กทม.ประชุมป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ ตะวันออก เคลียร์แผนงานขุดลอกคลอง ประสานปริมณฑลระบายน้ำเข้าพื้นที่
วันนี้ (6 ก.พ.) ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าฯ กทม.ประชุมคณะกรรมการวิสามัญศึกษาแนวทางการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืน โดยมีเรื่องพิจารณาการป้องกันและแก้ไขน้ำท่วมกรุงเทพฯ ในกลุ่มเขตกรุงเทพฯตะวันออก ซึ่งมีผู้อำนวยการสำนักงานเขต 9 เขต ได้แก่ เขตบางกะปิ เขตสะพานสูง เขตบึงกุ่ม เขตคันนายาว เขตลาดกระบัง เขตมีนบุรี เขตหนองจอก เขตคลองสามวา และ เขตประเวศ ซึ่งสำนักงานเขตได้รายงานผลกระทบจากน้ำท่วมและแผนงานป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ อาทิ การขุดลอกคลอง การจัดเก็บผักตบชวา การซ่อมแซมถนน การบุกรุกพื้นที่สาธารณะ เป็นต้น
นายวัลลภ กล่าวว่า ตนได้หารือร่วมกับสำนักการระบายน้ำ (สนน.) โดยจะมอบหมายให้ทางสำนักงานเขตที่มีความเสี่ยงน้ำล้นคลอง เร่งจัดทำแผนกำจัดวัชพืชอย่างถาวร ส่วนความชัดเจนในแผนงานขุดลอกคลอง ที่ กทม.ร่วมกับกองทัพบก พรุ่งนี้ (7 ก.พ.) นั้น ตนจะประชุมร่วมกับสำนักงานเขต 50 เขต เกี่ยวกับการจัดสรรแผนงานไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน คาดว่า จะได้ข้อสรุปพรุ่งนี้
นายวัลลภ กล่าวว่า พื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ พบปัญหาการรุกล้ำพื้นที่สาธารณะ ซึ่งมีมานานมากแล้ว ในพื้นที่คลองต่างๆ ซึ่งเป็นการขวางทางน้ำนั้น กทม.ต้องศึกษาก่อนว่าเป็นคลองในความรับผิดชอบของ กทม.หรือไม่ แม้ว่าผู้บุกรุกจะเป็นผู้กระทำผิดกฎหมาย หากจะให้ย้ายออก ก็ต้องมีมาตรการเยียวยาและพื้นที่รองรับด้วย ส่วนการทำฟลัดเวย์ที่รัฐบาลอาจจะใช้พื้นที่ฝั่งตะวันออกเป็นพื้นที่รับน้ำ ตนเห็นควรว่าควรมีแผนการชดเชยความเสียหายบริเวณที่จะกำหนดเป็นจุดฟลัดเวย์ อาทิ พื้นที่เกษตรกรรม ที่ควรมีการให้ความรู้กับประชาชน หรือมีการกำหนดให้ทำเกษตรกรรมเพียงช่วงเวลาหนึ่ง หรือมีการแนะนำให้ปลูกพืชที่สามารถเก็บเกี่ยวได้เร็ว หรือทนกับสภาพน้ำท่วมขังได้ดี ที่สำคัญ ส่วนปกครองท้องถิ่นควรให้ความรู้กับประชาชนในการที่จะอยู่ร่วมกับน้ำ แนะนำการทำเกษตรกรรมแบบผสมผสาน
ทั้งนี้ จากการประชุมร่วมกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา นายกฯ ได้มีการกำหนดแนวทางการระบายน้ำเข้าพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นพื้นที่ปลายน้ำและเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ โดยให้พื้นที่ที่อยู่เหนือกรุงเทพฯ ควบคุมปริมาณน้ำที่จะระบายเข้าพื้นที่กรุงเทพฯ ให้อยู่ในปริมาณที่กรุงเทพฯ สามารถระบายออกได้ทัน เพื่อไม่ให้เกิดน้ำท่วมหนักอย่างในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ กทม.ต้องมีการประสานงานกับจังหวัดปริมณฑล ในการหารือเรื่องการป้องกันน้ำท่วมและการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ด้วย
