รองเลขาฯ กพฐ.ชี้ หากครูภาษาไทยออกข้อสอบยึดตามหลักวิชาการ ถือว่าไม่มีความผิด เว้นแต่กระทำเพราะต้องการชี้นำเด็กแบบนี้จึงจะถือว่าผิด แต่โทษเพียงแค่ว่ากล่าวตักเตือนเท่านั้น
นายอนันต์ ระงับทุกข์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) กล่าวถึงกรณีครูภาควิชาภาษาไทย โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลก หยิบยกเอาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ทั้งกรณีที่รัฐบาลชุดปัจจุบัน มีนโยบายจ่ายเงินเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมืองสูงสุด 7.75 ล้านบาท เทียบกับทหารที่เสียสละชีวิตปกป้องประเทศชาติที่ได้เพียง 500,000 บาท และมีข่าวว่า มีการสั่งการจากข้าราชการการเมืองทางกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ให้ดำเนินการให้ถึงที่สุด ว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ยังไม่ได้รับรายงานเรื่องดังกล่าว แต่กรณีดังกล่าวนี้สามารถดำเนินการได้ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) อาจจะตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง สืบย้อนหลังถึงภูมิหลังของครูว่ามีทัศนคติหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างไร และมีผลต่อการนำใช้ในการเรียนการสอนหรือไม่ ซึ่งหากเจตนาของครูเพียงเพื่อต้องการนำสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นในสังคมมาให้เด็กฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดยไม่ได้ชี้นำว่าสิ่งที่เด็กคิดวิเคราะห์มานั้นถูกหรือผิด ก็ไม่ถือเป็นความผิด เพราะตามหลักแล้ว สพฐ.ก็มุ่งส่งเสริมให้สถานศึกษาฝึกฝนและพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ให้เด็กมากขึ้น เพื่อให้รู้จักการใช้เหตุและผล
“ถ้าครูกระทำด้วยเจตนาต้องการชี้นำเด็กแบบนี้ ก็เข้าข่ายจะมีความผิดแต่โทษไม่ได้ร้ายแรง อาจจะเพียงแค่ภาคทัณฑ์ หรือว่ากล่าวตักเตือน เพื่อไม่ให้กระทำแบบนี้ต่อไป แต่หากทำตามหลักวิชาการตามหลักสูตร ก็ไม่ถือว่าเป็นความผิด และผมมองว่าการที่ครูจะสอนเพื่อให้เด็กได้คิดรู้จักคิดวิเคราะห์ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง” นายอนันต์ กล่าว
นายอนันต์ ระงับทุกข์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) กล่าวถึงกรณีครูภาควิชาภาษาไทย โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลก หยิบยกเอาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ทั้งกรณีที่รัฐบาลชุดปัจจุบัน มีนโยบายจ่ายเงินเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมืองสูงสุด 7.75 ล้านบาท เทียบกับทหารที่เสียสละชีวิตปกป้องประเทศชาติที่ได้เพียง 500,000 บาท และมีข่าวว่า มีการสั่งการจากข้าราชการการเมืองทางกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ให้ดำเนินการให้ถึงที่สุด ว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ยังไม่ได้รับรายงานเรื่องดังกล่าว แต่กรณีดังกล่าวนี้สามารถดำเนินการได้ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) อาจจะตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง สืบย้อนหลังถึงภูมิหลังของครูว่ามีทัศนคติหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างไร และมีผลต่อการนำใช้ในการเรียนการสอนหรือไม่ ซึ่งหากเจตนาของครูเพียงเพื่อต้องการนำสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นในสังคมมาให้เด็กฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดยไม่ได้ชี้นำว่าสิ่งที่เด็กคิดวิเคราะห์มานั้นถูกหรือผิด ก็ไม่ถือเป็นความผิด เพราะตามหลักแล้ว สพฐ.ก็มุ่งส่งเสริมให้สถานศึกษาฝึกฝนและพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ให้เด็กมากขึ้น เพื่อให้รู้จักการใช้เหตุและผล
“ถ้าครูกระทำด้วยเจตนาต้องการชี้นำเด็กแบบนี้ ก็เข้าข่ายจะมีความผิดแต่โทษไม่ได้ร้ายแรง อาจจะเพียงแค่ภาคทัณฑ์ หรือว่ากล่าวตักเตือน เพื่อไม่ให้กระทำแบบนี้ต่อไป แต่หากทำตามหลักวิชาการตามหลักสูตร ก็ไม่ถือว่าเป็นความผิด และผมมองว่าการที่ครูจะสอนเพื่อให้เด็กได้คิดรู้จักคิดวิเคราะห์ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง” นายอนันต์ กล่าว