อย.-ตร.บุกทลายแหล่งจำหน่ายและเก็บเครื่องสำอางผสมสารห้ามใช้รายใหญ่ ทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตราย มูลค่าของกลางกว่า 5 ล้านบาท
นพ.นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย.ได้รณรงค์เร่งรัดปราบปรามผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายมาโดยตลอด เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค และจากการร้องเรียนของผู้บริโภคว่าได้ซื้อเครื่องสำอาง Selene ซึ่งฉลากระบุ สธ 1099-3-5100285 เมื่อใช้แล้วเกิดปัญหาหน้าดำคล้ำ สิวขึ้น ประกอบกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูลมีหนังสือแจ้งมาว่าได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นี้เช่นกัน และได้เก็บตัวอย่างทดสอบเบื้องต้นด้วยชุดทดสอบปรอทแอมโมเนีย โดยผลทดสอบให้ผลบวก ในครีมบำรุงก่อนนอน
นพ.นรังสันต์ กล่าวต่อว่า ดังนั้น เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา พนักงานเจ้าหน้าที่กลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง อย. และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้นำหมายค้นของศาลจังหวัดมีนบุรีเข้าตรวจสอบบ้านเลขที่ 71/247 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส ถนนรามคำแหง 164 แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ ซึ่งคาดว่าจะเป็นสถานที่เก็บเครื่องสำอางตามที่มีผู้ร้องเรียน ทั้งนี้ ผลการตรวจสอบพบของกลาง หลายอย่าง เช่น เครื่องสำอาง Selene Night Cream ระบุ สธ 1099-13-5100285 จำนวน 1,500 กล่อง เครื่องสำอาง Selene Day Cream ระบุ สธ1099-13-5100285 จำนวน 629 กล่อง เจ้าหน้าที่จึงได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้นส่งตรวจวิเคราะห์สารห้ามใช้ในเครื่องสำอางที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำหรับมูลค่าของกลางที่ยึดได้จำนวน 13,097 ชิ้น ฉลากเปล่า จำนวน 3,000 ชิ้น คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5,000,000 บาท นอกจากนี้ อย. ได้เก็บตัวอย่างทดสอบเบื้องต้นด้วยชุดทดสอบปรอทแอมโมเนียให้ผลทดสอบเป็นผลบวกใน Selene plus day cream และ Selene seaweed gold night cream ในส่วนของการดำเนินคดี ในเบื้องต้นได้แจ้งข้อหา ดังนี้
1.ฉลากแสดงข้อความที่อาจทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิด ฝ่าฝืนมาตรา 56 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และฝ่าฝืนมาตรา 57 ไม่ระบุวันเดือนปีที่ผลิต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.หากตรวจพบสารห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางดังกล่าว จะถือว่าเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3.เป็นเครื่องสำอางที่มิได้แจ้งรายละเอียดเครื่องสำอางควบคุมก่อนผลิต ฝ่าฝืนมาตรา 28 วรรคหนึ่ง บทลงโทษ ตามมาตรา 55 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นพ.นรังสันต์ รองเลขาธิการ อย.กล่าวต่อไปว่า ขอให้ผู้บริโภคเมื่อจะซื้อเครื่องสำอางต้องระมัดระวัง โดยซื้อจากร้านค้าที่มีหลักแหล่งแน่นอน มีฉลากภาษาไทยที่มีข้อความบังคับครบถ้วนได้แก่ ชื่อและประเภทผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบสำคัญ วิธีใช้ ชื่อและที่ตั้งแหล่งผลิต วันเดือนปีที่ผลิต ปริมาณสุทธิ http://e-cosmetic.fda.moph.go.th/data_center/ifm_mod/nw/Document_%286%29.pdf ที่สำคัญ ไม่ควรซื้อเพียงเพราะเชื่อคำโฆษณาว่าทำให้ผิวขาว ดูดี อีกทั้งไม่ควรซื้อเครื่องสำอางผ่านทางอินเทอร์เน็ต แต่หากมีความจำเป็นควรตรวจสอบข้อมูลอย่างเคร่งครัด เนื่องจากเครื่องสำอางมักลักลอบใส่ส่วนผสมของสารประกอบของปรอททำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลงเกิดพิษสะสมของปรอท ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ และไตอักเสบ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผสมไฮโดรควิโนน ทำให้เกิดระคายเคือง เกิดจุดด่างขาวที่หน้า ผิวหน้าดำ เป็นฝ้าถาวรรักษาไม่หาย และผลิตภัณฑ์ ที่ผสมกรดเรทิโนอิก (กรดวิตามินเอ) ทำให้หน้าแดง แสบร้อนรุนแรง เกิดการอักเสบ ผิวหน้าลอกอย่างรุนแรง และเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์
