ผู้บริโภคเตรียมล่าหมื่นรายชื่อ แก้ กม.แพทยสภา กำหนดสัดส่วนกรรมการให้มีคนนอก
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า แพทยสภาถือเป็นองค์กรที่ต้องดูแลและปกป้องสิทธิของประชาชน แต่ในช่วงที่ผ่านมา พบว่า แพทยสภามีการเคลื่อนไหวที่ขัดต่อการปกป้องสิทธิของประชาชนซึ่งมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้มีการเสนอความเห็นผ่านเวทีต่างๆในการแก้กฎหมายแพทยสภา เพื่อให้มีสัดส่วนของวิชาชีพอื่นๆ ในคณะกรรมการด้วย ซึ่งในประเทศต่างๆ เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ก็มีการแก้กฎหมายดังกล่าวเพื่อให้วิชาชีพอื่นอยู่ในสัดส่วนของคณะกรรมการแพทยสภา และพบว่าในประเทศออสเตรเลีย แคนาดา อังกฤษ ก็มีการเพิ่มสัดส่วนวิชาชีพอื่นในคณะกรรมการแพทยสภาจาก 25% เป็น 50% ด้วย
น.ส.สารี กล่าวว่า แพทยสภา ถือเป็นองค์กรที่ดูแลความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งประชาชนควรจะได้ใช้ประโยชน์และเป็นที่พึ่ง แต่ปัจจุบันประชาชนต้องหันไปหากระบวนการยุติธรรมในสถาบันอื่น เช่น การฟ้องร้องต่อศาล เนื่องจากการทำงานของแพทยสภา จึงจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายเพื่อทำให้แพทยสภามีระยะห่างจากธุรกิจเอกชน ไม่ให้กลายเป็นหน่วยงานที่รักษาผลประโยชน์ของธุรกิจสุขภาพ หรือขวางการออกกฎหมายเพื่อประชาชน เช่น การขยายมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ทำให้โรงพยาบาลเอกชนไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเพื่อชดเชยค่าเสียหาย ซึ่งไม่ใช่เรื่องถูกต้อง แพทยสภาเป็นหน่วยงานที่เป็นที่พึ่งของประชาชนจึงไม่ควรทะเลาะกัน โดยสัดส่วนของคณะกรรมการ ควรมาจากวิชาชีพอื่นๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นองค์กรพัฒนาหรือเอ็นจีโอเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะเริ่มมีการรวบรวมรายชื่อ 1 หมื่นรายชื่อ เพื่อยื่นแก้กฎหมาย ในวันที่ 15 มี.ค.นี้ ซึ่งตรงกับวันคุ้มครองผู้บริโภค
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า แพทยสภาถือเป็นองค์กรที่ต้องดูแลและปกป้องสิทธิของประชาชน แต่ในช่วงที่ผ่านมา พบว่า แพทยสภามีการเคลื่อนไหวที่ขัดต่อการปกป้องสิทธิของประชาชนซึ่งมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้มีการเสนอความเห็นผ่านเวทีต่างๆในการแก้กฎหมายแพทยสภา เพื่อให้มีสัดส่วนของวิชาชีพอื่นๆ ในคณะกรรมการด้วย ซึ่งในประเทศต่างๆ เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ก็มีการแก้กฎหมายดังกล่าวเพื่อให้วิชาชีพอื่นอยู่ในสัดส่วนของคณะกรรมการแพทยสภา และพบว่าในประเทศออสเตรเลีย แคนาดา อังกฤษ ก็มีการเพิ่มสัดส่วนวิชาชีพอื่นในคณะกรรมการแพทยสภาจาก 25% เป็น 50% ด้วย
น.ส.สารี กล่าวว่า แพทยสภา ถือเป็นองค์กรที่ดูแลความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งประชาชนควรจะได้ใช้ประโยชน์และเป็นที่พึ่ง แต่ปัจจุบันประชาชนต้องหันไปหากระบวนการยุติธรรมในสถาบันอื่น เช่น การฟ้องร้องต่อศาล เนื่องจากการทำงานของแพทยสภา จึงจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายเพื่อทำให้แพทยสภามีระยะห่างจากธุรกิจเอกชน ไม่ให้กลายเป็นหน่วยงานที่รักษาผลประโยชน์ของธุรกิจสุขภาพ หรือขวางการออกกฎหมายเพื่อประชาชน เช่น การขยายมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ทำให้โรงพยาบาลเอกชนไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเพื่อชดเชยค่าเสียหาย ซึ่งไม่ใช่เรื่องถูกต้อง แพทยสภาเป็นหน่วยงานที่เป็นที่พึ่งของประชาชนจึงไม่ควรทะเลาะกัน โดยสัดส่วนของคณะกรรมการ ควรมาจากวิชาชีพอื่นๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นองค์กรพัฒนาหรือเอ็นจีโอเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะเริ่มมีการรวบรวมรายชื่อ 1 หมื่นรายชื่อ เพื่อยื่นแก้กฎหมาย ในวันที่ 15 มี.ค.นี้ ซึ่งตรงกับวันคุ้มครองผู้บริโภค