู้ค้าและบริการเรื่องอุปโภคบริโภค อดีตบอร์ดสปส.กล่าวว่า เตรียมทำหนังสือสอบถามไปยังผู้ตรวจการแผ่นดินเร็วๆ นี้ เพื่อขอให้มีคำตอบที่ชัดเจนว่าจะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความกรณีที่ผู้ประกันตนเป็นคนกลุ่มเดียวที่ยังจ่ายเงินสมทบสำหรับการรักษาพยาบาล ส่วนผู้ใช้บัตรทอง และข้าราชการได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐ เป็นเรื่องที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ส่งเรื่องให้ศาลพิจารณา สภานายจ้างจะได้ใช้สิทธิ์ยื่นเรื่องด้วยตัวเองต่อไป