นอกจากนี้ อย.ได้มีการประสานไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดแจ้งเตือนประชาชนในจังหวัดให้ทราบถึงเครื่องสำอางที่ผสมสารห้ามใช้ที่เป็นอันตราย โดยนำเอกสารแผ่นพับเผยแพร่ประชาสัมพันธ์รายชื่อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทาสิว ทาฝ้า ทำให้หน้าขาว ที่มีส่วนผสมของสารห้ามใช้และเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคที่ อย.จัดทำขึ้น แจ้งประชาชนให้ทราบโดยทั่วถึงกันด้วย สำหรับรายชื่อเครื่องสำอางที่พบสารห้ามใช้ที่ อย.เคยประกาศไปทั้งหมด ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบรายชื่อ พร้อมดูภาพได้ที่เว็บไซต์ อย. http://e-cosmetic.fda.moph.go.th/frontend/theme_4/dangerous.php?Submit=Clear&Page=&ID_Lookup=0000000001 พร้อมกันนี้ขอฝากไปยังผู้ผลิต/นำเข้า/รับจ้างผลิต ให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ หากยังไม่ได้จดแจ้งรายละเอียด สามารถยื่นคำขอ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต http://ecosmetic.fda.moph.go.th/frontend/theme_4/information_category.php?Submit=Clear&ID_Inf_Nw_Category=16
สำหรับผู้บริโภค หากพบเห็นหรือสงสัยการลักลอบผลิตเครื่องสำอางดังกล่าว หรือเครื่องสำอางที่ผิดกฎหมาย หรือกรณีที่ใช้เครื่องสำอางแล้วมีบริเวณที่ใช้ผิดปกติ ให้พบแพทย์ หรือ แจ้งร้องเรียนมาที่สายด่วน อย.1556 หรือแจ้งไปยังสำนักงาน-สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) นั้นๆ ที่พบการกระทำผิดดังกล่าว เพื่อ อย.จะได้ตรวจสอบและดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด ไม่ให้เอาเปรียบผู้บริโภค
นพ.นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย.ได้รณรงค์เร่งรัดปราบปรามผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายมาโดยตลอด เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค และจากการร้องเรียนของผู้บริโภคว่าได้ซื้อเครื่องสำอาง Selene ซึ่งฉลากระบุ สธ 1099-3-5100285 เมื่อใช้แล้วเกิดปัญหาหน้าดำคล้ำ สิวขึ้น ประกอบกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูลมีหนังสือแจ้งมาว่าได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นี้เช่นกัน และได้เก็บตัวอย่างทดสอบเบื้องต้นด้วยชุดทดสอบปรอทแอมโมเนีย โดยผลทดสอบให้ผลบวก ในครีมบำรุงก่อนนอน
นพ.นรังสันต์ กล่าวต่อว่า ดังนั้น เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา พนักงานเจ้าหน้าที่กลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง อย. และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้นำหมายค้นของศาลจังหวัดมีนบุรีเข้าตรวจสอบบ้านเลขที่ 71/247 หมู่บ้านเพอร์เฟคเพลส ถนนรามคำแหง 164 แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ ซึ่งคาดว่าจะเป็นสถานที่เก็บเครื่องสำอางตามที่มีผู้ร้องเรียน ทั้งนี้ ผลการตรวจสอบพบของกลาง หลายอย่าง เช่น เครื่องสำอาง Selene Night Cream ระบุ สธ 1099-13-5100285 จำนวน 1,500 กล่อง เครื่องสำอาง Selene Day Cream ระบุ สธ1099-13-5100285 จำนวน 629 กล่อง เจ้าหน้าที่จึงได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้นส่งตรวจวิเคราะห์สารห้ามใช้ในเครื่องสำอางที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำหรับมูลค่าของกลางที่ยึดได้จำนวน 13,097 ชิ้น ฉลากเปล่า จำนวน 3,000 ชิ้น คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5,000,000 บาท นอกจากนี้ อย. ได้เก็บตัวอย่างทดสอบเบื้องต้นด้วยชุดทดสอบปรอทแอมโมเนียให้ผลทดสอบเป็นผลบวกใน Selene plus day cream และ Selene seaweed gold night cream ในส่วนของการดำเนินคดี ในเบื้องต้นได้แจ้งข้อหา ดังนี้
