สธ.เผยข่าวดี สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมกับ 12 หน่วยงาน ศึกษา “เห็ดหลินจือ” พบยับยั้งเซลล์มะเร็งลุกลามได้ผลดีรู้ผลกลางปีนี้
วันนี้ (10 ก.พ.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และนพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ร่วมเปิดงานว่า “หมอพื้นบ้าน หมอชนเผ่า วิถีม่ะเก่าทรงค่าของล้านนาไทย” ตามโครงการ “รวมพลังการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ปี 2555” ของ 17 จังหวัดภาคเหนือ จัดระหว่างวันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ 2555 ที่สวนตุงและโคมเฉลิมพระเกียรติ ถนนธนาลัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาไทยใน 17 จังหวัดภาคเหนือให้เป็นที่รู้จัก และยอมรับ โดยจะมีการสาธิตวิถีภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยของ 17 จังหวัดภาคเหนือ อาทิ การทำกัวซา กดจุด ขูดพิษ กระตุ้นการไหลเวียนเลือดเพื่อขับพิษออกทางผิวหนัง การนวดหน้าท้องสตรีรักษาการมีบุตรยากจากหมอชนเผ่าลาหู่ สาธิตตำรับยาสมุนไพรรักษาโรคเรื้อรัง
นายวิทยา กล่าวว่า ขณะนี้ คนไทยป่วยมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคเรื้อรังมากขึ้น ทั้งเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะมะเร็งซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทย ยังไม่มียารักษาที่ได้ผล กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายส่งเสริมการนำแพทย์พื้นบ้าน รวมทั้งสมุนไพรไทยและสมุนไพรต่างประเทศที่สามารถนำมาเพาะปลูกในไทยได้ มาศึกษาวิจัยและพัฒนาเป็นยาและผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ให้เกิดระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างแท้จริง
สำหรับการรักษามะเร็งนั้น สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ร่วมกับ 12 หน่วยงาน อาทิ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โครงการพิเศษสวนเกษตรเมืองงาย จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา ร่วมกันศึกษาวิจัยเห็ดหลินจืออย่างครบวงจร ตั้งแต่การปลูกจนถึงการวิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์ ซึ่งกำลังศึกษาวิจัยในคน เริ่มตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา ขณะนี้มีผลทดสอบการนำสารสกัดจากเห็ดและสปอร์เห็ดหลินจือในหลอดทดลองพบว่ามีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งเต้านมได้ ถือเป็นข่าวดี และขณะนี้ได้ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำสารสกัดจากดอกและสปอร์เห็ดหลินจือมารักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย 2 กลุ่ม คือ มะเร็งรังไข่ และมะเร็งทั่วไป กลุ่มละ 60 คน ขณะนี้คืบหน้าแล้วประมาณร้อยละ 50 พบว่า แนวโน้มได้ผลดี สามารถยับยั้งการลุกลามของเซลล์มะเร็ง และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น คาดว่า จะสรุปผลได้ภายในกลางปีนี้ ซึ่งจะเป็นข่าวดีของไทยที่จะมีสมุนไพรที่สามารถใช้รักษามะเร็งได้
ด้านนพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในพื้นที่ภาคเหนือ กระทรวงสาธารณสุข ได้สนับสนุนทุนทำการศึกษาวิจัยสมุนไพรและเผยแพร่ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านที่ได้ผลในการดูแลสุขภาพ บำบัดรักษาโรค แก่นักวิจัยอิสระและหน่วยงานภายนอก ตั้งแต่ปี 2548 - ปัจจุบัน รวม 5 เรื่อง ได้แก่ 1.การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการใช้สมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบันในรพ.ศูนย์ลำปาง และ รพ.ชุมชนจังหวัดลำปาง 2.โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรไทย วัดพระธาตุผาเงา จ.เชียงราย 3.โครงการตั้งโรงเรียนภูมิปัญญาหมอเมืองล้านนา จ.เชียงราย 4.โครงการข่วงผญาสุขภาพดีวิถีพอเพียง 10 ปี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ฮ่าย ฮอม ฮ้อย ผญาเมืองล้านนา 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน และ 5.โครงการวิจัยสมุนไพรปัญจขันธ์ในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและไขมันไม่ดีในเลือดไม่ได้ตามเป้าหมายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งยังมีความต้องการงานวิจัยด้านนี้อีกจำนวนมาก จึงขอเชิญชวนผู้สนใจติดต่อขอรับทุนได้ที่หมายเลข 0-2588-5743 ซึ่งหากผลการวิจัยได้ผลดี จะนำมามาขยายผลใช้ในระบบการดูแลสุขภาพและการรักษาผู้ป่วยของประเทศต่อไป