วันนี้ (6 ก.พ.) ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นายวัลลภ สุวรรณดี รองผู้ว่าฯ กทม.ประชุมคณะกรรมการวิสามัญศึกษาแนวทางการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืน โดยมีเรื่องพิจารณาการป้องกันและแก้ไขน้ำท่วมกรุงเทพฯ ในกลุ่มเขตกรุงเทพฯตะวันออก ซึ่งมีผู้อำนวยการสำนักงานเขต 9 เขต ได้แก่ เขตบางกะปิ เขตสะพานสูง เขตบึงกุ่ม เขตคันนายาว เขตลาดกระบัง เขตมีนบุรี เขตหนองจอก เขตคลองสามวา และ เขตประเวศ ซึ่งสำนักงานเขตได้รายงานผลกระทบจากน้ำท่วมและแผนงานป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ อาทิ การขุดลอกคลอง การจัดเก็บผักตบชวา การซ่อมแซมถนน การบุกรุกพื้นที่สาธารณะ เป็นต้น
นายวัลลภ กล่าวว่า ตนได้หารือร่วมกับสำนักการระบายน้ำ (สนน.) โดยจะมอบหมายให้ทางสำนักงานเขตที่มีความเสี่ยงน้ำล้นคลอง เร่งจัดทำแผนกำจัดวัชพืชอย่างถาวร ส่วนความชัดเจนในแผนงานขุดลอกคลอง ที่ กทม.ร่วมกับกองทัพบก พรุ่งนี้ (7 ก.พ.) นั้น ตนจะประชุมร่วมกับสำนักงานเขต 50 เขต เกี่ยวกับการจัดสรรแผนงานไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน คาดว่า จะได้ข้อสรุปพรุ่งนี้
นายวัลลภ กล่าวว่า พื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ พบปัญหาการรุกล้ำพื้นที่สาธารณะ ซึ่งมีมานานมากแล้ว ในพื้นที่คลองต่างๆ ซึ่งเป็นการขวางทางน้ำนั้น กทม.ต้องศึกษาก่อนว่าเป็นคลองในความรับผิดชอบของ กทม.หรือไม่ แม้ว่าผู้บุกรุกจะเป็นผู้กระทำผิดกฎหมาย หากจะให้ย้ายออก ก็ต้องมีมาตรการเยียวยาและพื้นที่รองรับด้วย ส่วนการทำฟลัดเวย์ที่รัฐบาลอาจจะใช้พื้นที่ฝั่งตะวันออกเป็นพื้นที่รับน้ำ ตนเห็นควรว่าควรมีแผนการชดเชยความเสียหายบริเวณที่จะกำหนดเป็นจุดฟลัดเวย์ อาทิ พื้นที่เกษตรกรรม ที่ควรมีการให้ความรู้กับประชาชน หรือมีการกำหนดให้ทำเกษตรกรรมเพียงช่วงเวลาหนึ่ง หรือมีการแนะนำให้ปลูกพืชที่สามารถเก็บเกี่ยวได้เร็ว หรือทนกับสภาพน้ำท่วมขังได้ดี ที่สำคัญ ส่วนปกครองท้องถิ่นควรให้ความรู้กับประชาชนในการที่จะอยู่ร่วมกับน้ำ แนะนำการทำเกษตรกรรมแบบผสมผสาน
ทั้งนี้ จากการประชุมร่วมกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา นายกฯ ได้มีการกำหนดแนวทางการระบายน้ำเข้าพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นพื้นที่ปลายน้ำและเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ โดยให้พื้นที่ที่อยู่เหนือกรุงเทพฯ ควบคุมปริมาณน้ำที่จะระบายเข้าพื้นที่กรุงเทพฯ ให้อยู่ในปริมาณที่กรุงเทพฯ สามารถระบายออกได้ทัน เพื่อไม่ให้เกิดน้ำท่วมหนักอย่างในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ กทม.ต้องมีการประสานงานกับจังหวัดปริมณฑล ในการหารือเรื่องการป้องกันน้ำท่วมและการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ด้วย