1.ฉลากแสดงข้อความที่อาจทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิด ฝ่าฝืนมาตรา 56 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และฝ่าฝืนมาตรา 57 ไม่ระบุวันเดือนปีที่ผลิต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.หากตรวจพบสารห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางดังกล่าว จะถือว่าเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3.เป็นเครื่องสำอางที่มิได้แจ้งรายละเอียดเครื่องสำอางควบคุมก่อนผลิต ฝ่าฝืนมาตรา 28 วรรคหนึ่ง บทลงโทษ ตามมาตรา 55 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นพ.นรังสันต์ รองเลขาธิการ อย.กล่าวต่อไปว่า ขอให้ผู้บริโภคเมื่อจะซื้อเครื่องสำอางต้องระมัดระวัง โดยซื้อจากร้านค้าที่มีหลักแหล่งแน่นอน มีฉลากภาษาไทยที่มีข้อความบังคับครบถ้วนได้แก่ ชื่อและประเภทผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบสำคัญ วิธีใช้ ชื่อและที่ตั้งแหล่งผลิต วันเดือนปีที่ผลิต ปริมาณสุทธิ http://e-cosmetic.fda.moph.go.th/data_center/ifm_mod/nw/Document_%286%29.pdf ที่สำคัญ ไม่ควรซื้อเพียงเพราะเชื่อคำโฆษณาว่าทำให้ผิวขาว ดูดี อีกทั้งไม่ควรซื้อเครื่องสำอางผ่านทางอินเทอร์เน็ต แต่หากมีความจำเป็นควรตรวจสอบข้อมูลอย่างเคร่งครัด เนื่องจากเครื่องสำอางมักลักลอบใส่ส่วนผสมของสารประกอบของปรอททำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลงเกิดพิษสะสมของปรอท ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ และไตอักเสบ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผสมไฮโดรควิโนน ทำให้เกิดระคายเคือง เกิดจุดด่างขาวที่หน้า ผิวหน้าดำ เป็นฝ้าถาวรรักษาไม่หาย และผลิตภัณฑ์ ที่ผสมกรดเรทิโนอิก (กรดวิตามินเอ) ทำให้หน้าแดง แสบร้อนรุนแรง เกิดการอักเสบ ผิวหน้าลอกอย่างรุนแรง และเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์
นอกจากนี้ อย.ได้มีการประสานไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดแจ้งเตือนประชาชนในจังหวัดให้ทราบถึงเครื่องสำอางที่ผสมสารห้ามใช้ที่เป็นอันตราย โดยนำเอกสารแผ่นพับเผยแพร่ประชาสัมพันธ์รายชื่อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทาสิว ทาฝ้า ทำให้หน้าขาว ที่มีส่วนผสมของสารห้ามใช้และเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคที่ อย.จัดทำขึ้น แจ้งประชาชนให้ทราบโดยทั่วถึงกันด้วย สำหรับรายชื่อเครื่องสำอางที่พบสารห้ามใช้ที่ อย.เคยประกาศไปทั้งหมด ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบรายชื่อ พร้อมดูภาพได้ที่เว็บไซต์ อย. http://e-cosmetic.fda.moph.go.th/frontend/theme_4/dangerous.php?Submit=Clear&Page=&ID_Lookup=0000000001 พร้อมกันนี้ขอฝากไปยังผู้ผลิต/นำเข้า/รับจ้างผลิต ให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ หากยังไม่ได้จดแจ้งรายละเอียด สามารถยื่นคำขอ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต http://ecosmetic.fda.moph.go.th/frontend/theme_4/information_category.php?Submit=Clear&ID_Inf_Nw_Category=16
สำหรับผู้บริโภค หากพบเห็นหรือสงสัยการลักลอบผลิตเครื่องสำอางดังกล่าว หรือเครื่องสำอางที่ผิดกฎหมาย หรือกรณีที่ใช้เครื่องสำอางแล้วมีบริเวณที่ใช้ผิดปกติ ให้พบแพทย์ หรือ แจ้งร้องเรียนมาที่สายด่วน อย.1556 หรือแจ้งไปยังสำนักงาน-สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) นั้นๆ ที่พบการกระทำผิดดังกล่าว เพื่อ อย.จะได้ตรวจสอบและดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด ไม่ให้เอาเปรียบผู้บริโภค