วันนี้ (10 ก.พ.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และนพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ร่วมเปิดงานว่า “หมอพื้นบ้าน หมอชนเผ่า วิถีม่ะเก่าทรงค่าของล้านนาไทย” ตามโครงการ “รวมพลังการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ปี 2555” ของ 17 จังหวัดภาคเหนือ จัดระหว่างวันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ 2555 ที่สวนตุงและโคมเฉลิมพระเกียรติ ถนนธนาลัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เพื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาไทยใน 17 จังหวัดภาคเหนือให้เป็นที่รู้จัก และยอมรับ โดยจะมีการสาธิตวิถีภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยของ 17 จังหวัดภาคเหนือ อาทิ การทำกัวซา กดจุด ขูดพิษ กระตุ้นการไหลเวียนเลือดเพื่อขับพิษออกทางผิวหนัง การนวดหน้าท้องสตรีรักษาการมีบุตรยากจากหมอชนเผ่าลาหู่ สาธิตตำรับยาสมุนไพรรักษาโรคเรื้อรัง
นายวิทยา กล่าวว่า ขณะนี้ คนไทยป่วยมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคเรื้อรังมากขึ้น ทั้งเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะมะเร็งซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทย ยังไม่มียารักษาที่ได้ผล กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายส่งเสริมการนำแพทย์พื้นบ้าน รวมทั้งสมุนไพรไทยและสมุนไพรต่างประเทศที่สามารถนำมาเพาะปลูกในไทยได้ มาศึกษาวิจัยและพัฒนาเป็นยาและผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ให้เกิดระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างแท้จริง
สำหรับการรักษามะเร็งนั้น สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ร่วมกับ 12 หน่วยงาน อาทิ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โครงการพิเศษสวนเกษตรเมืองงาย จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา ร่วมกันศึกษาวิจัยเห็ดหลินจืออย่างครบวงจร ตั้งแต่การปลูกจนถึงการวิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์ ซึ่งกำลังศึกษาวิจัยในคน เริ่มตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา ขณะนี้มีผลทดสอบการนำสารสกัดจากเห็ดและสปอร์เห็ดหลินจือในหลอดทดลองพบว่ามีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งเต้านมได้ ถือเป็นข่าวดี และขณะนี้ได้ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำสารสกัดจากดอกและสปอร์เห็ดหลินจือมารักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย 2 กลุ่ม คือ มะเร็งรังไข่ และมะเร็งทั่วไป กลุ่มละ 60 คน ขณะนี้คืบหน้าแล้วประมาณร้อยละ 50 พบว่า แนวโน้มได้ผลดี สามารถยับยั้งการลุกลามของเซลล์มะเร็ง และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น คาดว่า จะสรุปผลได้ภายในกลางปีนี้ ซึ่งจะเป็นข่าวดีของไทยที่จะมีสมุนไพรที่สามารถใช้รักษามะเร็งได้
ด้านนพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในพื้นที่ภาคเหนือ กระทรวงสาธารณสุข ได้สนับสนุนทุนทำการศึกษาวิจัยสมุนไพรและเผยแพร่ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านที่ได้ผลในการดูแลสุขภาพ บำบัดรักษาโรค แก่นักวิจัยอิสระและหน่วยงานภายนอก ตั้งแต่ปี 2548 - ปัจจุบัน รวม 5 เรื่อง ได้แก่ 1.การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการใช้สมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบันในรพ.ศูนย์ลำปาง และ รพ.ชุมชนจังหวัดลำปาง 2.โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรไทย วัดพระธาตุผาเงา จ.เชียงราย 3.โครงการตั้งโรงเรียนภูมิปัญญาหมอเมืองล้านนา จ.เชียงราย 4.โครงการข่วงผญาสุขภาพดีวิถีพอเพียง 10 ปี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ฮ่าย ฮอม ฮ้อย ผญาเมืองล้านนา 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน และ 5.โครงการวิจัยสมุนไพรปัญจขันธ์ในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและไขมันไม่ดีในเลือดไม่ได้ตามเป้าหมายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งยังมีความต้องการงานวิจัยด้านนี้อีกจำนวนมาก จึงขอเชิญชวนผู้สนใจติดต่อขอรับทุนได้ที่หมายเลข 0-2588-5743 ซึ่งหากผลการวิจัยได้ผลดี จะนำมามาขยายผลใช้ในระบบการดูแลสุขภาพและการรักษาผู้ป่วยของประเทศต่อไป